ช่วย : ก. ส่งเสริมเพื่อให้สําเร็จประโยชน์; ป้องกัน เช่น ช่วยไม่ได้. ช่วยเหลือ ก. ช่วยกิจการของเขาเพื่อให้พร้อมมูลขึ้น.
ชีวิต : น. ความเป็นอยู่, ตรงข้ามกับ ความตาย. (ป., ส.).
ชีวิตชีวา :
ดู ชีว, ชีวะ.
ชีวิตชีวา : ว. สดชื่นคึกคัก.
ค่ายเยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการ ดํารงชีวิตเป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
ชีพิต : น. ความเป็นอยู่. (ป., ส. ชีวิต).
ไถ่บาป : ก. ช่วยให้พ้นบาป (ใช้แก่พระเยซูที่อุทิศชีวิตช่วยมนุษย์ให้พ้น บาปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า โดยยอมถูกตรึงไม้กางเขน); (ปาก) ชดใช้ในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้.
ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
ชุบชีวิต : ก. ทําให้เป็นขึ้น เช่น ชุบชีวิตคนตายให้เป็น, ทํา ให้มีชีวิตขึ้น เช่น ชุบชีวิตรูปหุ่น; อุปถัมภ์บํารุงให้มีความ เป็นอยู่ดีขึ้น.
ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
ประหารชีวิต : ก. ลงโทษฆ่า. (กฎ) น. โทษทางอาญาขั้นสูงสุด ที่ลงแก่ผู้กระทําความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตาม ประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิต ไปยิงเสียให้ตาย.
ปราณ : [ปฺราน] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต, ใจ. (ส. ปฺราณ; ป. ปาณ).
รอดชีวิต : ก. เอาชีวิตรอด, ไม่เสียชีวิต, เช่น ไปรบคราวนี้รอดชีวิตมาได้.
วงจรชีวิต : น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มี พัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่ กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ.
วิถีชีวิต : น. ทางดำเนินชีวิต เช่น วิถีชีวิตชาวบ้าน.
ไว้ชีวิต : ก. ให้มีชีวิตอยู่ต่อไป, ปล่อยให้รอดชีวิต, เช่น ราชสีห์ไว้ชีวิตหนู.
สัญญาประกันชีวิต : (กฎ) ดู ประกันชีวิต.
อัม, อัม : [อำ, อำมะ] น. ไข้เจ็บ, โรค; ชีวิต; ภัย, ความกลัว. (ส. อมฺ).
เอาใจช่วย : ก. อยากให้สมปรารถนา, ช่วยเป็นกําลังใจให้.
คู่ชีวิต : น. ผู้ร่วมเป็นร่วมตาย, ผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข, สามีหรือภรรยา.
เจ้าชีวิต : น. พระเจ้าแผ่นดิน.
ชวย : ก. พัดอ่อน ๆ, พัดเรื่อย ๆ, (ใช้แก่ลม).
ปลงชีวิต : ก. ฆ่า.
มีชีวิตชีวา : ว. มีความสดชื่นคึกคัก.
ร่วมชีวิต : ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย.
วายชนม์, วายชีวิต, วายปราณ, วายวาง, วายสังขาร : ก. ตาย.
เอาชีวิต : ก. ฆ่า, ทําให้ถึงตาย.
เลือดเนื้อ : น. ลูกในไส้, ลูกของตนแท้ ๆ; ชีวิต เช่น ปฏิวัติโดยไม่เสีย เลือดเนื้อ.
ฉลอง ๓ : [ฉะหฺลอง] ก. จำลอง, รอง, แทน, ช่วย.
ช่อย : (โบ) ก. ช่วย. (จารึกสยาม).
ชีพ, ชีพ : [ชีบ, ชีบพะ] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความ เป็นอยู่, ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).
ชีวา, ชีวี : (กลอน) น. ชีวิต. (ส. ชีวี ว่า สัตว์มีชีวิต).
ชีวาลัย : (กลอน) น. ชีวิต เช่น ก็สิ้นชีวาลัยไปเมืองฟ้า. (รามเกียรติ์ ร. ๑). ก. ตาย เช่น เพียงศรีอนุชาชีวาลัย.
ชีวิตินทรีย์ : น. ชีวิต. (ป., ส.).
ปาณ-, ปาณะ : [-นะ] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต. (ป.; ส. ปฺราณ).
ผะดา : ก. คํ้าชู, จุน, ช่วย.
วิถี : น. สาย, แนว, ถนน, ทาง, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิถีทาง วิถี ชีวิต บาทวิถี. (ป., ส. วีถิ).
อสุ : [อะ] น. ลมหายใจ, ชีวิต. (ป., ส.).
กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
กรมการในทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
กระแฉ่น : (โบ) ก. ดังสนั่น เช่น ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู. (แช่งน้ำ).
กระตุ้น : ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้า กระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
กระแตเวียน : น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบน สอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะเดิน. (รูปภาพ กระแตเวียน)