Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฉัน , then ฉน, ฉนฺ, ฉัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฉัน, 136 found, display 1-50
  1. ฉัน : ว. เสมอเหมือน, เช่น, อย่าง, เช่น ฉันญาติ.
  2. ฉัน : ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่งออกไป, เช่น พระสุริฉัน.
  3. ฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑.
  4. ฉัน : ก. กิน (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
  5. ฉันวุติ : [ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).
  6. ฉันนั้น : ส. อย่างนั้น, เช่นนั้น, (เป็นคำรับใช้เข้าคู่กับคำ ฉันใด).
  7. ขยม : [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๑. (ข. ขฺญุํ).
  8. ขยุม ๑ : [ขะหฺยุม] น. ขยม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  9. เผือ : (กลอน) ส. ข้า, ฉัน, เช่น สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ. (ลอ), เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑.
  10. หอฉัน : น. อาคารที่สร้างขึ้นในวัด เป็นที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งฉัน อาหารและทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น.
  11. เฉิดฉัน, เฉิดฉิน : (กลอน) ว. งาม, เพริศพริ้ง.
  12. ล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. : ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะ วิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.
  13. หม่อมฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือ สําหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  14. คล้องจอง : ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้อง อยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
  15. จำหัน ๒ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉัน).
  16. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  17. สรรพนาม : (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
  18. กงการ : (ปาก) น. กิจการ, หน้าที่, ธุระ, เช่น กงการอะไรของคุณ ไม่ใช่กงการของฉัน.
  19. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  20. กรอกรุย : ก. ทําท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน. (มณีพิชัย).
  21. กระหมุ่น : (โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น น้ำใช้และน้ำฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).
  22. กร่ำกรุ่น : [กฺร่ำกฺรุ่น] ว. สีมัว ๆ ไม่ชัด เช่น สีกร่ำกรุ่นเป็นอย่างไรฉันไม่เคย.
  23. กรุย ๒ : [กฺรุย] ว. ทําทีท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน. (มณีพิชัย).
  24. กรูม : [กฺรูม] ว. กรอม, คลุม, เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน. (มณีพิชัย).
  25. กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
  26. กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
  27. กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
  28. กาลิก : น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กําหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก- ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).
  29. กินแกลบกินรำ : [-แกฺลบ-] (สํา) ว. โง่ เช่น ฉันไม่ได้กินแกลบกินรำนี่ จะได้ไม่รู้เท่าทันคุณ.
  30. เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  31. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  32. ข้าวก้นบาตร : (สำ) น. อาหารเหลือจากพระฉันแล้วที่ศิษย์วัดได้อาศัยกิน.
  33. ขึ้นชื่อ : ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
  34. เข้าหู : ก. มาให้ได้ยิน (ใช้สําหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้ เข้าหูฉันบ่อย ๆ. ว. น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู.
  35. คล้อยตาม : ก. สอดคล้องไปในทางเดียวกัน, มีความเห็นอย่างเดียวกัน, เช่น ฉันเห็นคล้อยตามเขา.
  36. คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา : [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนลาง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
  37. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  38. คู่ครอง : น. หญิงและชายที่อยู่ร่วมกันฉันผัวเมีย; ผัวหรือเมีย.
  39. คู่เคียงเรียงหมอน : น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิง ที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เรียงเคียงหมอน ก็ว่า.
  40. คู่เรียงเคียงหมอน : น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กิน ร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เคียงเรียงหมอน ก็ว่า.
  41. ใคร ๒, ใคร ๆ : [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
  42. จ๊ะจ๋า : ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูด จ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขา กำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
  43. เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
  44. ฉะนั้น : ว. ฉันนั้น, เช่นนั้น, อย่างนั้น, ดังนั้น, ดั่งนั้น, เพราะฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น.
  45. ฉะนี้ : ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้.
  46. ฉันใด : ว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. ส. อย่างใด, เช่นใด, (เป็นคำที่ใช้เข้าคู่ กับคำ ฉันนั้น ซึ่งเป็นคํารับ).
  47. ฉาน ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ส. ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  48. ฉิน ๒ : (กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัด อรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).
  49. ฉิน ๓ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคํา โฉม เป็น ฉินโฉม หรือโฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  50. ดนุ, ดนู : (แบบ) (กลอน) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส. ตนุ ว่า ตัวตน; เล็กน้อย, เบาบาง).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-136

(0.0533 sec)