มหาอำนาจ : ว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูงว่า ประเทศมหาอำนาจ.
ชาติ ๑, ชาติ ๑ : [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กําเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
ชาติ ๓, ชาติ ๓ : [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ.
ชาติ ๒, ชาติ ๒ : [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมือง ของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกันหรืออยู่ในปกครองรัฐบาล เดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
ชาติมาลา : [ชาติ] น. สาขาแห่งชาติ, โครงแห่งตระกูล, แผนเครือญาติ. (ส.).
ชาติธรรม : [ชาติทํา] ว. มีความเกิดเป็นธรรมดา. (ส. ชาติธรฺม ว่า หน้าที่ของตระกูล).
ชาติภูมิ : [ชาดติพูม] น. ถิ่นที่เกิด.
บุพพัณชาติ : [-พันนะชาด] น. พืชที่จะพึงกินก่อน ได้แก่ข้าว ทุกชนิด. (ป. ปุพฺพณฺณชาติ; ส. ปูรฺว + อนฺน + ชาติ).
กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
ครึ่งชาติ : น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ลูกครึ่ง ก็ว่า.
ตระกูลมูลชาติ : [-มูนชาด] (สํา) น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.
ป่าสงวนแห่งชาติ : (กฎ) น. ป่าที่กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น.
ระลึกชาติ : ก. ระลึกถึงความเป็นไปในชาติก่อน.
รู้เช่นเห็นชาติ : (สํา) ก. รู้กําพืด, รู้นิสัยสันดาน, เช่น เขาชอบหักหลังคนอื่น เพื่อน ๆ รู้เช่นเห็นชาติมานานแล้ว.
สกุลรุนชาติ : [สะกุนรุนชาด] น. ตระกูลผู้ดี เช่น เขาเป็นคนมีสกุลรุนชาติ.
สร้างชาติ : ก. ทำให้ชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง.
สละชีพเพื่อชาติ : ก. ยอมเสียชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติ.
หินชาติ : [หินนะชาด] ว. มีกําเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคํา ทมิฬ เป็น ทมิฬ หินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.
อดีตชาติ, อดีตภพ : [อะดีดตะชาด, ตะพบ] น. ชาติก่อน, ภพก่อน.
อุทยานแห่งชาติ : (กฎ) น. พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ได้สงวน รักษาไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกา ประกาศกําหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วย อุทยานแห่งชาติ.
เชื้อชาติ : น. ผู้ที่ร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกัน.
ทวิชชาติ : น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป., ส.).
ทวิชชาติ : ดู ทวิ.
ทิชาชาติ : น. ''ผู้เกิด ๒ ครั้ง'', นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
ทิชาชาติ :
ดู ทิช-, ทิชะ.
เทียรฆชาติ : [-คะชาด] (แบบ) น. งู.
ธัญชาติ : น. คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.
นรชาติ : น. คน, หมู่คน.
บุพพัณชาติ :
ดู บุพ-, บุพพ-.
ประเทศชาติ : น. บ้านเกิดเมืองนอน.
แปลงชาติ : (โบ) ก. แปลงสัญชาติ. แปลงผี
พรหมชาติ : น. ชื่อตําราหมอดู.
มฤคชาติ : น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.
มักขิกา, มักขิกาชาติ : น. แมลงวัน. (ป.).
มิคชาติ : น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.
รัตนชาติ : น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.
รับใช้ชาติ, รับใช้ประเทศชาติ : ก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะ เป็นพลเมืองของประเทศ.
สัตวชาติ : น. สัตว์, หมู่สัตว์.
อปรัณณชาติ : [อะปะรันนะชาด] น. ''อาหารอื่น'' คือ ถั่ว งา และผักต่าง ๆ (นอกจากข้าว). (ป. อปรณฺณ).
อันตชาติ : น. คนตํ่าช้า, คนไม่มีตระกูล. (ส.).
โอนชาติ : (ปาก) ก. แปลงสัญชาติ.
ประชาชาติ : น. ประเทศ, ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, ชาติ ก็ว่า.
ทศชาติ : น. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้ง ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ.
สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
ชาติรส : [ชาติรด, ชาดติรด] น. รสโดยกําเนิด เช่น รสหวานแห่งนํ้าตาล. (ป.).
ชาต, ชาตะ : [ชาตะ] ก. เกิด. (ป.).
กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).