Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชีพ , then ชิพ, ชีพ, ชีว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชีพ, 61 found, display 1-50
  1. ชีพ, ชีพ : [ชีบ, ชีบพะ] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความ เป็นอยู่, ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).
  2. ค่าครองชีพ : น. ค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพ.
  3. ชายาชีพ : (โบ) น. นักเต้นรํา. (ส.).
  4. ชายานุชีพ : (โบ) น. ผัวประจําของหญิงงามเมือง. (ส. ชายานุชีวินฺ).
  5. มฤจฉาชีพ : น. มิจฉาชีพ, การเลี้ยงชีวิตผิดทาง.
  6. เลี้ยงชีพ : ก. เลี้ยงตัว, ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงอาตมา ก็ว่า.
  7. สรวมชีพ : ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํา กราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ.
  8. สละชีพเพื่อชาติ : ก. ยอมเสียชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติ.
  9. ชีพิต : ดู ชีพ, ชีพ.
  10. ชีพิตักษัย : ดู ชีพ, ชีพ.
  11. ชีว, ชีวะ : [ชีวะ] น. ชีพ, ความเป็นอยู่; พระพฤหัสบดี เช่น ชีววาร. (ป., ส.).
  12. กรรมาชีพ : [กํา-] น. คําเรียกชนชั้นกรรมกรหรือลูกจ้างผู้หาเลี้ยงชีพด้วย ค่าจ้างแรงงานว่า ชนกรรมาชีพ. (อ. proletariat).
  13. กินแรง : ก. เอาเปรียบผู้อื่นในการทํางานหรือในการเลี้ยงชีพ; หนักแรง, ต้องใช้แรงมาก.
  14. ขอทาน : ก. ขอเงินหรือสิ่งของเลี้ยงชีวิต, หากินทางขอสิ่งที่ผู้อื่นให้. น. เรียกบุคคลที่หาเลี้ยงชีพอย่างนั้นว่า ขอทาน.
  15. ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
  16. ครีครอ : [คฺรีคฺรอ] (โบ; กลอน) ว. รีรอ เช่น จักเลี้ยงชีพเคร่าครีครอ อยู่เท่าเพียงพอ ชีพิตก็ยากยังฉงน. (สมุทรโฆษ)
  17. เงินรายปี : น. จํานวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปี ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัย สัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงิน ให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จํานวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity).
  18. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  19. ดรรชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จํานวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจํานวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกําลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนี ของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number). ดรรชนีหักเห (แสง) น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่ง ต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้. (อ. refractive index).
  20. ดัชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐานเพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดัชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดัชนีค่า ครองชีพ; ดรรชนี ก็ใช้. (อ. index number).
  21. นครโสเภณี, หญิงนครโสเภณี : [นะคอน, หฺยิงนะคอน] น. หญิงที่หา เลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี หญิงงามเมือง หรือ หญิงหากิน ก็ว่า, (แบบ) นครโสภิณี, หญิงนครโสภิณี.
  22. เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  23. ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
  24. ประมง : น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
  25. ประโมง : น. การจับสัตว์นํ้า; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า; โดยทั่วไปใช้ ประมง.
  26. พลี ๒ : [พฺลี] ก. เสียสละ เช่น พลีชีพเพื่อชาติ, บวงสรวงเชิญเอามา (ใช้แก่ ยาสมุนไพร) เช่นไปพลียาที่ต้นเทียน คือ ไปบวงสรวงเก็บต้นเทียน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นเทียนมาทำยารักษาโรค.
  27. ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทาง เศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้.
  28. มิจฉาอาชีวะ : น. การเลี้ยงชีพในทางผิด.
  29. ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
  30. ยิปซี : น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้า ไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ ดํารงชีพด้วยการ เล่นดนตรี ค้าม้า ทํานายโชคชะตา เป็นต้น. (อ. gypsy, gipsy).
  31. เลี้ยง : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า, ประคับประคอง ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ, กินร่วมกัน เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์(ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
  32. เลี้ยงตัว : ก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยง อาตมา ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอ เลี้ยงตัวได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการ พลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
  33. เลี้ยงอาตมา : ก. เลี้ยงตัว, เลี้ยงชีพ ก็ว่า.
  34. เลียว ๑ : (กลอน) ว. แล้ว เช่น ชิสาท่านกุํลยว ลาญชีพ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
  35. โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
  36. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  37. หญิงงามเมือง : น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิง โสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือหญิงหากิน ก็ว่า.
  38. หญิงหากิน : น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือ หญิงงามเมือง ก็ว่า.
  39. หมอตำแย : น. หญิงที่มีอาชีพทําคลอดตามแผนโบราณ.
  40. หากิน : ก. ทํางานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบ อาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่น ให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่า หญิงหากิน.
  41. หากินด้วยลำแข้ง : (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความมานะพยายามของตัวเอง.
  42. หากินตามชายเฟือย : (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพอย่างไม่เป็นล่ำเป็นสันได้ไหน เอานั่นไปเรื่อย ๆ.
  43. หาเงิน : (โบ) น. เรียกหญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณีว่า หญิงหาเงิน. (โบ) ก. ไปขายตัวเป็นทาส.
  44. หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
  45. อาชีพ, อาชีว, อาชีวะ : น. การเลี้ยงชีวิต, การทํามาหากิน; งานที่ทําเป็นประจําเพื่อเลี้ยงชีพ. (ป., ส.).
  46. ชีววาร : น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
  47. เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
  48. คุรุวาร : น. วันครู คือ วันพฤหัสบดี, ชีววาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
  49. ชีวงคต : ดู ชีว, ชีวะ.
  50. ชีวัน : ดู ชีว, ชีวะ.
  51. [1-50] | 51-61

(0.0589 sec)