Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชะมด , then ชมด, ชมต, ชะมด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชะมด, 14 found, display 1-14
  1. ชะมด : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและ ขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้ นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดํา(V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  2. ชะมด : น. ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง.
  3. ชะมด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากันปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้ว ทอดน้ำมัน.
  4. ชะมดต้น : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Abelmoschus moschatus Medic. subsp. moschatus ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง โคนกลีบสี นํ้าตาลเข้ม เมล็ดมีกลิ่นคล้ายกลิ่นชะมดเช็ด ใช้ทํายาได้, ฝ้ายผี ก็เรียก.
  5. ชะมดเชียง : น. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทํายาได้. (ดู กวางชะมด ประกอบ).
  6. ชระมด : [ชฺระ] (กลอน) น. ชะมด.
  7. นาภี ๒ : น. ชะมด เช่น มฤคนาภี ว่า ตัวชะมด. (ป., ส.).
  8. เห็นอ้ม : (ถิ่น-อีสาน) น. ชะมด. (ดู ชะมด๑).
  9. กระแจะ ๑ : น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสําหรับทาหรือเจิม โดยปรกติมี เครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอม ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น.
  10. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  11. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  12. เชียง ๒ : น. เรียกเครื่องหอมชนิดหนึ่งว่า ชะมดเชียง. (ดู ชะมดเชียง).
  13. ฝ้ายผี : ดู ชะมดต้น.
  14. อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

(0.0673 sec)