Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จัน , then จน, จนฺ, จัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จัน, 741 found, display 1-50
  1. จัน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ.
  2. จันทวาร : [จันทะวาน] น. วันจันทร์, จันทรวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
  3. จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  4. จันทรภิม : (โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนาย จันทรุปราคาได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราค ได้เงีนจันทรภิม. (สามดวง).
  5. จันทรเศขร : น. ผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น คือ พระอิศวร. (ส.).
  6. จันเทา : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  7. ข้างจัน : น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
  8. เงินจันทรภิม : ดู จันทรภิม.
  9. ปัจจันต-, ปัจจันต์ : [ปัดจันตะ-, ปัดจัน] (แบบ) ว. ที่สุดแดน, ปลายเขตแดน. (ป.).
  10. จันเลา, จันเลาะ : น. ลําห้วย. (ข. เชฺราะ ว่า เหว, ลําธาร).
  11. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  12. จรรยา : [จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความ ประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).
  13. จรรโลง : [จัน-] (แบบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลงประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา.
  14. จัณฑ-, จัณฑ์ : [จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์. ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.)
  15. จันทน์ : น. ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทํายาและ [จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดา องค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาว พระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).
  16. อิน : น. ชื่อลูกจันชนิดหนึ่ง ลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียกว่า ลูกจันอิน. (ดู จัน).
  17. โอ ๑ : น. (๑) ส้มโอ. (ดู ส้ม๑). (๒) ชื่อลูกจันชนิดหนึ่ง. (ดู จัน).
  18. จรรโจษ : [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
  19. จรรยาบรรณ : [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
  20. จัณฑาล : [จันทาน] ว. ตํ่าช้า. น. ลูกคนต่างวรรณะ. (ส. จณฺฑาล ว่า ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์).
  21. จันทรเม็ด : [จันทะระ-] (แบบ) น. ปลาจะละเม็ด เช่น ปลาแมวลิ้นหมาปลาหมู คชราราหู มีจันทรเม็ดและทรมาง. (สมุทรโฆษ).
  22. จันทรุปราคา : [จันทฺรุปะราคา, จันทะรุบปะราคา] น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทําให้เงาของ โลกตกลงบนดวงจันทร์บางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก) จันทรคราส. (ส.).
  23. เดือนจันทรคติ : [-จันทฺระคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์เดิน รอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันเดือนดับไปถึงวันเดือนดับที่ถัดไป มี ระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที แบ่งเป็น ข้างขึ้น ข้างแรม.
  24. ผจญ, ผจัญ : [ผะจน, ผะจัน] ก. พยายามต่อสู้, พยายามเอาชนะ, เช่น มารผจญ, ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะ เช่น ผจญความทุกข์ยาก ผจญอุปสรรค, ประจญ หรือ ประจัญ ก็ว่า. (ข. ผฺจาญ่ ว่า ทําให้แพ้).
  25. รัตจันทน์ : [รัดตะจัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทํายา. (ป. รตฺตจนฺทน).
  26. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  27. จน ๑ : ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
  28. จน ๒ : สัน. ตราบเท่า เช่น จนตาย, จนกระทั่ง หรือ จนถึง ก็ว่า.
  29. จันทรวาร : น. วันจันทร์, จันทวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
  30. จินเจา : น. ชื่อแพรจันชนิดหนึ่ง มีดอกดวงโต.
  31. โจษ, โจษจัน : [โจด, โจดจัน] ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้.
  32. บุษยสนาน : น. พิธีอาบนํ้าเมื่อพระจันทร์กําลังผ่านหมู่ดาวบุษยะ, บุษยาภิเษก ก็ว่า.
  33. ประจัญ : [ปฺระจัน] ก. ปะทะต่อสู้, ผจัญ ก็ว่า.
  34. แป้น ๔ : ว. กลมแบนอย่างลูกจัน.
  35. มหัศจรรย์ : [มะหัดสะจัน] ว. แปลกประหลาดมาก, น่าพิศวงมาก, ผิดปรกติวิสัยของธรรมชาติ. (ส. มหาศฺจรฺย; ป. มหจฺฉริย).
  36. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  37. ละครลิง : น. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของ ผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.
  38. วันฟู, วันลอย : (โหร) น. วันที่ถือว่าเป็นมงคลในเดือนทาง จันทรคติสําหรับเริ่มกิจการต่าง ๆ, คู่กับ วันจม. วันมหาสงกรานต์
  39. ส้ม ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยว หรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
  40. หริคันธ์, หริจันทน์ : [หะริคัน, หะริจัน] น. จันทน์แดง. (ป., ส.).
  41. อรรธจันทร์ : [อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขาย หรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.
  42. อัศจรรย์ : [อัดสะจัน] ว. แปลก, ประหลาด. น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่ บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมี ความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. (ส. อาศฺจรฺย; ป. อจฺฉริย).
  43. จนได้ : ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้.
  44. จนกระทั่ง, จนถึง : สัน. ตราบเท่า, ที่สุดถึง.
  45. จนด้วยเกล้า : (ปาก) ก. หมดปัญญาคิด.
  46. จนแล้วจนรอด : ว. เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้.
  47. กาญจน-, กาญจนา : [กานจะนะ-] (แบบ) น. ทอง. (ส.; ป. ก?ฺจน).
  48. ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์, ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ : (สํา) ก. หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าใฝ่สูงจนเกินศักดิ์ อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์.
  49. พูดจนลิงหลับ : (ปาก) ก. พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้มไปตาม.
  50. มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว : (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-741

(0.0736 sec)