ซ่อง ๒, ซ่อง ๆ : ว. เงื่อง, เซื่อง, เช่น นกยางเดินซ่อง ๆ.
ซ่อง ๑ : น. ที่มั่วสุมชุมนุมกันลับ ๆ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ซ่องการพนัน ซ่องโจร ซ่องโสเภณี. ก. ประชุม.
ซ่อง ๓ : ก. ร้องพร้อม ๆ กัน, ร้องสรรเสริญ, มักใช้ ซ้อง.
ซ่องแซ่ง : ว. กระย่องกระแย่ง, กระซ่อง กระแซ่ง ก็ว่า.
ซ่องเสพ : ก. คบหากัน เช่น ควรซ่องเสพนักปราชญ์ อย่าซ่องเสพ คนพาล; ร่วมประเวณี.
นครโสเภณี, หญิงนครโสเภณี : [นะคอน, หฺยิงนะคอน] น. หญิงที่หา เลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี หญิงงามเมือง หรือ หญิงหากิน ก็ว่า, (แบบ) นครโสภิณี, หญิงนครโสภิณี.
แม่เล้า : (ปาก) น. หญิงผู้เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงผู้เป็นหัวหน้าควบคุม ดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บําเรอชาย.
กระซ่องกระแซ่ง : ว. กระย่องกระแย่ง, ซ่องแซ่ง ก็ว่า.
ซอง : น. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทําขึ้นสําหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่ บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสําหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่งบุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็ง ก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่าง คล้ายกระบอก แต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทําด้วยไม้ไผ่ เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สําหรับใส่ หัวผักกาดเค็มเป็นต้น. (รูปภาพ ซอง)
หญิงงามเมือง : น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิง โสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือหญิงหากิน ก็ว่า.
หญิงหากิน : น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือ หญิงงามเมือง ก็ว่า.
ซ้อง : ก. ร้องพร้อม ๆ กัน, ร้องสรรเสริญ, บางทีใช้ว่า ซ่อง; ระดมกัน, ทําพร้อม ๆ กัน เช่น ซ้องหัตถ์.
ซะซ่อง : (กลอน) ว. ซ่อง, เงื่อง.
ส้อง : (กลอน) น. ซ่อง, ประชุม.
นครโสภิณี, หญิงนครโสภิณี :
[นะคอน, หฺยิงนะคอน] (แบบ) ดู นครโสเภณี, หญิงนครโสเภณี.(ป.).
นางโลม : (ปาก) น. หญิงโสเภณี.
แมงดา : น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (Tachypleus gigas) ความยาวลําตัว ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ (Carcinoscorpius rotundicauda) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
สัญจรโรค : น. กามโรค. ว. เรียกหญิงโสเภณีว่า หญิงสัญจรโรค.
ซองขาว : น. จดหมายให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด; ซองบรรจุ เงินสินบนหรือค่าสินจ้างเพื่อให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็นไป ในทางมิชอบ.
เซื่อง : ว. เงื่องหงอย, ซึม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ซึม เป็น ซึมเซื่อง หรือ เซื่องซึม.
ประจำซอง : ก. เข้าประจํารักษาหน้าที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน.
กลัก : [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของ เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
กุบ : น. ซองหนังชนิดหนึ่ง เมื่อตัดทองคําใบชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สอดในกระดาษแก้วหนาแผ่นเล็กซ้อนกันเป็นตั้งแล้วใส่ใน ซองหนังนั้น ตีซองแผ่ทองคำให้บางออกไป; ชาวภาคพายัพบางถิ่น และพวกเงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) กลัก, กล่อง.
คอกช้าง : น. สถานที่ที่ทําขึ้นสําหรับจับช้างป่า มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม คล้ายคอก มีซองและมีปีก ๒ ข้าง.
งุย : (โบ) ว. ซึม, เซื่อง, มึนหัว.
เงื่อง, เงื่อง ๆ : ว. เซื่อง, เชื่องช้า.
เงื่องหงอย : ว. ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา.
จ๋อง : (ปาก) ว. หงอยเหงา, เซื่อง, ไม่กล้า, ไม่คึกคัก.
จ่าหน้า : ก. เขียนบอกไว้ข้างหน้า เช่น จ่าหน้าซอง, เขียนบอกไว้ที่ ต้นเรื่อง เช่น จ่าหน้าเรื่อง.
ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
โปสต์การ์ด : น. แผ่นกระดาษหนาพอประมาณด้านหนึ่งมักเป็นภาพ อีกด้านหนึ่ง สำหรับเขียนข้อความ และติดไปรษณียากรเพื่อส่งทางไปรษณีย์ โดยไม่ต้องบรรจุซอง. ว. เรียกขนาดภาพถ่ายเป็นต้น ที่มีความ กว้างยาวประมาณ ๓''x๕'' ว่า ขนาดโปสต์การ์ด. (อ. postcard).
ไปรษณียบัตร : [ไปฺรสะนียะบัด, ไปฺรสะนีบัด] น. แผ่นกระดาษ ที่ใช้ส่งข่าวสารโดยไม่ต้องบรรจุซองซึ่งองค์การที่มีหน้าที่จัดส่ง เป็นผู้จัดทำขึ้น. (อ. postal card).
ผนึก : [ผะหฺนึก] ก. ติดให้แน่น เช่น ผนึกซอง ผนึกตรา, อัดให้แน่นเป็น ปึก เช่น ผนึกกระดาษหลาย ๆ แผ่นให้เป็นปึกเดียวกัน, ปิดให้แน่น เช่น ผนึกไห, รวมกันให้เป็นปึกแผ่น เช่นผนึกกําลัง. น. การนํา ช้างเล็กไปโดยใช้ช้างใหญ่ขนาบไป; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบ สำหรับสอดใส่สิ่งของ.
ฝัก : น. ซอง, สิ่งหุ้มเมล็ดของพืชบางอย่างเช่นถั่ว โดยมากรูปยาว ๆ กลม บ้าง แบนบ้าง, สิ่งที่ใช้สวมหอกดาบเป็นต้น มีรูปคล้ายตัวหอกดาบที่ อยู่ข้างใน มักทําด้วยหนัง ไม้ทองเหลือง; ลูกอัณฑะ.
แฟ้ม : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝา หอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสําหรับสอดไม้ คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสําหรับขัดปาก ขอบ ด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง, ที่สําหรับเก็บแผ่นกระดาษ มี ปกหน้าปกหลังทําด้วยกระดาษแข็งเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ชนิดเจาะข้าง ชนิดมีสปริงสําหรับหนีบกระดาษ ชนิดมีซองสําหรับ ใส่เอกสาร, กระเป๋าหิ้วสําหรับใส่เอกสาร.
มีดตัดกระดาษ : น. มีดขนาดเล็กหรือโลหะแบน ๆ อย่างมีด ใช้ตัดกระดาษ หรือซองจดหมายเป็นต้น.
ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
หมวกหนีบ : น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาด รูปทรง คล้ายซองจดหมายอย่างยาว.
แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).