ชี้แจง : ก. พูดขยายความให้เข้าใจชัดเจน.
ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
ดำแลง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
วิสัชนา : [วิสัดชะนา] ก. ตอบ, ชี้แจง, เช่น ขอวิสัชนาดังนี้. (ป. วิสชฺชนา).
อุปเทศ : [อุปะเทด, อุบปะเทด] น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนํา; คําสั่งสอน, คําชี้แจง, คําแนะนํา. ก. สอน, ชี้แจง, แนะนํา. (ส., ป. อุปเทส).
แจง ๒ : ก. กระจายออกเป็นส่วน ๆ เช่น แจงเบี้ย แจงถั่ว, พูดหรือเขียนขยายความ ออกไปในคำว่า ชี้แจง. น. เรียกเทศน์สังคายนาว่า เทศน์แจง.
อธิบาย : [อะทิบาย] ก. ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง. (ป. อธิปฺปาย).
อนุศิษฏ์ : ก. สั่งสอน, ชี้แจง. (ส.; ป. อนุสิฏฺ?).
การัณย์ : [การัน] น. กรณีย์, กิจ, เช่น ชี้แจงแถลงเรื่องการัณย์ ส่งคชสำคัญ ทั้งหมอแลควาญมาถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
ขานไข : (กลอน) ก. กล่าวชี้แจง.
คำแถลง : [-ถะแหฺลง] (กฎ) น. คําชี้แจงต่อศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำนำ : น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น.
จาระไน : ก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.
เฉลย : [ฉะเหฺลย] ก. อธิบายหรือชี้แจงข้อปัญหาต่าง ๆ ให้เข้าใจ เช่น เฉลยปัญหา เฉลยความ. (ข. เฉฺลิย ว่า ตอบ).
ถ้อยแถลง : [ถะแหฺลง] น. คําชี้แจง, คําประกาศ, คําอธิบายเป็นทางการ.
เทศก : [เท-สก] น. ผู้ชี้แจง, ผู้แสดง, ผู้แสดงธรรม. (ส.).
นัดแนะ : ก. นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
นิเทศ : (แบบ) น. คําแสดง, คําจําแนกออก. ก. ชี้แจง, แสดง, จําแนก. (ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).
แนะนัด : ก. นัดแนะ, นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
บรรยาย : [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).
ผู้รู้ : น. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ เช่น เรื่องนี้ต้องให้ผู้รู้ เป็นคนชี้แจง.
พิสูจน์ : ก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริง ในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
มรรคนายก : [มักคะนายก] น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและ ป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).
มัคนายก : น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญ ทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ป. มคฺค + นายก).
รายละเอียด : น. ส่วนย่อยต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ.
ละเอียด : ว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้า ละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือ แจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดย ละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.
วัณนา :
[วันนะ] น. คําชี้แจง, คําอธิบาย. (ป. วณฺณนา; ส. วรฺณนา). (ดู พรรณนา).
วาที : น. ผู้พูด, ผู้กล่าว, ผู้ชี้แจง, ผู้โต้แย้ง; คนเล่นดนตรี. (ป., ส.).
วิญญัตติ : [วินยัดติ] น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน. (ป.; ส. วิชฺ?ปฺติ).
ศาสก : [สาสก] น. ครู, ผู้สอน, ผู้ชี้แจง, ผู้ปกครอง. (ส.).
สนทิศ : ก. ชี้แจง, สั่ง, บอกกล่าว, ประกาศ. (ส. สํ + ทิศ).
สมเหตุสมผล : ว. มีเหตุผลสมควร, มีเหตุผลรับกัน, เช่น คำชี้แจง ของเขาสมเหตุสมผล เขาอภิปรายได้สมเหตุสมผล.
สอนสั่ง : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า.
สั่งสอน : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทํา เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็น คนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.
สันทัสนะ : [สันทัดสะนะ] น. การแสดง, การชี้แจง. (ป. สนฺทสฺสน).
หัวแข็ง ๑ : ว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยน ความคิด.
หัวอ่อน : ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.
อนุศาสน์ : น. การสอน; คําชี้แจง. (ส.; ป. อนุสาสน).
อบรม : ก. แนะนําพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนํา ชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
อภิปราย : [อะพิปฺราย] ก. พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย).
อาเทศ ๑ : [เทด] น. การแนะนํา, คําชี้แจง, คําบอกเล่า, คําสั่ง, กฎ. (ส.; ป. อาเทส).
อุเทศ : น. การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง. ว. ที่ยกขึ้นแสดง, ที่ยกขึ้น ชี้แจง; ที่อ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ. (ส. อุทฺเทศ; ป. อุทฺเทส).