Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จิตา , then จตา, จิต, จิตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จิตา, 93 found, display 1-50
  1. จิต, จิต- : [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).
  2. จิตตานุปัสสนา : น. การพิจารณาจิตเป็นอารมณ์เป็นข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔.
  3. จิตระ, จิตรา : [จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือ ไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดําบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก. (ส.; ป. จิตฺตา).
  4. กระแสจิต : น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิด ที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกัน ระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้อง อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.
  5. นานาจิตตัง : ว. ต่างจิตต่างใจ, ต่างคนก็ต่างความคิดเช่นคนหนึ่งถูกกับ อากาศเย็น แต่อีกคนหนึ่งถูกกับอากาศร้อน.
  6. บาดทะจิต : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง มักกําเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีอาการหงุดหงิด จิตฟุ้งซ่าน.
  7. ประทุฐจิต : [ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
  8. ประทุษฏจิต, ประทุษฐจิต : [ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
  9. มิตรจิต : น. ความมีนํ้าใจเอื้อเฟื้อเสมือนเพื่อนรัก, ความรักใคร่ ประนีประนอมฐานเพื่อนรัก, เช่น มีมิตรจิตต่อกัน.
  10. มิตรจิตมิตรใจ : (สํา) น. ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เช่น ต่างก็มีมิตรจิต มิตรใจต่อกัน.
  11. ส่งกระแสจิต : ก. อาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่ง กับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใด อย่างหนึ่ง.
  12. สองจิตสองใจ : ว. ลังเล, ตัดสินใจไม่ได้, เช่น จะไปเชียงใหม่ดีหรือ ไม่ไปดี ยังสองจิตสองใจอยู่.
  13. สะกดจิต : ก. ใช้อำนาจจิตเป็นสื่อสะกดให้หลับแล้วบังคับให้กระทํา ตามความต้องการของตน.
  14. หัวจิตหัวใจ : น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำ ด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจ จะทำอะไร.
  15. อ่อนจิตอ่อนใจ, อ่อนใจ, อ่อนอกอ่อนใจ : ก. เหนื่อยใจ, ระอาใจ, ท้อใจ.
  16. จิตต-, จิตต์ : [จิดตะ-] (แบบ) น. จิต. (ป.).
  17. ดวง : น. คําเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ; ลักษณนามเรียก จิต วิญญาณ หรือสิ่งที่มีแสงสว่าง เช่น ดาว ไฟฟ้า ตะเกียง ว่า ดวง; ใช้ประกอบคําอื่นเป็นคําเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมร หมายความถึงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือ ลูกที่รัก; แบบรูปราศีที่บอก ดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญ เช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคํานวณไว้โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวง ซึ่งเป็นคําตัดมาจาก ดวงชะตา.
  18. : พยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกด ในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.
  19. สติปัฏฐาน : น. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม. (ป.).
  20. กบเต้นสามตอน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บคําจําคิดจิตขวย.
  21. กรม ๑ : [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.
  22. กระลูน : (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอด กว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
  23. กวัดแกว่ง : [กฺวัดแกฺว่ง] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา เช่น กวัดแกว่งอาวุธ, ไม่อยู่ที่ เช่น จิตกวัดแกว่ง, แกว่งกวัด ก็ว่า.
  24. กำลังภายใน : น. กําลังที่เร้นอยู่ภายใน, กําลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้ จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทําสิ่งที่คนทั่วไปทําไม่ได้.
  25. กีฬา : น. กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลาย ความเคร่งเครียดทางจิต. (ป.). (ดู กรีฑา).
  26. กุจี : (แบบ) น. หญิงค่อม เช่น ทฤษฎีกุจีจิตจํานง. (สุธน).
  27. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  28. แกว่ง : [แกฺว่ง] ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคน หรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.
  29. แกว่งกวัด : [แกฺว่งกฺวัด] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา เช่น แกว่งกวัดอาวุธ, ไม่อยู่ที่ เช่น จิตแกว่งกวัด, กวัดแกว่ง ก็ว่า.
  30. ขมุกขมัว : [ขะหฺมุกขะหฺมัว] ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดย ปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  31. เข้าสมาธิ : [-สะมาทิ] ก. ทําจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน.
  32. คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
  33. ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรม เลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่น.
  34. ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
  35. คาทอลิก : น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็น พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวช เรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).
  36. จตุรงคประดับ : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อ ตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  37. จริม- : [จะริมะ-] ว. สุดท้าย เช่น จริมจิต ว่า จิตดวงสุดท้าย. (ป.).
  38. จิตกึ่งสำนึก : น. ภาวะที่จิตไม่ค่อยรู้สึกตัว เมื่อปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้น แต่ไม่รู้ตัวเต็มที่. (อ. semiconscious).
  39. จิตใจ : น. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.
  40. จิตตภาวนา : (แบบ) น. การอบรมจิต.
  41. จิตตวิสุทธิ : (แบบ) น. ความหมดจดของจิต คือหมดจดจากกิเลส.
  42. จิตใต้สำนึก : น. ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของ จิตใจ. (อ. subconscious).
  43. จิตนิยม : [จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).
  44. จิตภาพ : [จิดตะ-] น. ลักษณะทั่วไปของจิตที่แสดงให้เห็นเด่นชัด, บางทีใช้หมายถึงวิสัยสามารถของจิต. (อ. mentality).
  45. จิตร ๒ : [จิด] (โบ) น. จิต, ใจ.
  46. จิตวิทยา : [จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วย ปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.
  47. จิตวิสัย : [จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัย วัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดง ความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).
  48. จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
  49. เจตสิก : [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
  50. เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
  51. [1-50] | 51-93

(0.0695 sec)