ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
ฉาก ๒ : (ปาก) ก. หลบ, เลี่ยง เช่น ฉากหนี.
ฉากแข็ง : น. ฉากตั้ง.
ฉากตั้ง : น. ฉากละครที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนํามาตั้งไว้, ฉากแข็ง ก็เรียก.
ฉากทิ้ง : น. ฉากลิเกละครเป็นต้นเขียนเป็นภาพต่าง ๆ แขวนทิ้งไว้กับที่ อาจชักรอกขึ้นลงได้, ฉากอ่อน ก็เรียก.
ฉากบังเพลิง : น. ฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน ใช้สําหรับกั้นบัง ในเวลาเผาศพชั้นโกศเท่านั้น, ถ้าเป็นเมรุธรรมดาและเป็นศพข้าราชการ ใช้ลายเถาไม้, ถ้าเป็นพระศพพระราชวงศ์ ใช้ฉากรูปเทวดา.
ฉากอ่อน : น. ฉากทิ้ง.
ฉากญี่ปุ่น : น. เครื่องบังตาที่ประกอบด้วยแผ่นพับหลายแผ่น.
ฉากน้อย, ฉากใหญ่ : น. ท่าละครชนิดหนึ่ง.
เปิดฉาก : ก. เริ่มต้นทํา เช่น เปิดฉากหาเสียง เปิดฉากตะลุมบอน, เริ่มต้นแสดง เช่น ละครเปิดฉาก.
สลับฉาก : น. เรียกการแสดงสั้น ๆ ที่คั่นระหว่างการแสดงละคร แต่ละฉากเพื่อให้มีเวลาสําหรับเปลี่ยนฉากละครว่า การแสดงสลับฉาก.
สาณี : น. ม่าน, ฉาก, มู่ลี่; ผ้าป่าน. (ป.; ส. ศาณี).
หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
หลังฉาก : (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
ไม้ฉาก : น. เครื่องมือเขียนแบบก่อสร้าง ชุดหนึ่งมี ๓ อัน อันหนึ่งมีรูปอย่าง พยัญชนะรูป T อันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมละ ๔๕ ? และอันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมหนึ่งมี ๖๐? กับอีกมุมหนึ่ง ๓๐?; ไม้ดัดแบบหนึ่งซึ่งดัดลำต้น และกิ่งให้เป็นมุมฉาก.
หลบฉาก : ก. หลบอย่างมีชั้นเชิง (ใช้ในกีฬามวย), โดยปริยายหมายความว่า หลีกหนีไม่ให้พบหน้า.
กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
เข้าโรง : ก. กลับเข้าไปหลังฉากเมื่อตัวละครแสดงจบบทแล้ว.
นั่งราว : ว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจําที่ บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.
พิกัด ๒ : (คณิต) น. จํานวนจริง ๒ จํานวนซึ่งเป็นคู่ลําดับ ที่แทนจุดจุดหนึ่ง บนระนาบ จํานวนแรกของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด x เป็นระยะตั้งฉาก ที่จุดนั้นห่างจากแกนดิ่ง ส่วนจํานวนที่ ๒ ของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด y เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนนอน. (อ. coordinates).
ภาคตัดกรวย : (คณิต) น. ระบบเส้นโค้งซึ่งกําหนดขึ้นโดยอัตราส่วนระหว่าง ระยะจากจุดบนเส้นโค้งไปยังจุดโฟกัสกับระยะตั้งฉากจากจุดนั้นไปยังเส้น ไดเรกตริกซ์ อัตราส่วนดังกล่าวมีค่าคงตัวเสมอ.
ม่านบังเพลิง : น. ฉากพับได้ติดกับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.
โมเมนต์ : น. เรียกอาการที่วัตถุหมุนรอบจุดหนึ่งที่ตรึงอยู่กับที่ว่าเกิดโมเมนต์ขึ้นที่วัตถุนั้น, ทางวิทยาศาสตร์กําหนดว่า โมเมนต์ของแรงใดแรงหนึ่งรอบจุดใดจุดหนึ่งซึ่งตรึง อยู่กับที่ ก็คือผลคูณระหว่างแรงนั้นกับระยะทางที่ลากจากจุดนั้นไปตั้งฉาก กับแนวทิศของแรงนั้น. (อ. moment).
ลองจิจูด : น. เส้นรอยตัดระหว่างผิวโลกกับพื้นราบที่ผ่านแกนขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ รอยตัดนี้จะเป็นวงกลมที่ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร ค่าลองจิจูดนับออกจากเมริเดียนแรกไปทางตะวันออกหรือตะวันตก โดยวัดไปตามเส้นศูนย์สูตร เป็นมุมที่ศูนย์กลางโลก, เดิมใช้ว่า เส้นแวง. (อ. longitude).
ละครดึกดำบรรพ์ : น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการ ตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยา อาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และ ใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะ งดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
ละครโทรทัศน์ : น. ละครพูดที่แสดงทางโทรทัศน์ มีการตกแต่งฉาก ให้เหมือนจริง.
ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
ละติจูด : น. เส้นรอยตัดระหว่างผิวโลกกับพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนขั้วโลก เหนือและขั้วโลกใต้ รอยตัดนี้จะเป็นวงกลมที่ขนานกับเส้นศูนย์สูตร ค่าของละติจูดนับออกจากเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลกเหนือหรือ ขั้วโลกใต้ โดยวัดไปตามเส้นเมริเดียน เป็นมุมที่ศูนย์กลางของโลก, เดิมใช้ว่า เส้นรุ้ง. (อ. latitude).
ลี่ ๑ : น. ชื่อมดขนาดยาว ๕๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทํารัง ด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้ายรังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้ายกับมีหางชี้ ที่พบ ได้บ่อยอยู่ในสกุล Crematogaster วงศ์ Formicidae คือ ชนิด C. dohrni หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
หูช้าง ๑ : น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.
องก์ : น. ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร แต่ละตอนอาจมีเพียงฉากเดียวหรือ หลายฉากก็ได้. (ป., ส. องฺก).
แอลฟา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาค แอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับ ฉากเรืองแสงจะทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. (อ. alpha rays).