Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จุฬ , then จฬ, จุล, จุฬ, จุฬา, จูฬ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จุฬ, 75 found, display 1-50
  1. จุล- : [จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นําหน้าคําสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. (ป. จุลฺล).
  2. จุฬา ๑ : น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฑา ก็ว่า. (ป. จูฬา; ส. จูฑา).
  3. จุฬา ๒ : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวกุลา ก็เรียก.
  4. จุฬามณี : น. ปิ่น; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุ พระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า. (ป.; ส. จูฑามณี).
  5. จุฬาลัมพา, จุฬาลำพา : น. โกฐจุฬาลัมพา. (ดู โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลําพา ที่ โกฐ).
  6. จุลกฐิน : น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทํา อย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  7. จุลพน : [จุนละ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๖ ของมหาชาติ.
  8. จุลวงศ์ : [จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.
  9. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  10. จุฬาลักษณ์ : ว. มีลักษณะเลิศ, โฉมงาม.
  11. โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา : น. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กําลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล Artemisia วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. vulgaris L.
  12. จุฑา : (แบบ) น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฬา ก็ว่า. (ส. จูฑา; ป. จูฬา).
  13. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  14. กระวิน ๑ : น. ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียน เหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัด เอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. (รูปภาพ กระวิน)
  15. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  16. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  17. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  18. กระแบก : น. ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. (ม. คําหลวง จุลพน), ตระแบก ก็ว่า.
  19. กระลบ : [-หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  20. กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
  21. กระอึก : (กลอน) ก. อึกทึก, อึง, เช่น ตระคอกคึกกระอึกอึง. (กลบท ๒; ม. คําหลวง จุลพน).
  22. กระเอบ : (กลอน) ว. อร่อย, หอมหวาน, เช่น ลิ้มไล้โอชกระเอบหวาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  23. กรูด ๑ : [กฺรูด] (โบ) น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คําหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.
  24. กลู่ : [กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลาด เช่น โกยกลู่กลาดคือลาญใน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  25. กวะแกว่ง : [กฺวะแกฺว่ง] ก. แกว่งไปมา เช่น ช่อช้อยกวะแกว่งไกว. (ม. คําหลวง จุลพน).
  26. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  27. กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
  28. กันลง, กันลอง ๑ : น. แมลงภู่ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. กนฺลง่); ของที่เหลือ, มูลฝอย; การกบฏ, การบุกรุก.
  29. กันลึง : (โบ) ก. จับ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  30. กัลหาย : [กัน-] ก. กรรหาย เช่น ชายใดเดอรร้อนรนน จวนจวบ สร้อยสรสวรก็หายกัลหายหื่นหรรษ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  31. กุลา ๑ : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวจุฬา ก็เรียก.
  32. โกฐ : [โกด] น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐน้ำเต้า, ตํารายาแผนโบราณ เขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. (ป. โกฏฺ?).
  33. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  34. ขากบ : น. ขาของว่าวจุฬา.
  35. เข้าเครื่อง : ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูด สําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.
  36. เข้าปิ้ง : ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.
  37. แขนะ : [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
  38. คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
  39. จรรมขัณฑ์ : น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็น เครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
  40. จราว ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว๔).
  41. จาว ๔ : น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
  42. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  43. จิตรจุล : [จิดตฺระ-] (ราชา) น. เต่า. (ชื่อเต่าในภูริทัตชาดกว่า จิตฺตจูฬ).
  44. จุฑามณี : น. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. (ส.; ป. จูฬามณี).
  45. แจร : [แจฺร] น. ต้นแคแตร เช่น แคแจรเจริญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน).
  46. แจรง : [แจฺรง] (กลอน) ก. แจง, กระจายออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้งาม เงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง. (ม. คำหลวง จุลพน).
  47. ชรุก : [ชฺรุก] (กลอน) ก. ซุก, แอบ, แทรก, เอาของไปแอบแฝงไว้, เช่น ช่อช้อยชรุกระโยงยาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  48. ดันเหิม : (โบ; กลอน) ก. ตันเหิม, รื่นเริง, บันเทิงใจ, เช่น ดันเหิมหื่นหรรษาโมทย์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  49. ด้าม : น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา ๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  50. ดำกล : ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งไว้, ในวรรณคดีหมายความว่า งาม เช่น ดํากลดาดด้วย ดวงดาว. (ม. คําหลวงจุลพน). (แผลงมาจาก ถกล).
  51. [1-50] | 51-75

(0.0607 sec)