ฉะ ๑ : ก. ฟันลงไป; (ปาก) คําใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว.
ฉะ ๒ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นใน บทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มี คำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
ฉะเฉื่อย : (กลอน) ว. เฉื่อย, ช้า, เรื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน.
ฉะหน้าโรง : น. วิธีของเพลงทำนองหนึ่ง.
คัจฉะ : [คัดฉะ] (แบบ) น. ไม้กอ เช่น คัจฉลดาชาติ. (ม. ร. ๔). (ป.).
ฉทึง : [ฉะ-] น. แม่น้ำ เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ฉบบ : [ฉะ-] น. แบบ, เล่มหนังสือ, เรื่อง. (ข. จฺบาบ่).
ฉบัง : [ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คํา แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี ไว้เกียรติ์และไว้นามกร. (สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง).
ฉบัด : [ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
ฉบับ : [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสํานวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือ เขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่น ที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).
ฉ ๒ : [ฉอ, ฉ้อ, ฉะ] ว. หก, สําหรับประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป.).
ฉพีสติม- : [ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่ง เดือนสุริยคติ). (ป.).
ฉกามาพจร, ฉกามาวจร : [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).
ฉกรรจ์ : [ฉะกัน] ว. ห้าวหาญ เช่น ใจฉกรรจ์, แข็งแรงสมบูรณ์ เช่น วัยฉกรรจ์ ชายฉกรรจ์, รุนแรงอาจถึงตาย เช่น แผลฉกรรจ์.
ฉกาจ, ฉกาจฉกรรจ์ : [ฉะกาด, ฉะกาดฉะกัน] ว. เก่งกาจ, ดุร้าย, กล้าแข็ง.
ฉทวาร : [ฉะทะวาน] น. ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
ฉมา : [ฉะมา] น. แผ่นดิน. (ป.; ส. กฺษมา).
ฉล : [ฉะละ, ฉน] น. ความฉ้อโกง. ก. โกง. (ป., ส.).
ฉวะ : [ฉะวะ] (แบบ) น. ร่างสัตว์หรือคนที่ตายแล้ว, ซากศพ. (ป.; ส. ศว).
เฉนียน : [ฉะเหฺนียน] น. ฝั่งน้ำ. (ข. เฉฺนร ว่า ชายฝั่ง).
เฉพาะ : [ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).
เฉลย : [ฉะเหฺลย] ก. อธิบายหรือชี้แจงข้อปัญหาต่าง ๆ ให้เข้าใจ เช่น เฉลยปัญหา เฉลยความ. (ข. เฉฺลิย ว่า ตอบ).
เฉลว : [ฉะเหฺลว] น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ''๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของ ซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า.
เฉลา : [ฉะเหฺลา] ว. สวย, งาม, เกลี้ยงเกลา, เพราพริ้ง.
เฉลิม : [ฉะเหฺลิม] ก. ยกย่อง เช่น เฉลิมพระเกียรติ, เพิ่มพูน, เสริม, เช่น เฉลิมศรัทธา. ว. เลิศ, ยอด.
เฉลิมพระชนมพรรษา : [ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา] น. เรียกวันคล้ายวัน พระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวัน พระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และ สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา.
เฉลี่ย : [ฉะเหฺลี่ย] ก. แบ่งส่วนให้เท่ากัน, แจกจ่ายให้ทั่วกัน. ว. ที่ถัวให้มีส่วน เสมอกัน เช่น รายเฉลี่ย.
เฉลียง : [ฉะเหฺลียง] น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดยรอบ หรือส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สําหรับนั่งเล่นหรือ เดินติดต่อกันเป็นต้น. ว. เฉียง.
เฉลี่ยง : [ฉะเหฺลี่ยง] น. ยาน, คานหาม, โดยมากใช้ว่า เสลี่ยง.
เฉลียบ ๑ : [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides lysan ในวงศ์ Carangidae หัวและลําตัวแบนข้างมาก เกล็ดละเอียดแทรกแน่นอยู่ในหนัง เกล็ดบน เส้นข้างตัวไม่เป็นสันแข็ง ลําตัวและปากไม่กว้างเท่าปลาสละ แต่เพรียว และค่อนข้างยาว ปากกว้างกว่าปลาสีเสียดเล็กน้อยและมีจุดดํา ๒ แถว เรียงตามยาวอยู่ข้างลําตัว.
เฉลียบ ๒ : [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Isognomon isognomum ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน ขอบด้านบนค่อนข้างเป็นแนวตรง ขอบ ด้านล่างโค้งเว้าทางด้านหน้า นูนทางด้านตรงข้าม สีเข้มเกือบดำ เกาะอยู่ ตามรากไม้หรือหินในป่าชายเลน.
เฉลียว : [ฉะเหฺลียว] ก. นึกระแวงขึ้นมา เช่น ไม่เฉลียวว่าเขาจะหักหลัง, มีไหวพริบ เช่น ฉลาดแต่ไม่เฉลียว.
เฉวียง : [ฉะเหฺวียง] น. ซ้าย; เอียง, ตะแคง, ทแยง. (ข. เฉฺวง).
เฉวียน : [ฉะเหฺวียน] ว. เวียน, วนเวียน.
แฉลบ ๑ : [ฉะแหฺลบ] ก. อาการของสิ่งแบน ๆ เคลื่อนเฉไปเฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น ว่าวแฉลบร่อนกระเบื้องให้แฉลบไปตามผิวน้ำ. ว. อาการที่เคลื่อนเฉไป เฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น นกบินแฉลบ รถวิ่งแฉลบ.
แฉลบ ๒ : [ฉะแหฺลบ] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Acacia วงศ์ Leguminosae คือ แฉลบขาว (A. harmandiana Gagnep.) และ แฉลบแดง (A. leucophloea willd.) ดอกกลม ฝักรูปเคียวสีน้ำตาลเข้ม มีเปลือกสีขาว.
แฉลบ ๓ : [ฉะแหฺลบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Placuna sella ในวงศ์ Anomiidae เปลือกค่อนข้างกลม แบน โค้งเล็กน้อยคล้ายอานม้า สีน้ำตาลเข้ม, อานม้า ก็เรียก.
แฉล้ม : [ฉะแล่ม] ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, แชล่ม หรือ แสล้ม ก็ใช้.
แฉละ : [ฉะแหฺละ] ก. แล่, เถือให้เป็นชิ้นบาง ๆ, เชือด, ชําแหละ ก็ใช้.
แฉว : [ฉะแหฺว] (โบ) ว. ที่รุ้ง, ที่คุ้ง, ที่เวิ้ง.
ไฉน ๑ : [ฉะไหฺน] ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา.
ไฉน ๒ : [ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนปี่ชวา ใช้บรรเลงนำหมู่กลองชนะ สำหรับประโคมในงานพระราชทานเพลิงศพที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นต้น มีหัวหน้าเรียกว่า จ่าปี่, สรไน ก็ว่า.
ตัจฉนี : [-ฉะนี] (แบบ) น. ผึ่ง, ขวาน. (ป.; ส. ตกฺษณี).
ปี่ไฉน : [-ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ยาวราว ๑๙ เซนติเมตร นิยมทำด้วยไม้หรืองา แบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดออก จากกันได้ ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้น ทำด้วยใบตาลผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด.
พาดไฉน : [ฉะไหฺน] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Enkleia siamensis Nervling ในวงศ์ Thymelaeaceae ใช้ทํายาได้, พันไฉน ก็เรียก.
ยาไฉน : [ฉะไหฺน] (กลอน) ก. อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. (ลอ).
กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
กัจฉะ : [กัดฉะ] (ราชา) น. รักแร้, ใช้ว่า พระกัจฉะ. (ป.; ส. กกฺษ).
กินนรเก็บบัว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฉิใจฉะใจกระไรสมร หวังสวาทปลิดสวาทบําราศจร ตัดอาลัยตัดอาวรณ์ให้นอนเดียว.
เคจฉะ : [เคดฉะ] (แบบ) ก. ไป, ถึง, เช่น ผู้ข้าคุงควรเคจฉเล็ดลอดลุเขาคด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. คจฺฉ).