จุดไต้ตำตอ : (สํา) ก. พูดหรือทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทําไม่รู้ตัว.
ยุให้รำตำให้รั่ว : (สํา) ก. ยุให้แตกกัน, ยุให้ผิดใจกัน.
ระยำตำบอน : (ปาก) ว. เลวทราม, ชั่วช้า, เหลวไหล.
กระชอก : (โบ; กลอน) ก. กระฉอก เช่น กระชอกชอกชล กระมลมลมาลย์. (ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒). (ไทยเหนือ ซอก ว่า ตำ, กระทุ้ง).
กระเดื่อง ๑ : น. ส่วนหนึ่งของครกกระเดื่อง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัว มีสากสำหรับตำข้าวที่อยู่ในครก เมื่อเหยียบปลายข้างหางแล้วถีบ ลงหลุม หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง; (รูปภาพ กระเดื่อง) เรียกเครื่องจักรนาฬิกาชิ้นหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเดื่อง.
กล้อง ๒ : [กฺล้อง] ว. เรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ว่า ข้าวกล้อง. ก. ตำข้าวเปลือกให้เปลือกหลุด; เกลา, โกลน; โดยปริยายใช้ว่า ทุบ, ถอง.
ข้าวกล้อง : น. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้ม เมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ : น. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน เรียกว่า ข้าวกล้อง.
ข้าวเม่า ๑ : น. ข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำ ให้แบน, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง, ข้าวเม่าราง ทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้หั่นทอด เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่.
ข้าวเม่าทอด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเม่าตำคลุกกับมะพร้าว และน้ำตาลปึกหุ้มกล้วยไข่สุก แล้วชุบแป้งทอดเป็นแพ ๆ.
ค้างคาว ๓ : น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัวกะทิ และเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
ฉับฉ่ำ : (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
ซ้อม ๑ : ก. ทําข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร โดยวิธีใส่ครกตํา เรียกว่า ซ้อมข้าว. ว. เรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
นมพิจิตร : น. (๑) ชื่อพืชอิงอาศัยชนิด Hoya parasitica Wall. ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบรี หนา ดอกสีขาวกลางดอกสีม่วง กลิ่นหอม ทุกส่วนมียางขาวคล้าย น้ำนม, นมตำเรีย หรือ นมตำเลีย ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Trichosanthes cucumerina L. ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลมีรสขมใช้ทํายาได้, บวบขม ก็เรียก.
ผง : น. สิ่งละเอียด เช่น ตำแป้งจนเป็นผง; เศษหยากเยื่อ มักเรียกว่า ขี้ผง หรือ เศษผง. ว. ที่ละเอียด เช่น นมผง แป้งผง.
ผีกระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิม เป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้ กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของ โสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.
พะโล้ : น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศ อื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจน น้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรส หวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.
เมี่ยงลาว : น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วย หมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตามและเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียว กระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด.
เมี่ยงส้ม : น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยมะพร้าวขูดคั่ว กวนกับน้ำตาลปึกผสม ถั่วลิสงตำพร้อมด้วยหอมแดง ปรุงให้มีรสเค็มหวาน เมื่อได้ที่โรยใบมะกรูด หั่นฝอย กินแกมกับผักกาดหอมหรือใบทองหลาง และผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มโอ มะม่วงดิบ มะปรางดิบ.
ยอก : ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมี อะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.
ราชินีนาถ : น. พระราชินีที่ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สําเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ และทรง ได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นผู้หญิง เช่น พระราชินีนาถวิกตอเรีย.
ลุ่ม ๆ ดอน ๆ : ว. สูง ๆ ต่ำ ๆ, ไม่สม่ำเสมอ, เช่น ที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ; ไม่ราบรื่น เช่น ชีวิตลุ่ม ๆ ดอน ๆ.
ลูกคลื่น : ว. มีลักษณะสูง ๆ ต่ำ ๆ เป็นลอนอย่างคลื่น เช่น ถนน สายนี้เป็นลูกคลื่น.
เลว : ว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม; สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว. ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคํา รบ เป็น รบเลว.
เลียง ๑ : น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใส่ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง บวบ น้ำเต้า หัวปลี ยอดฟักทอง ปรุงด้วยหัวหอม พริกไทย กะปิ ตำกับกุ้งแห้งหรือ ปลาย่าง บางทีก็มีกระชายด้วย ใส่ใบแมงลักให้มีกลิ่นหอม. ก. กิริยาที่แกงเช่นนั้น เช่น วันนี้จะเลียงน้ำเต้า.
สลับสล้าง : [สะหฺลับสะล่าง] ว. เรียกลักษณะต้นไม้ที่ขึ้นเป็นดง มอง จากที่สูงแลเห็นยอดสูง ๆ ต่ำ ๆ เช่น ขึ้นไปบนยอดเขา เห็นต้นไม้ขึ้น สลับสล้างเต็มไปหมด.