ชระ ๑ : [ชฺระ] ว. สะอาด, บริสุทธิ์, เช่น ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ. (สมุทรโฆษ).
ชระ ๒ : [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคําในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน.
ชระเดียด : [ชฺระ] (กลอน) ว. รายไป, เรียดไป, โบราณเขียนเป็น ชรดียด ก็มี เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).ชระเดียดชระดัด (กลอน) ว. เกลื่อนกล่น, ดาษดื่น.
ชระมื่น : [ชฺระ] (กลอน) ว. ทะมื่น เช่น ผีพรายชระมื่น ดําช่วยดู. (แช่งนํ้า).
ชระมุ่น : [ชฺระ] (กลอน) ว. มุ่น, นุ่ม, เช่น ลานโลมวิไลแถงชระมุ่น อกเอย. (นิ. นรินทร์).
ชระลั่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คําหลวง กุมาร).
ชระง่อน : [ชฺระ] (กลอน) น. ชะง่อน, หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่น ออกมาจากเขา.
ชระดื่น : [ชฺระ] (กลอน) ว. ดื่น.
ชระมุกชระมอม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ขะมุกขะมอม.
ชระเมียง : [ชฺระ] (กลอน) ก. เมียง, มองดู.
ชระเมียน : [ชฺระ] (กลอน) ก. ชม, ดู
ชระลอง, ชระล่อง : [ชฺระ] น. ทางล่อง, ซอกเขา, ลําธาร, เช่น ผู้ชระลองล่วงห้วง มหรรณพ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
ชรา : [ชะ] ว. แก่ด้วยอายุ, ชํารุดทรุดโทรม. (ป., ส.).
ทะลิ่นชระลั่ง : [-ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง.
ชร ๑ : [ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.).
ชร ๒ : [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คําฤษดี), ชรธารา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
ชร ๓ : [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคําที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง.
ชรงำ : [ชฺระ] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ, เช่น เปนไพรชัฏชรงำผลู. (สมุทรโฆษ).
ชรเรือด : [ชฺระ] (กลอน) ก. แทรก เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดู เพรี้ยมพราย.(สมุทรโฆษ). (ข. เชฺรียต, เชียต).
ชราธรรม : ว. มีชราเป็นธรรมดา, มีความแก่ความชํารุด ทรุดโทรมเป็นธรรมดา.
ชรอกชรัง : [ชฺรอกชฺรัง] ก. ซอกซอน, ซอกแซก.
ชรากากี : [ชะ] น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. (โอสถพระนารายณ์).
ตรีเพชรทัณฑี : [ตฺรีเพ็ดทันที] น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่ง.
เพชรสังฆาต : [เพ็ดชะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissus quadrangularis L. ในวงศ์ Vitaceae เถาสี่เหลี่ยม ดอกเล็ก สีแดง ใช้ทํายาได้.
วัยชรา : น. วัยที่ต่อจากวัยกลางคน อายุเกิน ๖๐ ปี.
ชวร, ชวระ : [ชวน, ชะวะระ] (แบบ) น. ไข้, ความไข้. ก. เป็นไข้, ป่วย. (ส.; ป. ชร).
เทวทูต : น. ชื่อคติแห่งธรรมดา ๓ ประการ คือ ชรา พยาธิ มรณะ.
กัปนก : [กับปะหฺนก] (แบบ) ว. กําพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่าพราหมณชรา ชีณกัปนก. (ม. คําหลวง ชูชก). (ป. กปณก).
แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
เคา : (โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวด เพียงหลังเคา. (ม. คําหลวง กุมาร).
จันเลา, จันเลาะ : น. ลําห้วย. (ข. เชฺราะ ว่า เหว, ลําธาร).
ชรทึง : [ชฺระ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ชรไม : [ชฺระ] ว. ชไม, ทั้งคู่.
ชรราง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ราง ๆ เช่น แฝงข่าวยินเยียชรราง. (แช่งนํ้า).
ชรริน : [ชฺระ] (กลอน) ก. ประดับ เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดู เพรี้ยมพราย.(สมุทรโฆษ).
ชรแรง : [ชฺระ] (กลอน) ว. แรง ๆ, ขลัง, เช่น เยียชรแรง. (แช่งนํ้า).
ชรแร่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. แบ่ง, แยก, เช่น ฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู. (แช่งนํ้า).
ชรโลง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ชโลง, จูง, พยุง, โยง.
ชรออบ : [ชฺระ] (กลอน) ก. ชอบ เช่น ธมาพักชรออบ คืนเดียวชอบ ชีนอน. (ม. คําหลวง กุมาร).
ชรอัด : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
ชรอ่ำ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้ แผ่นหงาย. (แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ชรอื้อ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ชรอุ่ม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชร อุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
ชระงำ : [ชฺระ] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ.
ชระดัด : [ชฺระ] (กลอน) ก. ดัด.
ชระบอบ : [ชฺระ] (กลอน) ก. บอบชํ้า, เมื่อยล้า.
ชระบาบ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ราบเรียบ, เสมอ.
ชระมด : [ชฺระ] (กลอน) น. ชะมด.