ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
ชุบชีวิต : ก. ทําให้เป็นขึ้น เช่น ชุบชีวิตคนตายให้เป็น, ทํา ให้มีชีวิตขึ้น เช่น ชุบชีวิตรูปหุ่น; อุปถัมภ์บํารุงให้มีความ เป็นอยู่ดีขึ้น.
ชุบมือเปิบ : (สํา) ก. ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ ลงทุนลงแรง.
ชุบย้อม : ก. บํารุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น.
ชุบเลี้ยง : ก. บํารุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น.
ลูกชุบ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวกวน ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ เช่น พริก มังคุด มะยม แล้วระบายสี และเคลือบด้วยวุ้นให้เป็นมัน.
กระตร้อ : (โบ) น. เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อพันผ้าชุบน้ำ มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา เช่น ให้ตรวจเอาพร้าขอกระตร้อน้ำ จงทุกที่พนักงานให้สรัพไว้. (สามดวง), ตะกร้อ ก็เรียก.
กล้วยแขก : น. กล้วยน้ำว้าชุบแป้งทอด.
กอและ ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เรียกอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก ว่า ไก่กอและ.
กุมภนิยา : น. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์.
เกลือเงิน : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ อุตสาหกรรมชุบโลหะให้เป็นเงิน.
ไก่กอและ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก.
ข้าวเม่าทอด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเม่าตำคลุกกับมะพร้าว และน้ำตาลปึกหุ้มกล้วยไข่สุก แล้วชุบแป้งทอดเป็นแพ ๆ.
โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
จุนสี : [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อ เป็นผลึก มีสูตร CuSO45H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไป เข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
จุ้ม : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งชุบหรือจุ่มลงไปในของเหลว เช่น เอาปากกาจุ้มหมึก.
ชะมด ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากันปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้ว ทอดน้ำมัน.
ซัด ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Trigonella foenumgraecum L. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดใช้ทํายาได้ และใช้ต้มชุบผ้าให้มีกลิ่นหอม เรียกว่า ลูกซัด.
ไดนาไมต์ : น. ดินระเบิดอย่างร้ายแรงประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยดินฟูชนิดหนึ่งซึ่ง เรียกว่าดินเบา ชุบสารไนโทรกลีเซอรีนซึ่งเป็นวัตถุระเบิดแล้วอัดให้เป็น ชิ้นเล็ก ๆ. (อ. dynamite).
ทองชุบ : น. โลหะชุบทอง, ทองวิทยาศาสตร์ ก็เรียก.
ทองวิทยาศาสตร์ : น. โลหะชุบทอง, ทองชุบ ก็เรียก.
แท็งก์น้ำ : น. ถังนํ้าขนาดใหญ่ มักทําด้วยเหล็กชุบสังกะสี.
น้ำชุบ : น. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคํา สําหรับ ชุบของต่าง ๆ มีทองเหลืองเป็นต้นให้เป็นสีเงินหรือสีทอง, นํ้าที่เอา เหล็กเผาไฟให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า; (ถิ่นปักษ์ใต้) นํ้าพริก. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (สํา) อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจ, เป็นคําพูดเชิง เตือนสติ.
นิกเกิล : น. ธาตุลําดับที่ ๒๘ สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๕๓?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ อื่นให้เป็นโลหะเจือ ชุบฉาบผิวโลหะอื่นเป็นต้น. (อ. nickel).
ปั้น ๑ : ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
แป้งสด : น. นํ้าอบกับแป้งรํ่านํ้าดอกไม้เทศใช้ชุบผ้าห่อใบตอง สําหรับแจก; แป้งที่ทําขึ้นใช้ได้ทันที ไม่ต้องหมักหรือตากแห้ง เช่น ขนมจีนแป้งสด ขนมบัวลอยแป้งสด, ตรงข้ามกับ แป้งหมัก.
พรมน้ำมัน : น. เครื่องลาดชนิดหนึ่ง ทําด้วยผงไม้ก๊อกผสมนํ้ามัน ลินสีด สี และสารเคมีที่ทําให้นํ้ามันลินสีดแห้งแข็งตัวเร็ว แล้วอัดให้ เป็นแผ่น ใช้แผ่นสักหลาดเนื้อหยาบชุบแอสฟัลต์อัดทับด้านหนึ่งแล้ว จึงอบให้ร้อนจนแข็งตัวแห้งสนิททั้งแผ่น จึงนํามาตกแต่งอีกด้านหนึ่ง ให้มีผิวเรียบเป็นมัน, เสื่อนํ้ามัน ก็เรียก.
เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
ไม้ขีดไฟ : น. เครื่องขีดไฟชนิดหนึ่งซึ่งใช้ก้านไม้หรือก้านกระดาษชุบปลาย ข้างหนึ่งด้วยสารเคมีบางอย่างให้เป็นตุ่ม เรียกว่า หัวไม้ขีด มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใช้ขีดกับผิวที่ฉาบด้วยสารเคมีซึ่งมีฟอสฟอรัสแดงเป็นองค์ประกอบสําคัญทํา ให้เกิดไฟขึ้น อีกชนิดหนึ่งใช้ขีดกับผิวขรุขระทําให้เกิดไฟขึ้น.
ย้อม : ก. ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี, ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วย การชุบลงไปในน้ำสี.
ย้อมใจ : ก. ชุบใจ, ทําให้ใจชุ่มชื่น, ปลุกใจให้กล้า เช่น กินเหล้าย้อมใจ.
ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
ลงแป้ง : ก. เอาผ้าชุบลงในนํ้าผสมแป้งมันที่กวนสุกแล้ว เพื่อให้ผ้า แข็งอยู่ตัว.
ลูกซัด ๑ : น. เมล็ดของต้นซัด (Trigonella foenumgraecum L.) ใช้ทำยาได้ โบราณนิยมใช้ต้มชุบผ้าให้มีกลิ่นหอม.
สังกะสี : น. ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว แกมนํ้าเงินหลอมละลายที่ ๔๑๙ ? ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. (อ. zinc); เหล็กชุบสังกะสีบาง ๆ เป็นแผ่นเรียบหรือเป็นลอนอย่างลูกฟูก ใช้มุง หลังคาเป็นต้น เช่น หลังคาสังกะสี รั้วสังกะสี.
อินเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒?ซ. ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง เช่นทําอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่น ให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบ ด้วยเงินแล้ว. (อ. indium).
โอบอุ้ม : ก. อุ้มชู, อุดหนุน, ชุบเลี้ยง.