ซัง : น. ตอข้าวที่เกี่ยวรวงแล้ว; สิ่งที่เป็นเส้น ๆ หุ้มยวงขนุน; ฝักข้าวโพด ที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว; ตาที่อยู่ตามมุมของกระดานดวด.
ซังกะตาย, ซังตาย : ว. ไม่เต็มใจ, ฝืนใจ, อย่างเสียไม่ได้, (มักใช้แก่กริยาทํา).
ขึ้นซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า.
นั่งซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า.
คาราคาก่า, คาราคาซัง : ว. ยังไม่เสร็จ, ยังไม่แล้ว, ค้างอยู่, ติดอยู่.
ด้ายซัง : น. ด้ายทอที่ตัดจากผ้าทิ้งอยู่ในหูก.
ข้าวโพด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zea mays L. ในวงศ์ Gramineae ลําต้นสูงคล้ายอ้อยหรือข้าวฟ่าง เมล็ดเรียงชิดกันแน่นรอบซังเป็น ฝักกลม ๆ ยาว ๆ มีกาบหุ้มหลายชั้น.
ลายไพรกลม : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ไซปากครุ เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๓ เส้นขัดตอกไขว้กันโดยมี ตอกซังเป็นเส้นยืน เว้นระยะห่างเท่า ๆ กันสานตอกข่ม ๒ เส้น ยก ๑ เส้น จะเกิดเป็นลายพันกันเป็นเกลียวไปตามเส้นตอกซังทุกเส้น.
ลายไพรคีบ : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ตุ้น ลอบยืน ลอบนอน เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๒ เส้นขัดตอก ไขว้กันโดยมีตอกซังเป็นเส้นยืนเว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน.
ลายไพรยักคิ้ว : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานไซ ข้อง กระบุง กล่องข้าว เป็นต้น ใช้ตอก ๓ เส้นเสมอไป ส่วนตอกซังจะ ใช้น้อยหรือมากหรือถี่ห่างอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นจำนวนคู่ สาน โดยขึ้นตอกสาน ๓ เส้นขัดตอกซัง เว้นตอกซังไว้ ๒ เส้น แล้วเอา ตอกสานเส้นกลางไพล่กลับข้ามตอกซัง ๓ เส้น ยกตอกซัง ๓ เส้น ต่อไปจึงไขว้ตอกสาน ๒ เส้นที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน สานไพล่ไป ไพล่มาเช่นนี้ตลอด, ลายไพรกาว ก็เรียก.
ซ่ง :
น. โซ่ง, ซงดำ หรือ ไทยดำ ก็เรียก. (ดู โซ่ง).
โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
ซึ่ง : ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขา อยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็น ผู้ถูกกระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
ซึ่งหน้า, ซึ่ง ๆ หน้า : ว. ต่อหน้า เช่น กระทําความผิดซึ่งหน้า.
เซ่ง : น. เส้ง.
ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
ทรงกระเทียม : [ซง-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eleocharis dulcis (Burm.f.) Hensch. var. dulcis ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคน ดอกเป็นกระจุก มีหัวกินได้.
ทรงบาดาล : [ซง-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Senna surattensis (Burm.f.) Irwin et Barneby ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบใกล้ยอด ใบอ่อนกินได้ เปลือกและใบใช้ทํายา.
ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
เข้าตู้ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า ``วิชาเข้าตู้'' ซึ่ง หมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน ตําราที่เก็บไว้ในตู้.
จามจุรี ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeck Benth. ในวงศ์ Leguminosae ดอก (เกสร) อ่อนมีสีเขียวและขาว เมื่อดอก (เกสร) แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแสด ฝักแบนยาวกว้าง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีรส, พฤกษ์ ซึก หรือ ซิก ก็เรียก, มักเรียกต้น ก้ามปู หรือต้นจามจุรีแดง [Samanea saman (Jacq.) F. Muell.] ซึ่ง เป็นไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี.
ซงดำ :
น. โซ่ง, ซ่ง หรือ ไทยดํา ก็เรียก. (ดู โซ่ง).
ดีด ๒, ดีดขัน ๑ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลําตัวยาว แบน เล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดํา นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิดมีจุด เป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่ง ยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทําให้สามารถดีดตัว กลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.
ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ''ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
ทรวดทรง : [ซวดซง] น. รูปร่าง, สัณฐาน, (โบ) ซวดทรง.
ไทยดำ :
น. ซงดํา, โซ่ง หรือ ซ่ง ก็เรียก. (ดู โซ่ง).
นิวคลิอิก : น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี ๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่ง เรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียก ย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทําหน้าที่เก็บรวบรวมและ ถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).
บีตา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่ง เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสี แกมมา. (อ. beta rays).
บูชนียสถาน : [บูชะนียะสะถาน] น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่ง เป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.
โบราณวัตถุ : [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่ เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะ เป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่ง โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
ผู้ : น. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน; คําใช้ ประกอบคํากริยาหรือประกอบคําวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า ตัวผู้ เช่น ม้าผู้ วัวผู้. ส. ที่, ซึ่ง, เช่น บุคคลผู้กระทำความดีย่อมได้รับความสุข.
พุทธตันตระ : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่ง เกิดขึ้นจากการนําหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลัก ปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.
พูพอน : น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่ง แผ่ขยายออกไปรอบ ๆ เพื่อพยุงลำต้น, พอน ก็เรียก.
ภาคทัณฑ์ : [พากทัน] ก. ตําหนิโทษ, คาดโทษ, ลงโทษเพียงว่ากล่าว, ลงโทษข้าราชการพลเรือนโดยตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่ง เป็นการลงโทษขั้นเบาที่สุด. (ส. วาคฺทณฺฑ = ลงโทษเพียงว่ากล่าว).
ภูตรูป : [พูตะรูบ] น. รูปที่เกิดแล้ว ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ซึ่ง คุมกันเข้าเป็นมนุษย์และสัตว์. (ป., ส.).
มอลโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย. (อ. maltose).
ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
ลา ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus asinus ในวงศ์ Equidae ซึ่ง เป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหาง เป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
ลามปาม : ว. ต่อเนื่องไปถึงสิ่งอื่นหรือคนอื่นด้วย เช่น ด่าลามปาม ไปถึงบุพการี, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น ซึ่ง แสดงว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เช่น พูดจาลามปาม แสดงกิริยาลามปาม ผู้ใหญ่.
วันฉัตรมงคล : น.วันที่ประกอบพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่ง ตรงกับวันบรม ราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. วันเฉลิมพระชนมพรรษา น. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช.
วันสงกรานต์ : น. วันเทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่ง กำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน.
วันสหประชาชาติ : น. วันสถาปนาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่ง เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม.
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ : ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิต ออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคล ผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือน เจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
สลาก ๑ : [สะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่ง ทําเป็นเครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทาย เป็นต้น เช่น สลากภัต; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า สลากยา, ฉลาก ก็ว่า. (ป.; ส. ศลาก).
อิเล็กทรอนิกส์ : [ทฺรอ] น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งที่นํามาประยุกต์ใช้ กับการศึกษาวงจรไฟฟ้าที่ใช้สารกึ่งตัวนําและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่ง ควบคุมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้. (อ. electronics).