จิ้งโกร่ง : น. เรียกจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus เป็นจิ้งหรีด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง.
จง : เป็นคําช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือ บอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.
โกร่ง ๓ :
[โกฺร่ง] น. เรียกจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus ว่า อ้ายโกร่ง, จิ้งโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. (ดู จิ้งโกร่ง).
ขี้กุ่ง :
(ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งโกร่ง. (ดู จิ้งโกร่ง).
จี้กุ่ง :
(ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งโกร่ง. (ดู จิ้งโกร่ง).
จี่นายโม้ :
(ถิ่น-อีสาน) น. จิ้งโกร่ง. (ดู จิ้งโกร่ง).
จี่ป่ม :
(ถิ่น-อีสาน) น. จิ้งโกร่ง. (ดู จิ้งโกร่ง).
จี่โป่ง :
(ถิ่น-อีสาน) น. จิ้งโกร่ง. (ดู จิ้งโกร่ง).
หัวตะกั่ว ๒ : ดู จิ้งโกร่ง.
อ้ายโกร่ง : ดู จิ้งโกร่ง.
จงเกลียดจงชัง : ก. ผูกใจเกลียดชังอย่างยิ่ง.
จงโคร่ง, โจงโคร่ง : [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธาร หรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
จ่ง : (กลอน) ว. จง.
จุ่ง : ก. จง, คําช่วยกริยาบอกความบังคับหรือความหวัง.
ให้จงได้, ให้ได้ : ว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับ กำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.
จิ่ง : (โบ) สัน. จึง.
จึง, จึ่ง : สัน. สําหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทําดีจึงได้ดี.
เจ่ง ๑ : (โบ) น. ช้าง.
เจ่ง ๒, เจ้ง : น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด คล้ายจะเข้. (จ. ว่า เจ็ง).
เจิ่ง : ก. แผ่ไปมากกว่าปรกติ (ใช้แก่นํ้า).
แจง ๓, แจ่ง : (ถิ่น-พายัพ; อีสาน) น. มุม.
จัดจอง : (โบ) น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, สัดจอง ก็ว่า. (ข. สาต่ ว่า ลอย, จง ว่า ผูก).
จอง : ก. ผูกไว้; มั่นหมายไว้, ขอกําหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. (ข. จง ว่า ผูก).
จำนง : ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. (แผลงมาจาก จง).
กรพินธุ์ : [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
กระตร้อ : (โบ) น. เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อพันผ้าชุบน้ำ มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา เช่น ให้ตรวจเอาพร้าขอกระตร้อน้ำ จงทุกที่พนักงานให้สรัพไว้. (สามดวง), ตะกร้อ ก็เรียก.
กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
กามินี : น. หญิง เช่น จงกามินีปน รสร่วม กันนา. (ลอ). (ป. ว่า หญิงมีความใคร่).
แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
โกหก : ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ). (ป., ส. กุหก).
ไกรสิทธิ : [ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คําหลวง มัทรี).
ขี้ถัง : (ปาก) ว. เลวทราม เช่น จงหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นคนขี้ถัง. (สุภาษิตสุนทรภู่).
เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
เคร่า : [เคฺร่า] (กลอน) ก. รอ, คอย, เช่น จงนุชรีบเรียบข้อนเคร่าถ้าจีนคอย. (นิ. นรินทร์).
เงือด, เงือดงด : ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
จงอร : [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
จังหวะ : น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่). จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
จึ้ง : น. เหล็กสําหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง. (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). (จ. จึ่ง ว่า เจาะ).
จุฑาธิปไตย : [-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น จงมา ประสิทธิวจีพระจุฑาธิปไตย. (ปฐมมาลา).
ชระลั่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คําหลวง กุมาร).
ชุ่ง : (โบ) สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้าย โชยชาย. (ลอ).
ดลบันดาล : ก. ให้มีให้เป็นหรือไม่ให้มีไม่ให้เป็น เช่น ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้ประสบความสําเร็จหรือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย.
ดูชา : ก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความ เราจงมิด. (ลอ.)
ธ ๒ : [ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
นักเทศ : น. คนต่างประเทศที่สําหรับใช้ในราชสํานัก เช่น นักเทศจงไป สั่งการ พนักงานของใครให้ขวายขวน. (สังข์ทอง).
ปด, ปดโป้ : ก. โกหก, พูดเท็จ, จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง.