งูเห่า : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนขมิ้นอ้อย แต่เนื้อสีขาว กลิ่นฉุน เหมือนนํ้ามันดินอ่อน ๆ. (กบิลว่าน).
ล้วงคอ, ล้วงคองูเห่า : (ปาก) ก. บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอา ทรัพย์สินเป็นต้นจากผู้ที่น่าเกรงขาม.
ลิ้นงูเห่า : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด Blepharis maderaspatensis Heyne ดอกเล็ก สีขาวลายม่วง และชนิด Clinacanthus siamensis Brem. ดอกใหญ่เป็นหลอด สีแดงอมแสด.
เขี้ยวแก้ว : น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลาง เพดานปากของหนุมาน.
กด ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น นกกดอดทนสู้ พบงูเห่าเอาปีกบัง. (ประพาสธารทองแดง).
งู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (Naja kaouthia) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (Python reticulatus).
แผ่พังพาน, แผ่แม่เบี้ย : ก. อาการที่งูเห่าหรืองูจงอางเป็นต้นชูและ แผ่คอให้แบนเพื่อเตรียมฉกศัตรูเป็นต้น.
พังพาน : น. คองูเห่าหรืองูจงอางที่แผ่แบนออกทำท่าจะฉก, แม่เบี้ย ก็เรียก.
ฟ่อ, ฟ้อ ๑ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างงูเห่าขู่.
แม่เบี้ย : น. พังพานงู (ใช้แก่งูเห่าและงูจงอาง) เช่น งูเห่าแผ่แม่เบี้ย.
ลองดี : ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิง ดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่ ล้วงคองูเห่า ด้วยการลองดีกับตำรวจ.
หมองู : น. ผู้มีความชำนาญในการจับงูเห่ามาเลี้ยงเพื่อนำไปแสดง.
หมองูตายเพราะงู : น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจ ถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้ อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.