พเนจร : น. ผู้เที่ยวป่า, พรานป่า; โดยปริยายหมายความว่า ร่อนเร่ไป, เที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย. (ป., ส. วเนจร).
ซัดเซ : ก. เที่ยวไปไม่เป็นตําแหน่งแห่งที่.
เนรนาถ : [เนระนาด] ก. ไม่มีที่พึ่ง, ซัดเซพเนจร, เช่น ก็เนรนาถประพาสพรต ยังเขาสิงขรบวรวงกต. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
วเนจร : [วะเนจอน] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
พนจร, พนจรก : [พะนะจอน, พะนะจะรก] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ป., ส. วนจร, วนจรก).
กระเซอะกระเซิง : ว. อาการที่ซัดเซไปโดยไม่มีที่มุ่งหมายว่าจะไปแห่งไร.
คเนจร : [คะเนจอน] ก. เที่ยวซัดเซไป. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปใน ท่าเดิน. (ลัทธิ). (ส. คคเนจร ว่า ผู้ไปในท้องฟ้า).
นิยต, นิยต : [ยด, ยะตะ] (แบบ) ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.); (การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. (อ. positive).
ระเสิดระสัง : ว. ซัดเซไป, โซเซไป, หนีซุกซ่อนไป.
ระเหระหน, ระเหหน : ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.
สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
กำพง : น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร. (ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า ตําบล).