จรี : [จะ-] (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา สองแขงขันหาก็กุมจรีแกว่งไกว. (สมุทรโฆษ). (ข.).
จรวดจรี : [จฺรวดจะรี] (แบบ) น. ยอดแหลมสูง.
บาจรีย์ : [-จะรี] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป. ปาจริย).
ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
จุรี : (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ. (ข. จรี ว่า มีด, หอก, ดาบ).
จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
จรรมขัณฑ์ : น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็น เครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
จรแกว่ง : [จะระแกฺว่ง] (กลอน) ก. แกว่ง.
จรลาด, จรหลาด : [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
จรล่ำ, จรหล่ำ : [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อ ชีชูชกเถ้ามหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่า ทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อ กลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
กามาพจร, กามาวจร : ว. ที่ยังข้องอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. (ป. กาม + อวจร).
กามาพจร, กามาวจร :
ดู กาม, กาม-.
การจร : น. งานซึ่งไม่ได้ทําเป็นประจําหรือที่คาดไม่ถึง.
ฉกามาพจร, ฉกามาวจร : [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).
โยคาพจร, โยคาวจร :
ดู โยค, โยคะ.
โยคาพจร, โยคาวจร : [โยคาพะจอน, วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
รชนีจร : [จอน] น. ผู้เที่ยวไปกลางคืน; รากษส. (ส.).
วาระจร : น. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามา พิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.
อุปริจร : [จอน] ว. เคลื่อนไปในอากาศ. (ป., ส.).
ขจร ๑ : [ขะจอน] ก. ฟุ้งไป. (ข. ขฺจร ว่า ฟุ้งไป แผลงเป็น กําจร ก็ได้; ป., ส. ข = อากาศ + จร = ไป).
จรดล : [จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).
จอน ๒ : (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ).
กรรเจียกจอน : น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
กระเวนกระวน : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
กราย ๒ : [กฺราย] น. โรคซางจรชนิดหนึ่ง มีอาการตัวร้อน ลงราก กระหายน้ำ. (แพทย์).
กฤดาอัญชลี : [กฺริ-] (โบ; กลอน) แยกคําจาก กฤดาญชลี เช่น ขอถวายกฤดาอัญ- ชลีโอนศิโรจร. (ตําราช้างคําฉันท์).
กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
กินนรเก็บบัว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฉิใจฉะใจกระไรสมร หวังสวาทปลิดสวาทบําราศจร ตัดอาลัยตัดอาวรณ์ให้นอนเดียว.
เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
เคา : (โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวด เพียงหลังเคา. (ม. คําหลวง กุมาร).
จตุรภูมิ : [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยว ในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิภูมิอันพ้นจากโลก.
จระคล้าย : [จะระคฺล้าย] (กลอน) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล).
จระทก, จระเทิน : [จะระทก, -เทิน] (กลอน) ก. สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น; จับจด, โบราณเขียนเป็น จรเทิน ก็มี เช่น อ้าแม่อย่าจองจิตรจรเทิน ศุขเพลินภิรมย์สม. (ดุษฎีสังเวย).
จระลุง, จะลุง : [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
จักรราศี : น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดย รอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจําของดวงอาทิตย์ซึ่งดู เสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือ ราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทาง โหราศาสตร์ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. (ส.).
เจียร ๒ : [เจียน] ก. จร, ไป, จากไป, เช่น วันเจียรสุดาพินท์ พักเตรศ. (ทวาทศมาส).
แจร : [แจฺร] น. ต้นแคแตร เช่น แคแจรเจริญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน).
ไจร : [ไจฺร] (กลอน) จร, จากไป, เช่น แลเอกจักร เจียรไจร. (สมุทรโฆษ).
ชเล : (โบ) น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร ว่า ผู้เที่ยวไปในนํ้า.
ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
ดาวหาง : น. ชื่อดาวจรชนิดหนึ่งที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหาง.
ทับลัคน์ : (โหร) ก. ลักษณะที่ดาวพระเคราะห์มีตําแหน่งอยู่ในเรือน เดียวกันหรือจรมาร่วมลัคนา.
นภจร : [ [นบพะจอน] น. ผู้ไปในฟ้า. (ส. นภสฺจร).
นิยต, นิยต : [ยด, ยะตะ] (แบบ) ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.); (การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. (อ. positive).
ฝรั่ง ๒ : [ฝะหฺรั่ง] น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ฝรั่ง เช่น ฝรั่งควง ฝรั่งกลายฝรั่งจรกา.
มาแขก : ก. แปลก, ประหลาด; จรมา, มาสู่.
ลาญทัก : (โบ) ก. กระทืบจนแหลกลาญ เช่น อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย. (แช่งน้ำ).