Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จมูก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จมูก, 103 found, display 1-50
  1. จมูก : [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย. โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อ ร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
  2. จมูกข้าว : น. ส่วนปลายของเมล็ดข้าวที่ติดกับก้านดอก เป็นส่วนที่ต้นอ่อนงอก.
  3. จมูกปลาหลด, จมูกปลาไหล : ดู กระพังโหม.
  4. จมูกวัว : น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า.
  5. จมูกหลอด : ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า.
  6. ขื่อจมูก : น. แกนกลางระหว่างช่องจมูก.
  7. โครงจมูก : น. กระดูกจมูก.
  8. จูงจมูก : ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดย ปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ ความคิดของตน.
  9. เจาะจมูก : ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูก ห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลํากับ ท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ.
  10. พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, ยืมจมูก คนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
  11. ยืมจมูกคนอื่นหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือน ทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
  12. เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, พึ่งจมูก คนอื่นหายใจ หรือ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ ก็ว่า.
  13. ยื่นจมูก : (สํา) ก. เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก.
  14. ลูบหน้าปะจมูก : (สำ) ก. ทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะ เกรงจะไปกระทบกระเทือนพวกพ้องเป็นต้น.
  15. โล่งจมูก : ก. รู้สึกว่าหายใจสะดวก.
  16. เหยียบจมูก : ก. บังอาจลบเหลี่ยม.
  17. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  18. จรมูก : [จะระหฺมูก] (กลอน) น. จมูก. (ข. จฺรมุะ).
  19. ฉทวาร : [ฉะทะวาน] น. ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
  20. ตมูก : [ตะหฺมูก] (ปาก) น. จมูก.
  21. ทวารทั้งเก้า : น. ช่องตามร่างกายทั้ง ๙ ช่อง ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.
  22. นวทวาร : น. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
  23. นัตถุ์ : [นัด] น. จมูก. (ป.; ส. นสฺตุ).
  24. นามธรรม : [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
  25. นาสา : (แบบ) น. จมูก. (ป., ส.).
  26. นาสิก : (แบบ) น. จมูก. (ป., ส. นาสิกา).
  27. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  28. ภควัม : [พะคะ–] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียก คนที่ทําหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทําหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็น ภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
  29. ริดสีดวง : น. ชื่อโรคพวกหนึ่งมีหลายชนิด เกิดในช่องตา จมูก ทวารหนัก เป็นต้น.
  30. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  31. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  32. อินทรียสังวร : น. ความสํารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
  33. กรวย ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งน้าลําคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจําปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
  34. กระถิก, กระถึก : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae รูปร่างคล้ายกระรอก ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลําตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดําพาดขนานตามยาว ของลําตัวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง ชอบอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลง และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei) และกระถิกขนปลายหูสั้น (T. macclellandi), กระเล็น ก็เรียก.
  35. กระพังโหม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Oxystelma secamone (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก.
  36. กล้อง ๒ : [กฺล้อง] ว. เรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ว่า ข้าวกล้อง. ก. ตำข้าวเปลือกให้เปลือกหลุด; เกลา, โกลน; โดยปริยายใช้ว่า ทุบ, ถอง.
  37. กลิ่น ๑ : [กฺลิ่น] น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น ของสิ่งนั้นมีกลิ่น.
  38. กะปะ : น. ชื่องูพิษชนิด Calloselasma rhodostoma ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร ลายสีน้ำตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแก่ เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และ มีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคล้ำเรียก งูปะบุก.
  39. กำเดา : น. เลือดที่ออกทางจมูก เรียกว่า เลือดกําเดา. (ข. เกฺดา ว่า ร้อน); แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัดว่า ไข้กําเดา.
  40. ขางดัง : (ถิ่น-อีสาน) น. ดั้งจมูก.
  41. ข้าวกล้อง : น. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้ม เมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
  42. ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ : น. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน เรียกว่า ข้าวกล้อง.
  43. ขี้มูก : น. นํ้าเมือกที่ไหลออกทางจมูก.
  44. คอเคซอยด์ : น. ชนชาติผิวขาว มีลักษณะผิวส่วนมากขาวจนถึงสีนํ้าตาล จมูกโด่ง. (อ. Caucasoid).
  45. คอหอย : น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปาก ลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. (อ. pharynx).
  46. คัด ๒ : ว. แน่นหรือตึง เช่น จมูกคัด นมคัด.
  47. ฆาน, ฆาน- : [คาน, คานะ-] (แบบ) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.).
  48. ฆานินทรีย์ : น. จมูกซึ่งเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น. (ป. ฆาน + อินฺทฺริย).
  49. งวง ๑ : น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิด จะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรง มาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำ เป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
  50. จ่อ ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี ใจจดจ่อกับงาน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-103

(0.0226 sec)