Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จุฬา , then จฬา, จุฬ, จุฬา, จูฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จุฬา, 32 found, display 1-32
  1. จุฬา : น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฑา ก็ว่า. (ป. จูฬา; ส. จูฑา).
  2. จุฬา : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวกุลา ก็เรียก.
  3. จุฬามณี : น. ปิ่น; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุ พระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า. (ป.; ส. จูฑามณี).
  4. จุฬาลัมพา, จุฬาลำพา : น. โกฐจุฬาลัมพา. (ดู โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลําพา ที่ โกฐ).
  5. จุฬาลักษณ์ : ว. มีลักษณะเลิศ, โฉมงาม.
  6. จุฑา : (แบบ) น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฬา ก็ว่า. (ส. จูฑา; ป. จูฬา).
  7. โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา : น. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กําลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล Artemisia วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. vulgaris L.
  8. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  9. จุฑามณี : น. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. (ส.; ป. จูฬามณี).
  10. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  11. กุลา ๑ : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวจุฬา ก็เรียก.
  12. โกฐ : [โกด] น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐน้ำเต้า, ตํารายาแผนโบราณ เขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. (ป. โกฏฺ?).
  13. ขากบ : น. ขาของว่าวจุฬา.
  14. เข้าเครื่อง : ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูด สําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.
  15. เข้าปิ้ง : ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.
  16. คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
  17. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  18. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  19. ทั้ง : ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อม ด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กําหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทําทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ ล้มทั้งยืน; มิหนําซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทําให้ท้องผูกทั้งจะทําให้ใจสั่นอีกด้วย.
  20. ปักเป้า ๒ : [ปัก-] น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว, คู่กับ ว่าวจุฬา, อีเป้า ก็เรียก.
  21. พระสนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่ม จากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว ศรีจุฬาลักษณ์.
  22. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  23. ลูกดิ่ง : น. โลหะตันรูปทรงกรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึก ของนํ้า ตรวจสอบเสาหรือกําแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่; ตะกั่วก้อนเล็ก ๆ รูปทรงกรวย ใช้ถ่วงสายเบ็ดสําหรับตกกุ้ง; ตะกั่ว ก้อนกลม ๆ เจาะรูผูกไว้ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง ใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเป็น อาวุธ; ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้าย ดอกจําปาของว่าวจุฬา.
  24. เลือด : น. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน และสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดง เกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการ ป่วยในระหว่างที่มีระดู, โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์, ผู้ที่เคยศึกษาจาก สถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.
  25. วันจักรี : น. วันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน.
  26. ว่าว ๑ : น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสาย ซุงสําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.
  27. วิ่งรอก : ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่ วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอก ทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทําให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือ นักแสดง เป็นต้น ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือ คืนเดียวกันให้ทันกําหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวน หาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.
  28. สนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจาก หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณ มี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.
  29. สักว่าว : ก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็น ตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.
  30. อีเป้า : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว คู่กับ ว่าวจุฬา, ปักเป้า ก็เรียก.
  31. อูด ๑ : น. เครื่องที่ทําให้ว่าวมีเสียงดังเมื่อถูกลมพัด เช่น อูดที่หัวว่าวจุฬา.
  32. เอว : น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพก ทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ สะเอว ก็ว่า; โดยปริยายหมายถึง ส่วนกลางของสิ่งอื่น ๆ ตรงที่คอดเข้าไป เช่น เอวว่าวจุฬา เอวพาน.
  33. [1-32]

(0.0500 sec)