อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
เดินอากาศ : ก. ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศ.
ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
ปรับอากาศ : ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่าเครื่องปรับอากาศ.
ผิดอากาศ : ก. ผิดไปจากอากาศที่เคยคุ้น, แพ้อากาศ.
โพยม : [พะโยม] น. ท้องฟ้า, อากาศ, โพยมัน หรือ โพยมาน ก็ใช้. (ส. โวฺยมนฺ).
ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
รถปรับอากาศ : น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
วายุ :
น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).
สลัดอากาศ : น. โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ.
หลุมอากาศ : น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดย กะทันหัน.
หันอากาศ : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
อัมพร : [พอน] น. ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ; เครื่องนุ่งห่ม ในคำว่า ทิคัมพร = ผู้นุ่งลมห่มทิศ คือ ชีเปลือย, เศวตัมพร = ผู้นุ่งห่มผ้าขาว คือ ชีผ้าขาวหรือชีปะขาว. (ป., ส.).
เมล์อากาศ : น. การส่งหนังสือหรือสิ่งของทางเครื่องบิน.
ไม้หันอากาศ : น. ไม้ผัด.
รากอากาศ : น. รากที่แตกออกจากต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ ไทร.
สร้างวิมานในอากาศ : (สํา) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวัง จะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย.
ออกอากาศ : ก. กระจายเสียงทางวิทยุ, กระจายเสียงและแพร่ภาพ ทางโทรทัศน์.
ฟ้า : น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็น พยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.
กายภาพ : ว. เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต, เกี่ยวกับสสารและพลังงาน, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science) ศึกษาเกี่ยวกับสสาร และพลังงาน; เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของโลก เช่น ภูมิศาสตร์กายภาพ (physical geography) ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ ของผิวดิน บรรยากาศ อากาศ พืช และสัตว์ในถิ่นต่าง ๆ.
ขจร ๑ : [ขะจอน] ก. ฟุ้งไป. (ข. ขฺจร ว่า ฟุ้งไป แผลงเป็น กําจร ก็ได้; ป., ส. ข = อากาศ + จร = ไป).
แขวนลอย : (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือ ของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือ ของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นใน อากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension).
คลุมเครือ : ว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศ ที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ, อาการไข้ที่ จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ, พูดไม่บ่งชัด ไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.
ชระมัว : [ชฺระ] (กลอน) ว. ขมุกขมัว, ยังไม่สว่าง, เช้าตรู่, มืด, เช่น ชระมัวทั่วทิศเอียง อากาศ. (นิ. นรินทร์).
ฐาน ๑ : [ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. (ป.).
นภ : [นะพะ, นบพะ] น. ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).
เบญจภูต : น. ธาตุทั้ง ๕ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม อากาศ.
ปรวนแปร : [ปฺรวนแปฺร] ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศ ปรวนแปร, รวนเร เช่น ใจปรวนแปร, แปรปรวน ก็ว่า.
แปรปรวน : ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศ แปรปรวน, รวนเร เช่น ใจแปรปรวน, ปรวนแปร ก็ว่า.
โพยมัน, โพยมาน : [พะโยมัน, พะโยมาน] น. โพยม, ท้องฟ้า, อากาศ. (ส.).
ลมบก : น. ลมที่พัดออกจากฝั่งไปสู่ทะเลในเวลากลางคืน เนื่องจาก อุณหภูมิของนํ้าทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง อากาศ เหนือผิวนํ้าจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่.
ล่องแมว : น. ช่องว่างระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียงเพื่อถ่ายเท อากาศ มีขนาดพอแมวลอดได้ เปิดโล่งยาวตลอดตัวเรือน.
วิหายสะ : [หายะสะ] น. ฟ้า, อากาศ. (ป., ส.).
เวหะ, เวหา : น. ฟ้า, อากาศ. (ส. วิห, วิหา).
เวหาส : [หาด] น. ฟ้า, อากาศ. (ป.; ส. วิหายส).
สสาร, สสาร : [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วย สารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้.
อนิลบถ : [อะนิละบด] น. ทางลม, ฟ้า, อากาศ. (ป. อนิลปถ).
กรอง ๒ : [กฺรอง] ก. เอาของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น กรองทราย, เอาฝุ่นละอองหรือของสกปรกออก เช่น กรองน้ำมัน กรองอากาศ, ใช้เครื่องกรองมีผ้าเป็นต้น คัดเอาผงหรือกากออกจากน้ำหรือสิ่ง ที่เป็นน้ำ เช่น กรองน้ำ กรองกะทิ.
กระโดดร่ม : ก. กระโดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศ เพื่อลงสู่พื้นดินโดยอาศัยร่มชูชีพ, โดดร่ม ก็ว่า.
กระสือ ๑ : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของ สารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
กล้องสำรวจ : น. กล้องที่ใช้ในงานรังวัดและสํารวจทําแผนที่ มีหลายชนิด เช่น กล้องระดับ กล้องวัดมุม กล้องถ่ายรูปทางอากาศ.
กลาบาต : [กะลาบาด] น. พวกนั่งยามตามไฟ, การตามไฟรักษายาม; ก้อนที่มีแสงซึ่งตกจากอากาศลงมาสู่ผิวโลก ถือว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย, อุกกาบาต ก็เรียก. (บางทีจะเป็นคําตัดมาจาก ''อุกลาบาต'' ดูอุกกา).
กวัก ๒ : [กฺวัก] ก. อาการที่ใช้สิ่งแบน ๆ พุ้ยเข้าหาตัว, ใช้มือทําอาการเช่นนั้น เพื่อเป็นสัญญาณให้เข้ามาหา เรียกว่า กวักมือ, อาการที่นกใช้ปีกพุ้ย อากาศบินไป เรียกว่า นกกวักปีก.
กสิกรรม :
น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
กสิณ : [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
ก หัน : น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
กังหันไอพ่น : น. เครื่องยนต์ซึ่งใช้กังหันขับเครื่องอัดอากาศ, เครื่องยนต์ไอพ่น ก็ว่า.