เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
เยี่ยม ๑ : ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงก หน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
เยี่ยม ๒ : ว. ยิ่ง, เด่น, เลิศ, เช่น ดีเยี่ยม เขาเยี่ยมทางคำนวณ.
ชิ้น ๑ : น. ก้อนหรือแผ่นเล็กที่ตัด แล่ แบ่ง แยก หรือ แตกออกจาก ส่วนใหญ่ เช่น ชิ้นปลา ชิ้นเนื้อ ชิ้นกระเบื้อง, ลักษณนาม เรียกสิ่งที่เป็นก้อนเป็นแผ่นเล็ก ๆ เช่นนั้น เช่น ผ้าชิ้นหนึ่ง เนื้อ ๒ ชิ้น.
ชิ้น ๒ : (ปาก) น. คู่รัก.
ชิ้นเอก : ว. ดีเด่น เช่น งานชิ้นเอก.
เยี่ยมกราย : ก. กรายมาให้เห็น เช่น นานแล้วไม่เยี่ยมกรายมาเลย.
เยี่ยมยอด : ว. ดีที่สุด, เลิศที่สุด, ยอดเยี่ยม ก็ว่า.
เยี่ยมวิมาน : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
กระแบะ ๑ : น. แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า.
เป็นชิ้นเป็นอัน : ว. เป็นสาระ, เป็นเรื่องเป็นราว, มักใช้ในความ ปฏิเสธว่า ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
ยอดเยี่ยม : ว. ดีที่สุด, เลิศที่สุด, เยี่ยมยอด ก็ว่า.
ลพ : น. การตัด, การเกี่ยว; ส่วนที่ตัดออก, ท่อน, ชิ้น; หยาดนํ้า. (ป., ส. ลว).
ลวะ : น. การตัด, การเกี่ยว; ส่วนที่ตัดออก, ท่อน, ชิ้น; หยาดนํ้า. (ป., ส.).
กัลยาเยี่ยมห้อง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
ตกล่องปล่องชิ้น : (สํา) ก. ตัดสินใจที่จะร่วมมือหรือร่วมชีวิตด้วย.
ตอบ : ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยม ตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคําถาม, แจ้ง กลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไป undefined
เยี่ยมเยียน, เยี่ยมเยือน : ก. ไปมาหาสู่ถามข่าวคราว.
เยือน : ก. เยี่ยม เช่น ลมหนาวมาเยือน ไปเยือนยุโรป.
ลูกชิ้น : น. เนื้อปลาหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่โขลกทําเป็นลูกกลม ๆ แล้วลวกสําหรับทําของกิน.
หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน : (สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.
ฟืน : น. ไม้สําหรับใช้เป็นเชื้อไฟ, ลักษณนามเรียกตามลักษณะ เช่น ดุ้น อัน ท่อน ชิ้น.
เยียน : ก. ไปมาหาสู่, มักใช้ควบกับคํา เยี่ยม เป็น เยี่ยมเยียน, เยือน ก็ว่า.
ลิ่นทะเล : น. ชื่อสัตว์ทะเลจําพวกหอยในชั้น Polyplacophora ลําตัวเป็นรูปไข่ ผ่าซีก เปลือกคลุมตัวด้านหลังมี ๘ ชิ้น วางเหลื่อมซ้อนกันเหมือน กระเบื้องมุงหลังคา อยู่ตามโขดหินชายทะเล มีหลายสกุล เช่น สกุล Chiton, Acanthochiton, หอยแปดเกล็ด ก็เรียก.
หมา ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ลําตัวมีขน ปกคลุม มีเขี้ยว ๒ คู่ ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน ๑ ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis familiaris.
กระบิ ๑ : น. แท่ง แผ่น ชิ้น.
ขัณฑ- : [ขันทะ-] น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. (ป., ส. ขณฺฑ).
จะละเม็ด ๒ : น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Caretta caretta ในวงศ์ Cheloniidae หัวโตกว่าเต่า ทะเลชนิดอื่น เกล็ดกระดองหลังแถวข้างมี ๕ ชิ้น กระดองสีนํ้าตาลหรือ นํ้าตาลแดง ท้องสีขาวครีมพบในมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนํ้าอุ่นของ มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย, เรียกไข่เต่าทะเลทุกชนิด ว่า ไข่จะละเม็ด.
ชน ๒, ชน : [ชนนะ] น. คน (มักใช้ในภาษาหนังสือ).(ป., ส.).
กรอบ ๒ : ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดํารงตน ไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
กระเบื้อง : น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลาย เป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้อง ที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทํา ด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่า เป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
กะเทาะ : ก. ล่อนหลุดออกมาเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ, ทําให้ล่อนหลุดออก เช่น กะเทาะเม็ดบัว. น. สิ่งของหรือเปลือกไม้ที่หลุดล่อนออกมาจาก พื้นเดิมหรือจากต้น เช่น กะเทาะมะขาม.
กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
เกรียก ๑ : [เกฺรียก] ก. เอามีดสับ ผ่า หรือจักชิ้นไม้ให้ฉีกออกไปตามเนื้อไม้ เพื่อให้เป็นซีกเป็นเสี้ยวน้อย ๆ เช่น เกรียกไม้ทำเชื้อไฟ.
แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
ข้อสังเกต : น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มี ข้อสังเกตอยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้า มาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย.
ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
จอม : น. ยอดที่สูงสุดของสิ่งที่มีฐานใหญ่ปลายเรียวเล็กขึ้นไป เช่น จอมเขา; ผู้ที่ยอดเยี่ยมในหมู่ เช่น จอมโจร.
เจาะ ๒, เจาะจง : ก. ตั้งใจเฉพาะ, มุ่งไปที่, เช่น นักข่าวเจาะข่าวเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน หัวหน้าเจาะจงให้เขาทำงานชิ้นนี้.
แจ๋ว : ว. มีเสียงดังกังวานแจ่มชัด, ใสมาก เช่น นํ้าใสแจ๋ว; (ปาก) ดีเยี่ยม เช่น ปาฐกถาวันนี้แจ๋ว.
ซั้ว ๒ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อน แล้วจึงนำมาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้มใหม่พร้อมกับ เครื่องปรุงประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ ซั้วกบ.
เด่น : ว. ที่ปรากฏเห็นได้ชัดจะแจ้งเพราะนูนขึ้นมา ยื่นลํ้าออกมา หรือสูงใหญ่กว่า ธรรมดา, โดยปริยายหมายความว่า มีคุณสมบัติหรือความสามารถเยี่ยม เช่น สวยเด่น ดีเด่น.
เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
บิ : ก. ทําให้แตกออกหรือหลุดออกเป็นชิ้น ๆ ด้วยนิ้ว เช่น บิขนมปัง, แตกออกหรือหลุดออกด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น.
ปรมัตถ์ : [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความ อย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). ปรมาจารย์ [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือ ยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.