ซะซอเซีย : (กลอน) ว. เสียงนกร้องจอแจ.
ซะซิกซะแซ : (กลอน) ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น.
ซะเซียบ : (กลอน) ว. เงียบเชียบ.
ซ : พยัญชนะตัวที่ ๑๑ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กอซ.
คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
ซง้า : [ซะ] น. ปีมะเมีย. (ไทยเหนือ).
ฉลาง : [ฉะหฺลาง] น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลม มลายู, ชาวน้ำ หรือ ชาวเล ก็เรียก. (ม. ว่า ซะลัง); ชื่อผ้าที่มีลายชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าลาย ฉลาง เช่น พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวน. (ขุนช้างขุนแผน).
ซา ๒ : ก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น ฝนซา ไฟซา.
อ้อยช้าง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Lannea coromandelica Merr. ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามป่า ใช้ทํายาได้, กุ๊ก ก็เรียก. (๒) ดู กาซะลองคํา ที่ กาซะลอง.
ซา ๑ : น. ชื่อเรือโบราณชนิดหนึ่ง.
ซรอกซรัง : [ซฺรอกซฺรัง] (แบบ) ก. ซุกซ่อน, ซ่อนเร้น, เช่น อย่าทันเห็นแม่ออก ชีสู่ซรอกซรังไป. (ม. คําหลวง กุมาร), ซอกซัง ก็ว่า.
ซาหริ่ม, ซ่าหริ่ม : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งถั่วเขียว ลักษณะคล้ายลอดช่อง แต่ตัวเล็กและยาวกว่า กินกับนํ้ากะทิผสมนํ้าเชื่อม.
ก๊อซ : น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze).
ซ่า ๑ :
น. ส้มซ่า. (ดู ส้ม๑).
ซ่า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีจุดสีดํา บนเกล็ดข้างตัว จนเห็นเป็นลาย ๖๑๐ เส้น ที่โคนหางมีจุดสีดํา เช่น ขี้ขม (Osteochilus hasselti) สร้อยลูกกล้วย (Labiobarbus spilopleura).
ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
ซี่ : น. คําเรียกของเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นแนวอย่างฟัน หรือลูกกรง, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ฟันซี่หนึ่ง ฟัน ๒ ซี่.
ซู่ ๑ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกเป็นต้น.
ซู่ ๒, ซู่ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกมาก ๆ แต่ตกไม่นาน.
ซู่ ๓ : (กลอน) ก. ลากไป, คร่าไป.
แซ่ ๑ : ว. มีเสียงอื้ออึงจนฟังไม่ได้ศัพท์, โจษกันแพร่หลาย.
แซ่ ๒ : น. ชื่อสกุลวงศ์ของจีน. (จ.).
โซ่ ๑ : น. กะเหรี่ยง.
โซ่ ๒ : น. โลหะมีเหล็กเป็นต้นที่เกี่ยวกันเป็นข้อ ๆ เป็นสายยาวสําหรับ ผูกล่ามแทนเชือก.
กด ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.
กลูโคส : [กฺลู-] (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ ? ซ. มีในผลองุ่นสุก น้ำผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวาน เป็นองค์ระกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็น โรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่าน้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก. (อ. glucose).
แกโดลิเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๔ สัญลักษณ์ Gd เป็นโลหะที่หายากมาก ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่๑๓๑๒? ซ. (อ. gadolinium).
เซนติเกรด : [เกฺรด] น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซนติเกรด, ปัจจุบันใช้ องศาเซลเซียส, อักษรย่อว่า ซ. (อ. centigrade).
เซลเซียส : น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กําหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐บซ.) และจุดเดือด ของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐บซ.), อักษรย่อว่า ซ. (อ. celsius).
ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
ฟรักโทส : [ฟฺรัก] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่ง ประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดคีโทเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๑๐๒ ? ซ. มีปรากฏในผลไม้สุกที่มีรสหวาน นํ้าผึ้ง นํ้าต้อยของ ดอกไม้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทราย, เลวูโลส ก็เรียก. (อ. fructose).
ฟอสฟอรัส : น. ธาตุลําดับที่ ๑๕ สัญลักษณ์ P เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป อัญรูปที่สําคัญ คือ ฟอสฟอรัสขาว (บางทีก็เรียกว่า ฟอสฟอรัสเหลือง) ลักษณะอ่อนคล้ายขี้ผึ้ง หลอมละลายที่ ๔๔ ? ซ. ติดไฟง่าย เมื่อกระทบอากาศจะให้แสงเรืองเป็นพิษอย่างแรง, ฟอสฟอรัสแดง ลักษณะเป็นผงสีแดงแกมม่วง เมื่อกระทบอากาศ ไม่ให้แสงเรือง ติดไฟยาก ไม่เป็นพิษเหมือนฟอสฟอรัสขาว. (อ. phosphorus).
แฟรนเซียม : [แฟฺรน] น. ธาตุลําดับที่ ๘๗ สัญลักษณ์ Fr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๗ ? ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี. (อ. francium).
มอร์ฟีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H19O3N ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๒๕๔ ? ซ. มีในฝิ่น เป็น ยาเสพติดอย่างแรง ทางแพทย์ใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์หรือเกลือ แอซีเทต หรือเกลือซัลเฟตของมอร์ฟีนเป็นยาระงับความปวด. (อ. morphine).
มอลโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย. (อ. maltose).
มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
สแกนเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๑ สัญลักษณ์ Sc เป็นโลหะที่หายาก ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๕๓๙ ? ซ. (อ. scandium).
สตรอนเชียม : [สะตฺรอน] น. ธาตุลําดับที่ ๓๘ สัญลักษณ์ Sr เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็ง เนื้ออ่อน สีเหลืองอ่อน ไวต่อปฏิกิริยาเคมี หลอมละลายที่ ๗๕๒ ? ซ. (อ. strontium).
สตริกนิน : [สะตฺริก] น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C21H22N2 O2 ลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว ละลายได้เล็กน้อยในนํ้า หลอมละลายที่ ๒๖๘ ? ๒๙๐ ? ซ. เป็นพิษอย่างแรง. (อ. strychnine).
สังกะสี : น. ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว แกมนํ้าเงินหลอมละลายที่ ๔๑๙ ? ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. (อ. zinc); เหล็กชุบสังกะสีบาง ๆ เป็นแผ่นเรียบหรือเป็นลอนอย่างลูกฟูก ใช้มุง หลังคาเป็นต้น เช่น หลังคาสังกะสี รั้วสังกะสี.
อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
อักษรต่ำ : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้น พื้น เสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
ทรงมัณฑ์ : [ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คําว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคํา มณฑป).
กองหนุน :
น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กะกร่อม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่ จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม, ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลา ให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่ หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
กะเหรี่ยง : น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปรกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตก ของประเทศไทย, โซ่ ก็เรียก, (โบ) เรียกว่า กั้ง ก็มี.
กาแล็กโทส : (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวาน น้อยกว่าน้ำตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ ?ซ-๑๖๘ ?ซ. โมเลกุล ของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุล ของแล็กโทสซึ่งมีในน้ำนม. (อ. galactose).
ขรม : [ขะหฺรม] ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง).
ความถ่วงจำเพาะ : น. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนัก ของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้า บริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔?ซ. เป็นสารมาตรฐาน. (อ. specific gravity).