งาย : น. เวลาเช้า เช่น พ่อแผนจะไปแต่ในงาย สายแล้วสํารับไม่ยกมา. (ขุนช้างขุนแผน).
กินงาย : ก. กินอาหารมื้อเช้า.
ง่าย : ว. สะดวก, ไม่ยาก.
ง่าย ๆ : ว. ธรรมดา ๆ, ไม่ยุ่งยาก.
เพรางาย : น. เวลาเช้า; มื้อเช้า.
จำงาย : (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
ฉงาย ๑ : [ฉะหฺงาย] ก. สงสัย.
ฉงาย ๒ : [ฉะหฺงาย] ว. ไกล, ห่าง. (ข.).
เฉาะ ๆ : ว. ง่าย ๆ, สะดวก, เหนาะ ๆ.
ชำงาย ๒ : ก. ฉงน, สนเท่ห์, แคลงใจ, เช่น และเย็นตระชักสิชํางาย. (สมุทรโฆษ).
ชุ : (กลอน) น. ต้นไม้ เช่น กินลูกชุลุเพรางาย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ต. ชุ ว่า ต้นไม้).
ดาย : ก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย, เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย; โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).
โทโทษ : น. คําที่ใช้ไม้เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้โทเสียงเดียวกัน ในบทนิพนธ์ที่บังคับให้ใช้ไม้โท เช่น ง่าย เป็น หง้าย, พลั่ง เป็น ผลั้ง.
ปอกกล้วยเข้าปาก : (สํา) ว. ง่าย, สะดวก.
เป็นว่าเล่น : ว. ง่าย, สะดวกสบาย, เช่น เขาใช้เงินเป็นว่าเล่น.
พลุ่ย : [พฺลุ่ย] ว. ง่าย, ลุ่ย, หลวมเข้าไป.
ร่อนร่อน : ว. ง่าย ๆ เช่น หากินร่อนร่อน.
หญ้าปากคอก ๑ : (สำ) ว. สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก, เช่น นี่เป็นเรื่องหญ้าปากคอก.
หมู ๒, หมู ๆ : (ปาก) ว. ง่าย, สะดวก, เช่น วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก เขาเลือก ทำแต่งานหมู ๆ.
แอลกอฮอล์ : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหย ง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภท แป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะ ออกฤทธิ์ทําให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย และ เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).