ทาสี : น. ทาสผู้หญิง. (ป., ส.).
ช่าง ๑ : น. ผู้ชํานาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไป ในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่าง เก่งจริง ๆ.
ช่าง ๒ : ว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.
ช่างฟิต : (ปาก) น. ช่างแก้เครื่องยนต์.
ช่างกระไร : คํากล่าวเนื่องจากติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง.
ช่างเครื่อง : น. ผู้ควบคุมเครื่อง.
ช่างทอง : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
ช่างปะไร : (ปาก) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว, ไม่เอาธุระ.
กระช่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง. (ม. คําหลวง กุมาร), กระซ่าง ก็ว่า.
กลางทาสี : (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า เมียกลางทาสี. (สามดวง).
ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
ช้อยช่างรำ, ช้อยนางรำ : ดู กระช้อยนางรํา.
ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ : (สํา) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง : (สำ) ก. ไม่เอามาใส่ใจว่าจะเป็นอย่างไร.
บ่างช่างยุ : (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
ลงพื้น : ก. เอาวัตถุเช่นดินสอพองหรือรักสมุกทาลงบนพื้นเพื่อให้ ผิวเรียบก่อนที่จะทาน้ำมัน ทาสี หรือ เขียนลวดลาย.
กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
กรรมาร : [กํามาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).
กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
กระช้อยนางรำ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codariocalyx motorius Ohashi ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรํา ช้อยช่างรํา หรือ นางรํา ก็เรียก.
กระซ่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน. (ม. คําหลวง สักบรรพ), กระช่าง ก็ว่า.
กระดานดำ : น. กระดานใหญ่ มักทาสีดำ ใช้เป็นอุปกรณ์ การสอนการเรียน.
กระเวน ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. (ลอ).
กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
กะบ่อนกะแบ่น : ว. กระท่อนกระแท่น, ไม่เสมอทั่วกัน, ไม่เรียบเสมอกัน, เช่น ตัดผมกะบ่อนกะแบ่น ทาสีกะบ่อนกะแบ่น.
กันทร : [-ทอน] (แบบ) น. ถ้า, ซอกเขา (ที่เป็นเองหรือช่างทําขึ้น). (ป., ส.).
กัมมาร : [กํามาน] (แบบ) น. กรรมาร, ช่างทอง, ช่างเหล็ก. (ป.; ส. กรฺมาร).
กัลบก : [กันละ-] (แบบ) น. ช่างตัดผม, ช่างโกนผม. (ส.; ป. กปฺปก).
กุมภการ : น. ช่างหม้อ. (ป.).
แขนะ : [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
คิ้ว : น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอก เป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทําเป็นลวดใน ใบพายว่า พายคิ้ว.
โคนสมอ ๒ : [-สะหฺมอ] น. ชื่อพระพิมพ์สกุลช่างหนึ่ง.
โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
จ้น : ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. (นิ. ลอนดอน).
จรรมการ : น. ช่างหนัง. (ส.; ป. จมฺมการ).
จ้าน : ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
จิตรกร : น. ช่างวาดเขียน, ช่างวาดภาพ. (ป., ส.).
จุนทการ : [จุนทะกาน] (แบบ) น. ช่างกลึง. (ป.; ส. กุนฺทกร).
ฉิน ๓ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคํา โฉม เป็น ฉินโฉม หรือโฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
ช่างไฟ : น. ผู้ควบคุมไฟในรถไฟเรือไฟเป็นต้น, ช่างแก้ไฟฟ้า.
ต้นกล : น. หัวหน้าช่างกลในเรือเดินทะเล เรือรบ เป็นต้น.
ตอแหล ๑ : [-แหฺล] เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
ทวน ๑ : น. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อ ขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทําด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสําหรับ ยึดรูปพรรณอีกข้างหนึ่งสําหรับยึดกับฐานที่ทําไว้โดยเฉพาะเพื่อ นั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่ง ติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำ ไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลาย คันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสําหรับรองตะคัน อบนํ้าหอม.
ทั่ง : น. แท่งเหล็กสําหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิด เช่นเหล็ก ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.
ทำเนา : ว. ช่างเถิด, ตามมี.
นฬ, นฬะ : [นะละ] น. ไม้อ้อ, ไม้รวก, ไม้ไผ่. (ป.). นฬการ น. ช่างจักสาน. (ป.).