ชุกชุม : ว. มีดื่นดาษ.
เยภุย, เยภุยยะ : [เยพุยยะ] ว. มาก, ชุกชุม. (ป.).
กดเหลือง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
กระจอก ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Passeridae ตัวลาย มี ๔ ชนิด ชนิดที่มีชุกชุมอาศัยตามชายคาบ้านเรือน เรียก กระจอกบ้าน (Passer montanus) อีก ๓ ชนิด คือ กระจอกตาล (P. flaveolus) กระจอกป่าท้องเหลือง (P. rutilans) และกระจอกใหญ่ (P. domesticus).
กระทุงเหว : น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบใน เขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
แก้มช้ำ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิดเหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
คางเบือน : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดชนิด Belodontichthys dinema ในวงศ์ Siluridae รูปร่างคล้ายปลาค้าว เว้นแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปากเชิดขึ้น จะงอยปากสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ลําตัวแบนข้างมาก หลังกว้าง ลําตัวโดยเฉพาะด้านหลังสีเทาอมเขียว ข้างท้องสีเงิน มีชุกชุมตามแหล่งนํ้าใหญ่ทั่วไป, เบี้ยว อ้ายเบี้ยว หรือ ขบ ก็เรียก.
ช่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus ในวงศ์ Channidae ลําตัวทรงกระบอกส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนว เส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลําตัวเป็นสีนํ้าตาลเทา หรือค่อนข้างดํา ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดําพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดํา พบชุกชุม ทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ก่อ หรือ หลิม, อีสานเรียก ค่อ.
ซ่อนทราย : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Acanthopsis choirorhynchos ในวงศ์ Cobitidae หัวแหลม ตาเล็ก มีหนวดสั้น ๔ คู่ เกล็ดเล็ก ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย สีนํ้าตาลอ่อน มีจุดดําขนาดต่าง ๆ กระจายทั่วตัว พบอาศัยในแหล่งนํ้าไหลที่พื้นท้องนํ้าเป็นทรายหรือกรวดหิน ทั่วประเทศ, กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. (๒) ชื่อปลาทะเลในสกุล Sillago วงศ์ Sillaginidae หัวหลิม ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีชุกชุมเป็นฝูง ไซ้ทรายอยู่ตามเขตนํ้าตื้นบริเวณชายฝั่ง ลําตัว สีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา หลายชนิดมีแต้มสีเข้มกว่า เรียงเป็นแถวอยู่ข้างลําตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง, เห็ดโคน ก็เรียก.
ดาบเงิน : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด Trichiurus lepturus ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด Tentoriceps cristatus, Eupleurogrammus muticus และLepturacanthus savala ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมาก คือ มีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปากล่างยื่นฟันคมแข็งแรง ตัวยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาว เกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนาม แข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้องหรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก.
ท้องขาว ๒ : น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสี นํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือ ดําพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ย กับความยาวของส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
เทโพ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius larnaudii ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดําเด่นอยู่เหนือต้นครีบอก และพื้นลําตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขต ภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขงขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร.
นางเกล็ด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
บึ่ง ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่ หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือด คนและสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล และในป่าทึบ ที่สําคัญได้แก่ สกุล Phlebotomus วงศ์ Psychodidae, สกุล Simulium วงศ์ Simuliidae, สกุล Lepto conops และ Culicoides วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
มังกง : น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลําตัวและ ครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดํามีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ ในนํ้ากร่อยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก.
ลัง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger kanagurta ในวงศ์ Scombridae รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายปลาทู แต่ขนาดใหญ่และลําตัวแคบ กว่าเล็กน้อย ข้างตัวมีลายเส้นสีหม่นพาดตามยาว ๒๓ ทาง มีชุกชุม ในบริเวณห่างฝั่งมากกว่า, ทู หรือ ทูโม่ง ก็เรียก.