Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จารีตนิยม, จารีต, นิยม , then จารต, จารีต, จารีตนิยม, นยม, นิยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จารีตนิยม, 228 found, display 1-50
  1. จารีต : [-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  2. นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
  3. จารีตประเพณี : น. ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืน ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.
  4. นิยมนิยาย : (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยาย ไม่ได้หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้.
  5. จารีตนครบาล : ก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจําเลย.
  6. ประเพณี : น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
  7. คะแนนนิยม : น. ความนิยมที่แสดงออกว่ามีมากน้อยเพียงใด.
  8. สัญนิยม : [สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่ม สังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).
  9. ค่านิยม : น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และ กำหนดการกระทำของตนเอง.
  10. จินตนิยม : น. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะ ที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือ กันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญ กว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรม หรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).
  11. ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
  12. ประจักษนิยม : [ปฺระจักสะ-] น. ประสบการณ์นิยม.
  13. ประเพณีนิยม : น. ประเพณีของสังคมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา.
  14. กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
  15. มนตรี : น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนํา, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยม ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).
  16. ชิน ๑ : น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยม ใช้ทําพระเครื่อง; (โบ) ชิน หรือ ชินธาตุ หมายถึง ดีบุก. (ปรัดเล).
  17. ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
  18. เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
  19. กฎข้อบังคับ : (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้น ไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.
  20. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  21. กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  22. กบี่ : [กะ-] น. ลิง, นิยมเขียนเป็น กระบี่. (ป., ส. กปิ).
  23. กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
  24. กระจาย : ก. ทําให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือ แตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้ เข้าคู่กับคํา กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. (แผลงมาจาก ขจาย).
  25. กระจุย : ว. กระจายออกยุ่งไม่เป็นระเบียบ, นิยมใช้เข้าคู่กับ กระจุก เป็น กระจุกกระจุย.
  26. กระเจิง : ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
  27. กระชาก : ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
  28. กระซาบ : (กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคําเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
  29. กระซิบ : ก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ.
  30. กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
  31. กระฎุมพี : น. ชนชั้นต่ำ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี. (ป. กุฏุมฺพิก ว่า คนมั่งมี).
  32. กระดิบ, กระดิบ ๆ : ก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายน้ำกระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่ กับคํา กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ.
  33. กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
  34. กระเดื่อง ๓ : ก. แหนง, หมาง, เช่น จะกระเดื่องใจเมื่อไปถึง. (ขุนช้างขุนแผน); กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย. (นิทราชาคริต), นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง.
  35. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  36. กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
  37. กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
  38. กระเบื้องกาบกล้วย : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น กระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงาย ที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบน เพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและ แผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.
  39. กระยาทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทําในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
  40. กระหมวด ๒ : น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สาย ประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดู ลักษณะช้างเผือกใช้ตรวจขนทั้ง๕ฐานนี้ เป็นทาง ประกอบการพิจารณา.
  41. กระแอม ๑ : ก. ทําเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระไอ เป็น กระแอมกระไอ.
  42. กลไฟ : [กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้น เป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือ มหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
  43. กล้าย : [กฺล้าย] น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยม และยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้ สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก.
  44. กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  45. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  46. กะหลาป๋า ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
  47. กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
  48. กาบู : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้อง แผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทน มากขึ้น, กระเบื้องกาบกล้วย ก็เรียก.
  49. กิงบุรุษ : (แบบ) น. กินนร เช่น และเป็นที่เขานิยมว่ามีนกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่ากิงบุรุษ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  50. เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-228

(0.1463 sec)