Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ซึมซาบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ซึมซาบ, 19 found, display 1-19
  1. ซึมซาบ : ก. เอิบอาบเข้าไปทั่วถึง.
  2. อาบเอิบ : ก. อาบทั่วไป, ซึมซาบ; ซาบซ่าน, เอิบอาบ ก็ว่า.
  3. เอิบอาบ : ก. อาบไปทั่ว, ซึมซาบ; ซาบซ่าน; อาบเอิบ ก็ว่า.
  4. ชราบชรับ : [ชฺราบชฺรับ] ก. ซึมซาบ.
  5. ซับซาบ : (ปาก) ก. ซึมซาบ.
  6. ชระอาบ : [ชฺระ] (กลอน) ก. อาบ, ชโลม, ทา, ทําให้ซึมซาบ.
  7. ชื้น : ว. มีไอนํ้าซึมซาบอยู่ เช่น อากาศชื้น, ไม่แห้งทีเดียว เช่น ผ้าชื้น.
  8. ชุ่ม : ก. มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
  9. ชุ่มชื้น : ว. มีไอนํ้าหรือนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่.
  10. ซับ : ก. เอาของเช่นผ้าหรือกระดาษทาบลงที่นํ้าหรือสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้นเพื่อให้แห้ง; (ถิ่น–อีสาน) ซึมซาบ, กำซาบ. น. รองในในการฝังเพชรหรือพลอยในกระเปาะ แหวน; เรียกกระดาษที่ใช้ซับหมึกให้แห้งว่า กระดาษซับ; เรียกที่ที่มีน้ำซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่น้ำซับ.
  11. น้ำซับ : น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่นํ้าซับ, ทางภาคอีสาน เรียกว่า ซํา.
  12. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  13. แผ่ซ่าน : ก. ซึมซาบกระจายไปทั่ว.
  14. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  15. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  16. อบรม : ก. แนะนําพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนํา ชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
  17. อาบ : ก. เอานํ้ารดตัวหรือลงในนํ้าทั้งตัว เพื่อแก้ร้อนหรือชําระล้างเ หงื่อไคลเป็นต้น เรียกว่า อาบนํ้า; ชโลม, ทา, ทําให้ซึมซาบ, เช่น อาบนํ้ารัก ลูกศรอาบยาพิษ; ไหลโซม เช่น เหงื่ออาบหน้า.
  18. อุ้มน้ำ : ก. มีนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่ภายใน.
  19. โอชะ, โอชา : ว. มีรสดี, อร่อย. น. รสที่ซึมซาบ, เครื่องหรือสิ่งบํารุงเลี้ยงให้เกิด ความเจริญงอกงาม. (ป.).

(0.0057 sec)