ตริ ๒ :
[ตฺริ] ใช้ประกอบหน้าศัพท์ แปลว่า สาม เช่น ตริโกณ คือ รูปสามเหลี่ยม. (ดู ตรี๓).
ตริ ๑ : [ตฺริ] ก. คิด, ตรึกตรอง.
อุตริมนุสธรรม : [มะนุดสะทํา] น. คุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ธรรมวิเศษมีการสําเร็จฌาน สําเร็จมรรคผลเป็นต้น. (ป. อุตฺตริ + มนุสฺส+ ธมฺม; ส. อุตฺตริ + มนุษฺย + ธรฺม).
ดำริ : [-หฺริ] ก. คิด, ไตร่ตรอง. (แผลงมาจาก ตริ).
ตรี ๓ : [ตฺรี] ว. สาม เช่น ตรีเนตร, ชั้นที่ ๓ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้นหรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่า โท สูงกว่า จัตวา) เช่น ร้อยตรี ข้าราชการชั้นตรี ปริญญาตรี; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ?ว่า ไม้ตรี. (ส. ตฺริ).
กรรไตร : [กันไตฺร] น. ตะไกร. (ข. กนฺไตฺร; ส. กรฺตริ).
ตรี ๑ : [ตฺรี] น. ปลา. (ข.).
ตรี ๒ : [ตฺรี] น. คําตัดมาจาก ตรีศูล.
ทัสนานุตริยะ : [ทัดสะนานุดตะริยะ] น. สิ่งที่เห็นอันประเสริฐ, การเห็นอัน ประเสริฐ เช่นการเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป. ทสฺสนานุตฺตริย).
ปาราชิก : น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวด อุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
วิตก, วิตก : [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิด สงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวล ไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ, ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).
อนันตริยกรรม : [ตะริยะกํา] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรม ที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทําให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทําให้ สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).
อันตลิกขะ : [อันตะลิกขะ] น. ท้องฟ้า, กลางหาว. (ป.; ส. อนฺตริกฺษ).
อุตริ : [อุดตะหฺริ] ว. นอกคอก, นอกทาง, นอกรีต. (ป., ส. อุตฺตริ ว่า ยิ่ง).
แอมโมเนีย : น. สารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร NH3 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี กลิ่นฉุน ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใน อุตสาหกรรมทําปุ๋ย กรดไนตริก ใยสังเคราะห์ เป็นตัวทําความเย็น. (อ. ammonia).
ตฤๅ : [ตฺรี] น. ปลา, โดยมากใช้ ตรี. (ข. ตฺรี).
ตรีกฏุก : น. ของเผ็ดร้อน ๓ ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง.
ตรีกันสวาต : [-สะหฺวาด] น. กลิ่นแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ
ตรีกาย : น. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกาย มหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).
ตรีกาฬพิษ : [-กาละพิด, -กานละพิด] น. พิษกาฬ ๓ อย่าง คือ กระชาย รากข่า รากกะเพรา.
ตรีเกสรมาศ : น. เกสรทอง ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง.
ตรีจีวร : น. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร; ป. ติจีวร).
ตรีฉินทลามกา : [-ฉินทะลามะกา] น. ของแก้ลามกให้ขาดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง.
ตรีญาณรส : [-ยานนะรด] น. รสสําหรับรู้ ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถา บอระเพ็ด.
ตรีทิพยรส : [-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.
ตรีทุรวสา : น. ของแก้มันเหลวเสีย ๓ อย่าง คือ เมล็ดโหระพา ผลกระวาน ผลราชดัด.
ตรีเทวตรีคันธา : [-ทะเวตฺรี-] น. กลิ่นสามสองสาม คือ แก่น ดอก ราก แห่งมะซาง และบุนนาค. (ศัพท์คัมภีร์แพทย์).
ตรีธารทิพย์ : น. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ ราก มะขามเทศ.
ตรีนิศก : (โบ) น. ตรีศก.
ตรีประดับ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
ตรีปิตผล : [-ปิตะผน] น. ผลแก้ดี ๓ อย่าง คือ เจตมูลเพลิงเทศ ผักแพวแดง รากกะเพรา.
ตรีผลธาตุ : น. ผลแก้ธาตุ ๓ อย่าง คือ กะทือ ไพล รากตะไคร้.
ตรีผลสมุตถาน : [-สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิดแห่งผล ๓ อย่าง คือ ผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา.
ตรีพิธพรรณ : [ตฺรีพิดทะพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่ง.
ตรีพิษจักร : [-พิดสะจัก] น. จักรพิษ ๓ อย่าง คือ กานพลู ผักชีล้อม ผลจันทน์เทศ.
ตรีเพชรทัณฑี : [ตฺรีเพ็ดทันที] น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่ง.
ตรีภูมิ, ไตรภูมิ : น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูมิ).
ตรีภูวะ : [-พูวะ] น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูว).
ตรีมธุระ : [-มะทุระ] น. ของมีรสดี ๓ อย่าง คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง นํ้ามันเนย.
ตรีมูรติ : ว. มีรูป ๓ คือ รูปพระพรหม รูปพระวิษณุ รูปพระศิวะ. น. ชื่อเรียกเทพเจ้า ในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทําลาย). (ส. ตฺริมูรฺติ).
ตรีรัตน์ : น. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์. (ส. ตฺริรตน).
ตรีโลเกศ : น. พระวิษณุ, พระอาทิตย์. (ส. ตฺริโลเกศ).
ตรีโลจน์ : น. พระศิวะ. (ส. ตฺริโลจน ว่า มี ๓ ตา).
ตรีโลหก : [-หก] น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลหก).
ตรีโลหะ : น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองแดง ทองเหลือง ทองหล่อระฆัง, หรืออีกตําราหนึ่ง ว่า ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลห).
ตรีวาตผล : [-วาตะผน] น. ผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า.
ตรีสมุตถาน : [-สะหฺมุดถาน] น. สมุตถาน ๓ อย่าง คือ ดี เสมหะ ลม.
ตรีสัตกุลา : [-สัดตะ-] น. ตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดํา ผักชีลา ขิงสด.
ตรีสันนิบาตผล : น. ผลแก้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา ราก พริกไทย.
ตรีสินธุรส : น. รสนํ้า ๓ อย่าง คือ รากมะตูม เทียนขาว นํ้าตาลกรวด.