Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตระบัดสัตย์, ตระบัด, สัตย์ , then ตรบดสตย, ตระบัด, ตระบัดสัตย์, สตย, สตฺย, สัตย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตระบัดสัตย์, 26 found, display 1-26
  1. ตระบัดสัตย์ : ก. ไม่รักษาคํามั่นสัญญา.
  2. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  3. ตระบัด : [ตฺระ-] (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์. (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้, ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก, ใช้อย่าง สะบัด ก็มี.
  4. ตระบัด : [ตฺระ-] ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, กระบัด ก็ใช้. ก. พลันไป.
  5. อาสัตย์ : ว. ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอาสัตย์, อสัตย์ ก็ว่า. (ส. อสตฺย).
  6. กระบัด ๑ : (กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
  7. กระบัด ๒ : (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
  8. สัตยาบัน : น. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้ กระทําขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรม นั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย + อาปนฺน).
  9. ประบัด : (โบ) ก. ฉ้อโกง, กระบัด ตระบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
  10. สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
  11. สัตยาเคราะห์ : ดู สัตย, สัตย์.
  12. สัตยาธิษฐาน : ดู สัตย, สัตย์.
  13. สัตยาบัน : ดู สัตย, สัตย์.
  14. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  15. ชีพ, ชีพ : [ชีบ, ชีบพะ] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความ เป็นอยู่, ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).
  16. น้ำฝาด : น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของ ไม้บางชนิดเช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด. น้ำพระพิพัฒน์สัตยา น. นํ้าที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน.
  17. ประคุณ : (แบบ) ก. คล่องแคล่ว, ชํานาญ. (ส. ปฺรคุณ ว่า ตรง, สัตย์ซื่อ, ซื่อตรง; ป. ปคุณ).
  18. ประมง : น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
  19. วาจา : น. ถ้อยคํา, คํากล่าว, คําพูด, เช่น วาจาสุภาพ วาจาอ่อนหวาน วาจาสัตย์. (ป., ส.).
  20. สัจกิริยา : [สัดจะ] น. การตั้งความสัตย์.
  21. สัตย์ : ว. ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอสัตย์, อาสัตย์ ก็ว่า. (ส.; ป. อสจฺจ).
  22. อาชวะ : [อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว, ส. อารฺชว).
  23. สัจ, สัจ, สัจจะ : [สัด, สัดจะ] น. ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมี สัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).
  24. สัตยพรต : น. การถือคํามั่นสัญญา. (ส. สตฺย + วฺรต).
  25. สัตยาธิษฐาน : น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺ?าน; ป. สจฺจ + อธิฏฺ?าน).
  26. สัตยวาที : น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ใน สัตยวาที. (ม. คําหลวงกุมาร). (ส. สตฺยวาทินฺ).
  27. [1-26]

(0.1272 sec)