ฉายา ๒ : (กลอน; ปาก) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น ฉายามิใคร่จะจากไป. (มโนห์รา).
ฉายา ๑ : น. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).
ฉาย ๑ : น. เงา, ที่ร่ม; ราชาศัพท์เรียกกระจกส่องหน้าว่า พระฉาย. (ป., ส. ฉายา).
ชายา ๒ : (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีเสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
เจดียฐาน, เจดียสถาน : น. สถานที่เคารพเช่นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธบาท พระพุทธฉายา และพระบรมสารีริกธาตุ.
ฉาย ๒ : ก. ส่องแสงออกไป; (ปาก) กรายให้เห็น เช่น หล่อนฉายไปฉายมาทั้งวัน.
ฉาย ๓ : ก. เกลี่ยให้เสมอ, กระจายให้เสมอ, เช่น ฉายดิน.
ฉายซ้ำ : (ปาก) ก. กระทำซ้ำ ๆ เช่น เขามักฉายซ้ำเรื่องเก่า ๆ.
ฉายหนัง : (ปาก) ก. ฉายแสงผ่านฟิล์มภาพยนตร์ให้ปรากฏภาพเคลื่อนไหว บนจอ.
ฉายเฉิด : ว. งาม, สดใส.
ชั้นฉาย : น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้ง โบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
เฉิดฉาย : ว. งามผุดผาดสดใส.
ดองฉาย, ดองหาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, ดอง กระดองหาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก. (ข. จงฺหาย ว่า ไม้สงฟาง, ดอง ว่า ด้าม, ฉาย ว่า สง).
ขอฉาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย คันฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
คันฉาย ๒ : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย ขอฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
จำหาย ๒ : ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).
กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
กระสือ ๑ : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของ สารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
กายภาพบำบัด : น. การรักษาโรคโดยอาศัยวิธีการทางฟิสิกส์ แทนการใช้ยา เช่น โดยการนวด การฉายรังสี การใช้กระแสไฟฟ้า การใช้กระแสน้ำ ความร้อน หรือการออกกําลังกาย. (อ. physical therapy).
กำราก, กำหราก : น. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กํารากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกําหรากเหลือลาม. (ตําราขี่ช้าง).
เกิบ ๒ : (โบ) ก. กําบัง, บัง, เช่น เศวตฉัตรรัตนก้งง เกิบบนบรรจถรณ์. (สรรพสิทธิ์), เฉกฉายกมลาสน์ฉัตรา เกิบก้งงเกศา. (สรรพสิทธิ์).
โคมตาวัว : น. โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, กระสือ ก็ว่า.
จอ ๒ : น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
ฉิน ๒ : (กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัด อรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).
ถ่ายภาพยนตร์ : ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้ เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.
ทอแสง : ก. ฉายแสงอ่อน ๆ ขึ้นมา เช่น ตะวันทอแสง.
บรรเจิด : [บัน-] ก. เชิดสูงขึ้น, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
บริราช : [บอริราด] ก. ส่องแสงทุกด้าน, ฉายรัศมีโดยรอบ. (ส. ปริราช).
ปฐมทัศน์ : [ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละคร หรือการฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.
ประเจิด : ก. บรรเจิด, เชิดขึ้นสูง, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
เปล่ง : [เปฺล่ง] ก. ฉายออก, แผ่ออก, เช่น เปล่งรัศมี, ออกเสียง เช่น เปล่งเสียง. ว. แจ่มใส, สุกใส.
แผด ๑ : ก. เปล่งเสียงดังสนั่น (ตามปรกติใช้ประกอบกับคำ เสียง เป็น แผดเสียง); ฉายแสงกล้า (ใช้แก่แดด).
พริ้งเพริศ : ว. งามเฉิดฉาย, เพริศพริ้ง ก็ว่า.
พิมพ์เขียว : ก. พิมพ์สําเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็น กระดาษบาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงิน บนพื้นขาว. น. สําเนาที่ทําขึ้นโดยวิธีการเช่นนี้. (อ. blueprint).
เพริศพริ้ง : ว. งามเฉิดฉาย, พริ้งเพริศ ก็ว่า.
ไฟฉาย : น. เครื่องทําความสว่าง ประกอบด้วยอุปกรณ์สําคัญ คือ จานฉายรูปโค้งสําหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุ อยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้ มักทําเป็นรูปทรงกระบอก.
ภาพนิ่ง : น. ภาพขยายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวบนจอ เกิดจากการฉายแสง ที่มีความเข้มมาก ผ่านแผ่นสไลด์หรือแผ่นฟิล์มภาพไปยังจอ.
ภาพยนตร์ : [พาบพะ] น. ภาพฉายด้วยเครื่องทําให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ได้, หนังฉาย.
ไมโครฟิล์ม : [-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สําหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนํามาฉาย เป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).
รังสีเอกซ์ : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่น อยู่ประมาณระหว่าง ๕ x ๑๐๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐๑๒ เมตร ใช้ประโยชน์ ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ เอกซเรย์ ก็เรียก; เรียกการถ่ายภาพอวัยวะภายในโดยใช้รังสีเอกซ์ว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์, เรียกการรักษาโรคมะเร็งและโรคผิวหนังบางประเภท โดยใช้รังสีเอกซ์ ที่มีช่วงคลื่นสั้นกว่าที่ใช้ถ่ายภาพว่า การฉายเอกซเรย์ หรือ การฉายแสง.
แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
ส่อง : ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่อง หน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ, เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน(ปาก) ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง.
หนัง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทําเป็นของใช้หรือ เป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่น หนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง เล่นหนัง.
เอกซเรย์ : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นอยู่ ระหว่างประมาณ ๕ x ๑๐-๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐-๑๒ เมตร ใช้ ประโยชน์ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ รังสีเอกซ์ ก็เรียก; เรียกการถ่ายภาพอวัยวะภายในโดยใช้ เอกซเรย์ว่า การถ่ายภาพเอกซเรย์, เรียกการรักษาโรคมะเร็ง และโรคผิวหนังบางประเภท โดยใช้เอกซเรย์ที่มีช่วงคลื่นสั้น กว่าที่ใช้ถ่ายภาพ ว่า การฉายเอกซเรย์ หรือ การฉายแสง. (อ. Xrays).