Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จีวร , then จวร, จีพร, จีวร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จีวร, 38 found, display 1-38
  1. จีวร, จีวร- : [จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสําหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคําว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้า ทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคําว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).
  2. จีวรกรรม : (แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).
  3. จีวรการสมัย : (แบบ) น. คราวที่พระทําจีวร คือตัดเย็บอยู่. (ป.).
  4. จีวรกาลสมัย : (แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วัน มหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่ มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
  5. จีวรทานสมัย : (แบบ) น. สมัยถวายจีวรในจีวรกาล. (ป.).
  6. จีวรภาชก : (แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่ แจกจีวรที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).
  7. จีพร : (โบ) น. จีวร.
  8. ตรีจีวร : น. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร; ป. ติจีวร).
  9. อติเรกจีวร : น. จีวรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่ อธิษฐานเป็นไตรจีวร. (ป., ส.).
  10. กัปปิยการก : [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
  11. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  12. จตุปัจจัย : [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
  13. บริขาร : [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
  14. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  15. ปากกบ : น. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่ง มุมฉากออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง.
  16. ผ้าไตร : น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), ไตร ก็เรียก เช่น ไตรครอง ดอกไม้ คลุมไตร, เรียกเต็มว่า ผ้าไตรจีวร.
  17. ผ้าเหลือง : (ปาก) น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่ง พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด.
  18. สมณบริขาร : น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).
  19. อัฐบริขาร : น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. อฏฺ?ปริขาร).
  20. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  21. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  22. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  23. ขนด : [ขะหฺนด] น. ตัวงูที่ขด; ลูกบวบจีวร; โคนหางงู มักเรียกว่า ขนดหาง.
  24. ขนบ : [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ ในห่อ, ที่หมก).
  25. ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
  26. ชาย ๒ : น. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล. ชายกระเบน น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
  27. น้ำฝาด : น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของ ไม้บางชนิดเช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด. น้ำพระพิพัฒน์สัตยา น. นํ้าที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน.
  28. บริภัณฑ์ ๓ : [บอริพัน] น. ผ้าทาบประกอบริมสบงหรือจีวรด้านกว้าง.
  29. บางสุ : (กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบท บางษุบาท. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปําสุ).
  30. บิดขวา : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันเข้าทางขวาว่า ห่มบิดขวา.
  31. บิดซ้าย : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันออกทางซ้ายว่า ห่มบิดซ้าย.
  32. ปฐมเทศนา : [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถม เทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมาย สําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทํา ท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
  33. พาดควาย : ว. เรียกลักษณะการห่มผ้าของพระอย่างหนึ่ง คือเอาจีวร จีบเข้าแล้วพาดบ่าแล้วคาดรัดประคดอก ว่า ห่มพาดควาย.
  34. ระเดียง : น. เรียกสายสําหรับตากผ้าสบงจีวรเป็นต้นของพระภิกษุสามเณรว่า สายระเดียง.
  35. ลูกบวบ : น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือหนีบ รักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
  36. สะดึง : น. กรอบไม้สําหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบ สําหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สําหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน.
  37. สังฆาฏิ : น. ผ้าคลุมกันหนาวที่ภิกษุใช้ทาบบนจีวร ตามปรกติใช้พับพาดบ่าซ้าย ในพิธีสงฆ์. (ป.; ส. สํฆาฏิ).
  38. อุตราสงค์ : [อุดตะรา] น. จีวรสําหรับห่ม. (ป., ส. อุตฺตราสงฺค).
  39. [1-38]

(0.0644 sec)