จอบ ๑ : น. เครื่องมือสําหรับขุด พรวน หรือถากดิน ทําด้วยเหล็กหน้าแบนกว้าง มีด้ามยาว; เรียกฟันหน้าบนที่ใหญ่กว่าปรกติ ว่า ฟันจอบ.
จอบ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) ก. แอบ, ลอบ, คอยฟัง; (ถิ่น-พายัพ) ล่อ, เล้าโลม, ชักชวน.
จอบ ๓ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Pinnidae เปลือกค่อนข้างเปราะ รูปร่าง คล้ายซองพลู ปลายด้านหนึ่งแผ่บานออก อีกด้านหนึ่งเรียวลง สีนํ้าตาล อมเทา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Pinna bicolor, Atrina vexillum, ซองพลู ก็เรียก.
ลงจอบ : ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
กิน : ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ, ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่าเปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้ โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง.
จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
จวก : ก. สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบเป็นต้น, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงตี ฟัน ชกต่อยผู้อื่นโดยแรง หรือว่าร้ายด้วยวาจา.
ดาย : ก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย, เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย; โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).
ถาก : ก. ฟันเอาเปลือกหรือส่วนนอกออก เช่น ถากเปลือกไม้ ถากเสา, ใช้จอบเป็นต้นดายให้เตียน เช่น ถากหญ้า ถากดิน. ว. เฉียง ๆ, ถูกผิว ๆ, เช่น ฟันถากไป.
ผึ่ง ๑ : น. ชื่อเครื่องมือสําหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปคล้ายจอบ.
พรวน ๕ : [พฺรวน] ก. คุ้ยดินให้เป็นกลุ่มล้อมต้นไม้, ใช้จอบหรือเสียมเป็นต้น ทำดินให้โปร่งหรือร่วน, เรียกว่า พรวนดิน.
ละแมะ : น. เครื่องมือรูปคล้ายจอบ สําหรับถากเรือโกลน. (รูปภาพ ละแมะ)
อีเต้อ : น. เครื่องมือสําหรับขุดของแข็งหรือหินเป็นต้น ทําด้วยเหล็ก ลักษณะคล้ายจอบ ปลายหัวด้านหนึ่งแหลม ส่วนปลายอีก ด้านหนึ่งแบน มีรูตรงกลางสําหรับใส่ด้าม.