Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จึง , then จง, จึง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จึง, 209 found, display 1-50
  1. จึง, จึ่ง : สัน. สําหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทําดีจึงได้ดี.
  2. ก็ ๑ : สัน. แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น พอหันหน้ามาก็พบเขา ทำดีก็ได้ดี.
  3. จง : เป็นคําช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือ บอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.
  4. จิ่ง : (โบ) สัน. จึง.
  5. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  6. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  7. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  8. กบบัว : น. ชื่อกบชนิด Rana erythraea ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว ขนาดเล็กกว่ากบนา มักอาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียงจิ๊ก ๆ บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก.
  9. กระจอกชวา : น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Padda oryzivora ในวงศ์ Estrildidae มีถิ่นกําเนิดในเกาะชวาและเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เคยนํามาเลี้ยงใช้เสี่ยงทาย จึงเรียกว่า นกหมอดู.
  10. กระด้าง ๒ : น. ชื่องูน้ำชนิด Erpeton tentaculatum ในวงศ์ Colubridae ลําตัวสีน้ำตาลและดํา มีหนวดสั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ ๒ เส้น อาศัยตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าเป็น อันตรายต่อมนุษย์ ชอบทําตัวแข็งทื่อ จึงเรียกว่า งูกระด้าง.
  11. กระเป๋าตุง : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไร จึงกระเป๋าตุงกลับมา.
  12. กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  13. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  14. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  15. กองกอย : น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า.
  16. กองหนุน : น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  17. กะอูบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะ ใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).
  18. กัด ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens ในวงศ์ Anabantidae ทํารังเป็นหวอดที่ผิวน้ำ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัว ให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
  19. ก้ามปู : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Albizia saman (Jacq.) F. Muell. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึง ให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีน้ำตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นําเข้ามาปลูก เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา.
  20. กำแพงเขย่ง : [-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.
  21. กำลุง : (แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กําลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).
  22. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  23. กุ้งเต้น : น. ชื่อสัตว์หลายชนิดในวงศ์ Talitridae, Hyalidae และ Acanthogammaridae เป็นต้น ลักษณะคล้ายกุ้ง ลําตัวมีขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัวโตกว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่ สุดท้ายสั้นแข็งใช้สําหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งน้ำหรือที่ชื้นแฉะ ชนิดที่พบบ่อยตามชายทะเล ฝั่งตะวันออกของไทยได้แก่ Orchestia floresiana.
  24. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  25. เก็บงำ : ก. รักษาไว้ให้มิดชิด, รักษาไว้ให้ดี. เก็บดอกไม้ร่วมต้น (สำ) ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
  26. แกนทราย : น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทย ด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและ เหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูป ตามที่ต้องการ.
  27. ไก่ : น. ชื่อสัตว์ปีกจําพวกนก มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้ หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา.
  28. เขย่งก้าวกระโดด : น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทาง ทีละคนจนถึงเส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับ ยันตัวขึ้นแล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใคร กระโดดได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ.
  29. เขิน ๑ : น. ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า; เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วย รักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขิน ซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
  30. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  31. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  32. คอนกรีตอัดแรง : น. คอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กรรมวิธีดึงเหล็กเส้น ให้ยืดตัวเต็มที่ก่อนแล้วจึงหล่อคอนกรีตหุ้ม เพื่อให้รับนํ้าหนักได้ดียิ่งขึ้น.
  33. คัดคลองเลื่อย : ก. ดัดฟันเลื่อยให้เบนออกจากแนว โดยดัดฟันหนึ่ง เว้นฟันหนึ่งจนตลอดทั้งตัวเลื่อยแล้วจึงดัดฟันที่เว้นไว้ให้เบนออก ทางด้านตรงข้ามกับฟันที่ได้ดัดไว้แล้ว.
  34. คางคกไฟ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก แต่ตัวเล็กกว่ามาก ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ.
  35. คาบลูกคาบดอก : (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
  36. คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
  37. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  38. เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
  39. แคดเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ํซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอน ได้ดี จึงทําเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. cadmium).
  40. จาร ๑ : [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).
  41. จำเบศ : ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  42. จำเพาะ : ว. เฉพาะ, เจาะจง, เผอิญ, เช่น จําเพาะฝนมาตกเวลาจะออกจากบ้าน จึงไปไม่ได้.
  43. จี่ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ส่วนใหญ่ ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย สีดําตลอด ปั้น มูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทํา เสียงร้องดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียกตัวฉู่ฉี่ หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อยได้แก่พวก ที่อยู่ในสกุล Onitis เช่น ชนิด O. subopacus พบมากในภาคใต้ ชนิด O. philemon พบมากในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ เป็นชนิด O. virens.
  44. ไฉน ๑ : [ฉะไหฺน] ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา.
  45. ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
  46. ชันโรง : [ชันนะ] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด Trigona terminata, Melipona apicalis โดยทั่วไปมี ขนาดลําตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงานเหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้ง ธรรมดา รังทําจากขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ขนาดหอยโข่ง หรือตะโหงกวัว จึงมักจะเรียกผึ้งหอยโข่งหรือผึ้งตะโหงกวัว แต่มีชื่ออื่นอีกมากมายแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด.
  47. ซ้อมพยาน : ก. ซักซ้อมพยานว่าจะให้การต่อศาลอย่างใด จึงจะสอดคล้องต้องกันดี.
  48. ซั้ว ๒ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อน แล้วจึงนำมาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้มใหม่พร้อมกับ เครื่องปรุงประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ ซั้วกบ.
  49. ซุ่มเสียง : (โบ) น. สุ้มเสียง เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
  50. เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-209

(0.0605 sec)