ชิ, ชิชะ, ชิชิ : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.
ชิรณัคคิ : [ชิระนักคิ] น. ไฟธาตุที่ทําอาหารให้ย่อย, ชีรณัคคิ ก็ว่า. (ส. ชีรณ + ป. อคฺคิ).
ชิเดนทรีย์ : [ชิเดนซี] (แบบ) น. ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว, ผู้สํารวม อินทรีย์. (ป., ส. ชิต + อินฺทฺริย).
ชิรณัคคิ :
ดู ชิรณ, ชิรณะ.
บริพาชิกา, บริพาชี : [บอริ-] (แบบ) น. นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง ในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชิกา, ปริพฺพาชี).
ชิรณ, ชิรณะ : [ชิระนะ] ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชํารุด. (ป. ชีรณ; ส. ชีรฺณ).
อัมพุชินี : น. สระบัว, หนองบัว. (ป.; ส. อมฺพุชินฺ).
ชิตินทรีย์ : [ชิตินซี] (แบบ) น. ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว, ผู้สํารวมอินทรีย์. (ป., ส. ชิตนฺทฺริย).
ชิน ๔ : [ชินะ, ชินนะ] น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับ คําอื่นเป็น ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
ชีรณัคคิ [ชีระนักคิ] : น. ไฟธาตุที่ทําอาหารให้ย่อย, ชิรณัคคิ ก็ว่า. (ส. ชีรณ + ป. อคฺคิ).
ชี ๑ : น. นักบวช เช่น ชีปะขาว; คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผมถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. (ส. ชี ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง).
จำลอง ๑ : ก. ถ่ายแบบ เช่น จําลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจําลอง, ที่ทําให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจําลอง.
ชิง ๑ : ก. แข่ง, แข่งขัน, เช่น ชิงรางวัล ชิงทุน, แย่ง เช่น ชิงอํานาจ.
ชิต, ชิต : [ชิด, ชิตะ] ก. ชนะแล้ว. (ป., ส.).
นกเขา ๑ : น. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ อยู่ตามลําพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (Accipiter trivirgatus) เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis).
บัญชี : น. สมุดหรือกระดาษสําหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น บัญชีเงินสด บัญชีพัสดุ บัญชีพล บัญชีเรียกชื่อ. (ส. ปญฺชิ).
ปริพาชก : [ปะริ-] น. นักบวชผู้ชายในอินเดีย นอกพระพุทธศาสนา, เพศหญิง ใช้ว่า ปริพาชิกา หรือ ปริพาชี. (ป. ปริพฺพาชก).
ภาชี : (แบบ) น. ผู้แบ่ง, เพศหญิงใช้ว่า ภาชินี.
มัชฌิม- : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).
มัชฌิมประเทศ : [มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบ หมายถึงอินเดียตอนกลาง.
มัชฌิมยาม : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).
มัชฌิมวัย : [มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. วัยกลางคน.
มารชิ, มารชิต : [มาระชิ, มาระชิด] น. ''ผู้ชนะมาร'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป. มารชิ; ส. มารชิตฺ).
วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
ชี ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coriandrum sativum L. ในวงศ์ Umbelliferae ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลมมีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีลา หรือ หอมป้อม ก็เรียก.
ชี ๔ : ก. ทําสิ่งที่เป็นปุยอย่างสําลีหรือที่เป็นเส้นอย่างกลุ่มยาเส้น ให้กระจายตัวออก.
ชีเปลือย : น. นักบวชจําพวกหนึ่ง ถือเพศเปลือยกาย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ไม่นุ่งผ้า.
ชีผะขาว, ชีผ้าขาว :
ดู ชีปะขาว๒(๑).
ชีฝรั่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eryngium foetidum L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบยาวรีขอบจัก กลิ่นฉุน ใช้แต่งกลิ่นอาหาร.
ชีวันตราย : น. อันตรายต่อชีวิต, อันตรายถึงตาย. (ป., ส.).
ชีวันตราย :
ดู ชีว, ชีวะ.
ชีวิตินทรีย์ : น. ชีวิต. (ป., ส.).
ชีวิตินทรีย์ :
ดู ชีว, ชีวะ.
ชีโว :
(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
พระรูป, พระรูปชี : น. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
ราชิ, ราชี : น. ทาง, สาย, แถว, เช่น รุกขราชี. (ป., ส.).
ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ : (สํา) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
ชิสา, ชีสา : สัน. แม้ว่า เช่น ชิสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
ชีรณ, ชีรณะ : [ชีระนะ] ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
ถึงชีวิตันตราย : ก. ประสบอันตรายถึงตาย.
ประชาชี : (ปาก) น. ประชาชน.
ยาวชีวิก :
[ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจํากัดกาล, ตาม วินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).
ชีปะขาว ๒ : น. (๑) ชื่อแมลงที่เป็นผีเสื้อของหนอนกอข้าว อันได้แก่ชนิด Scirpophaga incertulas, Chilo suppressalis, Chilotraea polychrysa ในวงศ์ Pyralidae เป็นผีเสื้อกลางคืน เมื่อเกาะ จะหุบปีกเป็นรูปหลังคาหุ้มตัวยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร ปีกและลําตัวสีเหลืองอ่อนคล้ายสีฟางข้าว มีเกล็ดละเอียด เหมือนฝุ่นปกคลุมตัว ที่หัวมีส่วนของปากยื่นยาวออกไป เป็นกลีบ ตาโตเห็นได้ชัด มักมาเล่นไฟ เกาะฝาเป็นกลุ่ม ตัวหนอนเป็นหนอนกอทําลายข้าว, ชีผ้าขาว ชีผะขาว หรือ สับปะขาว ก็เรียก. (ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑). (๒) ชื่อ แมลงในอันดับ Ephemeroptera มีลําตัวอ่อนมาก หนวดสั้น มองแทบไม่เห็น ปีกบางรูปสามเหลี่ยมมีเส้นปีกมากมาย เมื่อเกาะจะตั้งปีกตรงบนสันหลัง ที่ปลายท้องมีหางยาว คล้ายเส้นด้าย ๒-๓ เส้น ลําตัวและปีกสีขาว เช่น ชนิด Ephemera spp.ในวงศ์ Ephemeridae, ชี ก็เรียก.
หนอกช้าง : [หฺนอก-] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ผักชีล้อม. (ดู ชีล้อม ที่ ชี๒).
อ้น ๒, อ้นอ้อ :
ดู ชีล้อม ที่ ชี๒.