ดัง ๓, ดั่ง : ว. เช่น, อย่าง, ราวกับ, คล้าย, เหมือน.
เหมือน : [เหฺมือน] ว. ดั่ง, เช่น, ดั่งเช่น, อย่าง, เช่น เขาทำได้เหมือนใจฉันเลย.
กรรมขัย : [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่า อายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
กระกรี๊ด : (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
กระบูนเลือด : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับน้ำปูนใส หรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูก ให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).
กระลาการ : (โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไป โดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).
กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
กระหยะ : น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแล ผงเลือดไร. (อภิไธยโพธิบาทว์). (แผลงมาจาก ขยะ).
กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
กล้ำ : [กฺล้ำ] ก. ควบ เช่น กล้ำอักษร อักษรกล้ำ, ทําให้เข้ากัน, กลืนกัน, เช่น กล้ำเสียง เสียงกล้ำ, มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบกล้ำพันคุณ. (โลกนิติ), คือดั่งปากเว้นกล้ำ แกล่เหมี้ยงหมากพลู. (โลกนิติ), กัลยาจะกล้ำอําความตาย. (อิเหนา).
กังสะ : (แบบ) น. สัมฤทธิ์ เช่น ดั่งดามพะกังสกล่อมเกลา. (สมุทรโฆษ). (ป.).
กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
ก้านต่อดอก : น. ชื่อวิธีร้อยดอกไม้เป็นตาข่าย; ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พร่ากําสรวลครวญ.
กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
กำบัง ๓ : น. ชื่อว่านต้นดั่งกระชาย หัวเล็ก ๆ ติดกันดั่งกล้วยไข่ ต้นและใบเขียว เนื้อในขาว ใช้สําหรับเป็นว่านกันภัยในทางลัทธิ และกันว่านร้ายต่าง ๆ, ว่านกั้นบัง ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
กำแพงขาว : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. (กบิลว่าน).
แก้ววิเชียร : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น หรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
โกรธ : [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ''ทรงพระโกรธ'' ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธ ดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
เคา : (โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวด เพียงหลังเคา. (ม. คําหลวง กุมาร).
ฉะนั้น : ว. ฉันนั้น, เช่นนั้น, อย่างนั้น, ดังนั้น, ดั่งนั้น, เพราะฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น.
ฉะนี้ : ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้.
ฉัททันต์ :
(แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาว บริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก)ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
ชระเอม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ร่มเย็น เช่น ดั่งฤๅดั่งไทรชระเอมชรอื้อ. (ม. คําหลวง ชูชก).
ดง ๑ : น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ขึ้นเป็นดง, ที่ซึ่งมีต้นไม้อย่างใด อย่างหนึ่งขึ้นหนาแน่น เช่น ดงกล้วย, โดยปริยายเรียกสถานที่ที่มีคนหรือ สัตว์เป็นต้นประเภทเดียวกันรวมอยู่ด้วยกันมาก ๆ เช่น ดงผู้ร้าย ดงเสือ.
ถนัด : [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชํานาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่ยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัด ดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
บารนี : [-ระนี] ว. ดั่งนี้, ยิ่ง, นัก, มาก.
ปิงคลหัตถี :
[ปิงคะละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อนดั่งสีตาแมว. (ดู กาฬาวก).
ผลึก : [ผะหฺลึก] น. ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีใสขาว เรียกว่า แก้วผลึก, สิ่งมี ลักษณะขาวใสดั่งแก้ว เช่น น้ำตาลตกผลึก ผลึกน้ำตาล. (ป. ผลิก); (วิทยา) ของแข็งที่มีโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน เฉพาะตัว. (อ. crystal).
แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
ศิลป์ ๒ : [สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวง วาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนง ก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
สะบู : น. ดอกไม้ (?) เช่น ถนัดดั่งสะบูบังใบ แม่เร้น. (กําสรวล).
หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
เหม, เหม- :
[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.), เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่าง ซึ่งมียอดแหลมปิดทอง, เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับ บัวกลุ่ม.
แห ๓ : (วรรณ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแห ห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม. (เห่เรือ).
อะเคื้อ : (กลอน) ว. งาม เช่น ถนัดดั่งเรียมเห็นองค์ อะเคื้อ. (ลอ).
อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
ดง ๒ : ก. เอาหม้อข้าวที่เช็ดนํ้าข้าวแล้วขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่อให้ระอุ.
กวางเดินดง : น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม. (กลบท).
กานน ๑ : [-นน] (แบบ) น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
ดึ่ง : ก. ดิ่ง, ตรงลงไป.
พนา : น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
วัน ๓ : น. ป่าไม้, ดง, เช่น อัมพวัน คือ ป่ามะม่วง. (ป. วน).
สณฑ์ : (แบบ) น. ชัฏ, ดง, ที่รก, ที่ทึบ. (ป. สณฺฑ; ส. ษณฺฑ).
กลิ้งกลางดง : [กฺลิ้งกฺลาง-] น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล Dioscorea วงศ์ Dioscoreaceae ตามง่ามใบมีหัวกลมขรุขระ.
ขี้กาดง : ดู กระดอม.
โขดง : [ขะโดง] น. กระโดง; ใบเรือ. (ข.).
โซงโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.