พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
ช่าง ๑ : น. ผู้ชํานาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไป ในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่าง เก่งจริง ๆ.
ช่าง ๒ : ว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.
ช่างฟิต : (ปาก) น. ช่างแก้เครื่องยนต์.
พิมพ์สอดสี : ก. พิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป.
ช่างกระไร : คํากล่าวเนื่องจากติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง.
ช่างเครื่อง : น. ผู้ควบคุมเครื่อง.
ช่างทอง : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
ช่างปะไร : (ปาก) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว, ไม่เอาธุระ.
พิมพ์ใจ : ก. ประทับใจ, ติดตรึงใจ.
พิมพ์ดีด : น. เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง ใช้ปลายนิ้วเคาะแป้นอักษรให้ ตัวอักษรไปกดผ้าหมึกให้กระทบกระดาษปรากฏเป็นตัวอักษร.
พิมพ์ทอง : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวยักษ์ หรือ ดาวสตภิสชะ ก็เรียก.
พิมพ์ลายนิ้วมือ : ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็น หลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
พิมพ์ลายมือ : ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ ติดอยู่เป็นหลักฐาน.
พิมพ์สัมผัส : ก. ใช้ปลายนิ้วมือทั้ง ๑๐ เคาะแป้นอักษรโดยไม่ต้อง มองแป้น.
พิมพ์หนังสือ : ก. ใช้เครื่องพิมพ์กดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ ติดบนกระดาษหรือผ้าเป็นต้น.
โคนสมอ ๒ : [-สะหฺมอ] น. ชื่อพระพิมพ์สกุลช่างหนึ่ง.
กระช่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง. (ม. คําหลวง กุมาร), กระซ่าง ก็ว่า.
ดีดพิมพ์ : ก. พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด.
แบบพิมพ์ : น. กระดาษพิมพ์ที่เป็นแบบสําหรับกรอกข้อความ หรือ ทําเครื่องหมายตามที่กําหนดหรือที่ต้องการ เช่น แบบพิมพ์คําร้อง.
ประพิมพ์ประพาย : น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่ คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
ผู้พิมพ์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์.
พระพิมพ์ : น. พระเครื่องที่สร้างขึ้นตามแบบแม่พิมพ์.
มุททา : [มุด-] น. ตรา, พิมพ์, เครื่องสําหรับตีตรา, เครื่องหมาย; แหวน, แหวนตรา. (ป. มุทฺทา; ส. มุทฺรา, มุทฺริกา).
แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
เรียงพิมพ์ : ก. เอาตัวพิมพ์มาเรียงตามต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์.
โรงพิมพ์ : น. สถานที่พิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ.
ลัญฉน์, ลัญฉะ : [ลัน, ลันฉะ] น. รอย, เครื่องหมาย, พิมพ์, ตรา (ที่ตีหรือประทับแล้ว). (ป.).
ช้อยช่างรำ, ช้อยนางรำ : ดู กระช้อยนางรํา.
ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ : (สํา) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง : (สำ) ก. ไม่เอามาใส่ใจว่าจะเป็นอย่างไร.
แท่นพิมพ์ : น. เครื่องพิมพ์หนังสือหรือเอกสาร มีลักษณะเป็นแท่น มีหลายชนิด เช่น แท่นกริ๊ก แท่นนอน.
บ่างช่างยุ : (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
พิมพาภรณ์ :
ดู พิมพ, พิมพ์.
ตราสิน : ก. แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน, จดทะเบียน, เช่น ตราสินหนังสือ พิมพ์ ตราสินชื่อย่อโทรเลข.
สอดสี : ว. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์ สอดสี.
กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
กรรมาร : [กํามาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).
กระช้อยนางรำ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codariocalyx motorius Ohashi ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรํา ช้อยช่างรํา หรือ นางรํา ก็เรียก.
กระซ่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน. (ม. คําหลวง สักบรรพ), กระช่าง ก็ว่า.
กระดาษ : น. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทําจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ.
กระดาษไข : น. กระดาษอาบไขที่ใช้ในการทําแบบ ลวดลาย หรือพิมพ์อัดสําเนาแม่พิมพ์ในการพิมพ์โดยเครื่องอัดสําเนา.
กระโดด : ก. ใช้กําลังเท้าถีบพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้น, โดด ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด.
กระเวน ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. (ลอ).
กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
กันทร : [-ทอน] (แบบ) น. ถ้า, ซอกเขา (ที่เป็นเองหรือช่างทําขึ้น). (ป., ส.).
กัมมาร : [กํามาน] (แบบ) น. กรรมาร, ช่างทอง, ช่างเหล็ก. (ป.; ส. กรฺมาร).
กัลบก : [กันละ-] (แบบ) น. ช่างตัดผม, ช่างโกนผม. (ส.; ป. กปฺปก).