ตอบ : ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยม ตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคําถาม, แจ้ง กลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไป undefined
ขอบ ๒ : ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายใน สองนางขอบ, ธขอบคําความมนตรี. (ลอ).
ขาน ๑ : ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
เลี้ยงตอบ, เลี้ยงตอบแทน : ก. เลี้ยงอาหารเป็นต้น ตอบแทนแก่ผู้ที่เคย เลี้ยงอาหารตนมาก่อน.
หมากัดอย่ากัดตอบ : (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับ คนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.
จำเลย : น. (กฎ) บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว; ผู้ถูกฟ้องความ. (กลอน) ก. เฉลย, ตอบ. (ข. จํเลิย ว่า ผู้ตอบ).
จุด : น. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น, เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็น สําคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบ ไม่ตรงจุด. ก. ทําเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้; ทําให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.
เฉลย : [ฉะเหฺลย] ก. อธิบายหรือชี้แจงข้อปัญหาต่าง ๆ ให้เข้าใจ เช่น เฉลยปัญหา เฉลยความ. (ข. เฉฺลิย ว่า ตอบ).
ตอบแทน : ก. ทําทดแทนแก่ผู้ทําก่อน, ให้ทดแทนแก่ผู้ให้ก่อน, เช่น ตอบแทนบุญคุณ, บางทีใช้สั้น ๆ ว่า ตอบ เช่น เลี้ยงตอบ.
ปรานีตีเอาเรือ : (สํา) ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้าย ตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า. (สังข์ทอง).
กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
กิริยาสะท้อน : น. การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อที่ ไม่อยู่ในอํานาจสั่งงานของสมอง เพื่อตอบสนองสิ่งกระตุ้น เป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายหรือสิ่งรบกวน เช่นหดมือเมื่อถูกของร้อน.
เกริ่น ๑ : [เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนํา ในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิง ให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่นนกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
แก้แค้น : ก. ทําตอบด้วยความแค้นหรือเพื่อให้หายแค้น.
แก้เผ็ด : ก. ทําตอบแก่ผู้ที่เคยทําความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน.
ข้อเขียน : น. เรียกการสอบแบบเขียนคําตอบว่า สอบข้อเขียน, มักใช้คู่กับ สอบสัมภาษณ์.
ครอบจักรวาล ๑ : (ปาก) ว. ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ถามแบบ ครอบจักรวาลอย่างนี้ตอบยาก.
เงินเดือน : น. เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน.
จิตวิสัย : [จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัย วัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดง ความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).
จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
ซื้อหน้า : ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงิน เพื่อซื้อหน้า.
ด่าทอ : ก. ด่า, ด่าตอบกัน.
ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
ต่อเติม : ก. ขยายหรือเพิ่มให้มากหรือใหญ่ขึ้น เช่น ต่อเติมข้อความ ต่อเติมบ้าน. ว่า แก้มตอบ. มีแต้มตั้งแต่ ๑ ถึง ๖; การเล่นไพ่ป๊อกฝรั่งระหว่าง ๒ หรือ ๔ คน โดยเรียงแต้ม ไพ่จากรูป ๗ แล้วต่อแต้มสูงขึ้นไปหรือต่อแต้มตํ่าลงมา.
ถาม : ก. พูดเพื่อรับคําตอบ.
ถามนำ : (กฎ) ก. การถามพยานโดยแนะคําตอบไว้ในคําถามนั้นด้วย.
ทักนิมิต : ก. ถามตอบในการผูกพัทธสีมา.
ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
บน ๑ : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของตอบ แทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บนบาน ก็ว่า. ว. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง, เช่น ข้างบน ชั้นบน เบื้องบน. บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ.
บนบาน : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของ ตอบแทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บน ก็ว่า.
แบบข้อคำถาม : น. แบบรายการคําถามที่ให้บุคคลต่าง ๆ กรอก คําตอบเพื่อหาข้อมูล, แบบสอบถาม ก็ว่า.
แบบฝึกหัด : น. แบบตัวอย่างปัญหาหรือคําสั่งที่ตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียน ฝึกตอบเป็นต้น.
ปฏิกิริยา : น. การกระทําตอบสนอง; การกระทําต่อต้าน; ผลของการกระทํา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทํา). (อ. reaction).
ปฏิพากย์ : น. การกล่าวตอบ, การพูดโต้ตอบ. (ป. ปฏิวากฺย).
ปฏิยุทธ์ : ก. รบตอบ, สู้รบ. (ป.).
ปรนัย : [ปะระ-, ปอระ-] ว. วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบ มักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคําถามที่ต้องการ คําตอบตายตัว ว่า การสอบแบบปรนัย, คู่กับ อัตนัย.
ปรวาที : [ปะระ-] น. ผู้กล่าวถ้อยคําฝ่ายตอบหรือฝ่ายค้าน, คู่กับ สกวาที.
ปรัศนี : [ปฺรัดสะ-] น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ?, เครื่องหมายคําถาม ก็เรียก; สิ่งที่เป็นเงื่อนงำต้องหาคำตอบ. (ส.)
ปริศนาอักษรไขว้ : น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคําลงในตาราง สี่เหลี่ยมที่กําหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนว ยืนและแนวนอน.
ปัญหา : น. ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, เช่น ทําได้โดยไม่มีปัญหา, คําถาม, ข้อที่ควรถาม, เช่น ตอบปัญหา, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางการเมือง. (ป.).
ปากเปล่า : ก. ว่าโดยไม่ดูตัวหนังสือ เช่น เทศน์ปากเปล่า, เรียกวิธีสอบ โดยใช้วาจาแทนการเขียนคำตอบว่า สอบปากเปล่า.
ไปรษณีย์; : (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับ หนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็ค ไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นํามาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
ไปไหนมาสามวาสองศอก : (สํา) ก. ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง.
พฤติกรรม : น. การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
พลาด : [พฺลาด] ก. ไม่ตรงที่หมาย ในลักษณะเช่น เพลี่ยงไป เลี่ยงไป หรือ ไถลไป เช่น ยิงพลาด เหยียบบันไดพลาด; ผิดพลาด เพราะไม่รู้เท่า หรือเชื่อตัวเองเกินไปเป็นต้น เช่น ตอบพลาด.
พิสัช : ก. แก้, ตอบคําถาม; สละ, ส่งไป, ทิ้ง. (ป. วิสชฺช).
โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
ไม่หือไม่อือ : (ปาก) ว. ไม่ตอบ, ไม่ขานรับ, เช่น เรียกแล้วก็ยังไม่หือไม่อือ.
ย้อน : ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.