ช่อง : น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม; โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทําได้.
จมูก : [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย. โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อ ร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
ทวารทั้งเก้า : น. ช่องตามร่างกายทั้ง ๙ ช่อง ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.
นวทวาร : น. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
ริดสีดวง : น. ชื่อโรคพวกหนึ่งมีหลายชนิด เกิดในช่องตา จมูก ทวารหนัก เป็นต้น.
ขื่อจมูก : น. แกนกลางระหว่างช่องจมูก.
ช่องตีนกา : น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาท ใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
ช่องว่าง : น. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่ทำให้เข้ากันยาก เช่น ช่องว่างระหว่างชนชั้น ช่องว่างระหว่างวัย.
จมูกข้าว : น. ส่วนปลายของเมล็ดข้าวที่ติดกับก้านดอก เป็นส่วนที่ต้นอ่อนงอก.
จมูกปลาหลด, จมูกปลาไหล : ดู กระพังโหม.
จมูกวัว : น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า.
จมูกหลอด :
ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า.
ช่องกุด : น. ประตูแบบมียอดที่เจาะกําแพงเมืองหรือกําแพงวัง ชั้นนอกเป็นทางเข้าออก.
ช่องดาล : น. รูสําหรับสอดลูกดาลเข้าไปเขี่ยดาลที่ขัด บานประตู.
คอหอย : น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปาก ลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. (อ. pharynx).
ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
โพรง : [โพฺรง] น. ช่องที่กลวงเข้าไป เช่น โพรงไม้ โพรงจมูก.
เลือดกำเดา : น. เลือดที่ออกทางช่องจมูก.
สนตะพาย : ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทําตามด้วยความจําใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
นาลี : (แบบ) น. หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป. นาฬี, นาลี).
นาฬี : (แบบ) น. นาลี, หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป.).
ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
ป่อง ๔ : (ถิ่น-อีสาน) น. ปล่อง, ช่อง, ล่อง.
มรคา : [มอระคา] น. ทาง, ช่อง, ถนน. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
ลู่ ๑ : น. ทาง, แนว, ช่อง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทาง เป็น ลู่ทาง, ในทางกีฬา หมายถึงทางวิ่งเป็นแนวเป็นช่อง เช่น วิ่งในลู่ที่ ๑, คู่กับ ลาน.
อานน : น. ปาก, หน้า; ช่อง, ประตู. (ป., ส.).
โครงจมูก : น. กระดูกจมูก.
จุกช่องล้อมวง : (โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาส หรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทางเช่นตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือจัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).
จูงจมูก : ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดย ปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ ความคิดของตน.
เจาะจมูก : ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูก ห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลํากับ ท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ.
บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, ยืมจมูก คนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
ยืมจมูกคนอื่นหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือน ทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, พึ่งจมูก คนอื่นหายใจ หรือ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ ก็ว่า.
ชอง : น. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญเขมร มีมาก ทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สําเร หรือ ตําเหรด, เขมรเรียกว่า พวกปอร.
ชี้ช่อง : ก. แนะลู่ทางให้.
ได้ช่อง, ได้ท่า : ก. ได้โอกาส.
ยื่นจมูก : (สํา) ก. เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก.
ลอดช่อง : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนพอสุก กดลง ในกะโหลกที่มีรูให้ไหลออกเป็นตัว ๆ หัวท้ายแหลม กินกับน้ำกะทิ.
ลากหนามจุกช่อง : (สํา) ก. ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างป้องกันตัว, ขัดขวาง ไม่ให้คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย.
ลูบหน้าปะจมูก : (สำ) ก. ทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะ เกรงจะไปกระทบกระเทือนพวกพ้องเป็นต้น.
โล่งจมูก : ก. รู้สึกว่าหายใจสะดวก.
เหยียบจมูก : ก. บังอาจลบเหลี่ยม.
ทวาร, ทวาร- : [ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).
ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
เข้ามุม : ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็น เดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท.
บุหรี่พระราม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Neoalsomitra sarcophylla Hutch. ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ดอกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ กลีบดอก ติดกันเป็นรูปปากแตรบาน ๆ ผลเรียวยาวคล้ายกระบองกลม หรือเป็นสามเหลี่ยม เวลาแก่ผลจะแตกที่ปลายเป็น ๓ ช่อง เมล็ด สีดํา แบน มีปีกบาง ๆ ที่ปลาย.
รู : น. ช่อง เช่น รูเข็ม ผ้าขาดเป็นรู, ช่องที่ลึกเข้าไปในสิ่งต่าง ๆ เช่น รูหู รูจมูก รูปู รูงู.
จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
จรมูก : [จะระหฺมูก] (กลอน) น. จมูก. (ข. จฺรมุะ).