Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตลาดหุ้น, หุ้น, ตลาด , then ตลาด, ตลาดหุ้น, หน, หุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตลาดหุ้น, 199 found, display 1-50
  1. ตลาดหุ้น : ปาก) น. ตลาดหลักทรัพย์.
  2. หุ้น : น. ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขายเป็นต้น. (เทียบภาษาจีนแต้จิ๋ว หุ่ง ว่า หุ้น, ส่วน); (กฎ) หน่วยลงทุนแต่ละหน่วยที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งรวมกัน เป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจํากัด. (อ. share).
  3. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  4. ตลาดหลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์, (ปาก) ตลาดหุ้น.
  5. ตลาดท้องน้ำ : น. ตลาดนํ้า.
  6. ตลาดน้ำ : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ทางนํ้า มีเรือเป็นพาหนะบรรทุก สิ่งของ, ตลาดท้องนํ้า ก็ว่า.
  7. ตลาดมืด : น. ตลาดที่แอบซื้อขายกันลับ ๆ โดยหลีกเลี่ยงข้อกําหนดที่ทางการ ได้วางไว้.
  8. ตลาดยี่สาน : น. ตลาดที่ขายของแห้งเช่นผ้า.
  9. ตลาดหน้าคุก : (สํา) ว. แพง. น. ตลาดที่ถือโอกาสขายโก่งราคาแพงกว่าปรกติ และผู้ซื้อจําเป็นต้องซื้อ.
  10. หุ้นบุริมสิทธิ : [-บุริมมะสิด] (กฎ) น. หุ้นที่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิพิเศษ เหนือผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งผลกําไรก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ. (อ. preference share).
  11. หุ้นส่วน : น. ทุนที่เข้ากันเพื่อทําการต่าง ๆ เช่น ค้าขายเป็นต้น; (ปาก) ผู้เป็น หุ้นส่วน.
  12. หุ้นสามัญ : (กฎ) น. หุ้นธรรมดาของบริษัทจำกัด ซึ่งแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมี มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและผู้ถือหุ้นมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนหุ้น ที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  13. ตลาดเงิน : น. ที่แลกเปลี่ยนกู้ยืมเงิน.
  14. ตลาดนัด : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจํา จัดให้มีขึ้น เฉพาะในวันที่กําหนดเท่านั้น.
  15. หุ้นกู้ : (กฎ) น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่า เท่ากัน และกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้ล่วงหน้าในอัตราเท่ากัน ทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวม ถึงตั๋วเงิน. (อ. debenture).
  16. ขาดตลาด : ก. ไม่มีขายในท้องตลาดอย่างที่เคยมี.
  17. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  18. จ่ายตลาด : ก. ซื้อกับข้าวที่ตลาด.
  19. ท้องตลาด : น. ตลาดทั่ว ๆ ไป, ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ.
  20. ทุนเรือนหุ้น : (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
  21. บ้อหุ้น : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง. (ดู บ้อ, บ้อหุ้น).
  22. ปากตลาด : น. ถ้อยคําที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่า กันมาอย่างนี้. ว. ปากจัด.
  23. ผู้เป็นหุ้นส่วน : (กฎ) น. บุคคลซึ่งนําสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้นด้วย ในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นํามาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้, (ปาก) หุ้นส่วน.
  24. ราคาตลาด : (กฎ) น. ราคาที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง และในขณะใดขณะหนึ่ง, ราคาท้องตลาด ก็เรียก.
  25. ล้นตลาด : ว. มากจนเกินความต้องการของตลาด เช่น สินค้าล้นตลาด.
  26. เล่นหุ้น : ก. ลงทุนด้วยการซื้อขายหุ้นเพื่อเก็งกำไร.
  27. ห้างหุ้นส่วนจำกัด : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน ๒ จําพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจํากัดความรับผิด เพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้าง หุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นกฎหมายบังคับว่าต้อง จดทะเบียน.
  28. ห้างหุ้นส่วนสามัญ : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว จึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้าง หุ้นส่วนนั้น.
  29. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  30. กลอนตลาด : น. คํากลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน.
  31. เข้าหุ้น : ก. รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์.
  32. เดินตลาด : ก. วิ่งเต้นจําหน่ายสินค้า, เที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งจําหน่ายสินค้า.
  33. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  34. บ้อ, บ้อหุ้น : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลง บนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน ''เอา มารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือ วงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า ''อีตัว'' โยน ลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็น ฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยน อีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า ''อู้ไว้'' หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่ โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.
  35. วางตลาด : ก. นําสินค้าออกวางขายตามร้านทั่วไป.
  36. ห้างหุ้นส่วน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทํากิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกําไร อันจะพึงได้แต่กิจการที่ทํานั้น.
  37. กาด ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. ตลาด.
  38. มูลฝอย : น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, กุมฝอย หรือ คุมฝอย ก็ว่า; (กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น.
  39. หลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ หน่วยลงทุน.
  40. กงสี : น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
  41. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  42. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  43. กลอนสุภาพ : น. กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียกว่า กลอนตลาด.
  44. กำตาก : น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดิน ยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
  45. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  46. ค่าเสมอภาค : น. มูลค่าหรือราคาของหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ตราไว้; มูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราสกุลหนึ่ง ที่เทียบเท่ากับมูลค่าแลก เปลี่ยนของหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง. (อ. par value).
  47. เงินปันผล : น. ส่วนแบ่งเงินกําไรที่กําหนดจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น.
  48. จดทะเบียน : (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
  49. จรลาด, จรหลาด : [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
  50. จอแจ : ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ; จวนแจ เช่น เวลาจอแจเต็มที.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-199

(0.1223 sec)