Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตื๊อ , then ตอ, ตื๊อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตื๊อ, 45 found, display 1-45
  1. ตอ : น. โคนของต้นไม้ที่ลําต้นถูกตัดหรือหักลงแล้ว, สิ่งบางอย่างเช่นเสาหรือ หลักที่ปักไว้หรือที่ยังเหลืออยู่แต่โคนเมื่อบางส่วนถูกตัด หัก หรือกร่อนไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  2. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  3. หัวหลักหัวตอ : (สํา) น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้าม ไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอก น้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่น เขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ.
  4. จุดไต้ตำตอ : (สํา) ก. พูดหรือทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทําไม่รู้ตัว.
  5. ต่อ ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่น บางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปากเป็นชนิดกัดกิน เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กใน สําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างปีกคู่หน้าโดดเดี่ยว แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทํารัง ที่สําคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหลวง
  6. ต่อ ๓ : (กลอน) ก. รบ เช่น ซึ่งเจ้ามาต่อด้วยพ่อได้. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  7. น้ำลดตอผุด : (สํา) เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ.
  8. ปลูกเรือนคร่อมตอ : (สํา) ก. กระทําสิ่งซึ่งล่วงลํ้า ก้าวก่าย หรือทับสิทธิ ของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม.
  9. มีดบังตอ : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันหนาและแอ่นโค้ง ด้ามทำด้วยไม้ขนาดสั้นพอมือกำ ใช้สับเนื้อและกระดูกหมูเป็นต้น.
  10. หญ้าปีนตอ : ดู ปิ่นตอ.
  11. กรวม : [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวม ตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กํากวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
  12. ขาณุ : (แบบ) น. ตอ. (ป.).
  13. ก่นสร้าง : (โบ) ก. ขุดโค่นต้นไม้ตอไม้และแผ้วถางเพื่อปลูกสร้าง, โก่นสร้าง ก็ว่า.
  14. กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
  15. กร่ำ ๒ : [กฺร่ำ] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน.
  16. กล่อม ๓ : [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
  17. กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
  18. คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  19. ความเร่ง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. acceleration).
  20. ความหน่วง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่ลดลงเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. retardation).
  21. ชั้ว ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงชั้วไว้ ๑ ประตู และ ขาย ๑ ประตูโปออกประตูที่ลูกค้าแทงชั้วไว้ เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าขายเจ้ามือกิน ถ้าออกประตูอื่น นอกจากนั้น ไม่ได้ไม่เสีย.
  22. ซอ ๑ : น. ตอไม้ไผ่ค่อนข้างยาวที่เหลืออยู่ที่กอ.
  23. ซัง : น. ตอข้าวที่เกี่ยวรวงแล้ว; สิ่งที่เป็นเส้น ๆ หุ้มยวงขนุน; ฝักข้าวโพด ที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว; ตาที่อยู่ตามมุมของกระดานดวด.
  24. ตรา : [ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทําเป็นรูปต่าง ๆ สําหรับประทับเป็น ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ ประดับในจําพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สําหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสําคัญ เช่น ตราไว้; กําหนดไว้, จดจําไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
  25. ตร่ำ : [ตฺรํ่า] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน, กรํ่า ก็ว่า.
  26. ต่อกิ่ง : ก. นําเอากิ่งของต้นไม้ต้นหนึ่งไปเสียบลงที่ตอของต้นไม้อีกต้นหนึ่งใน วงศ์เดียวกันแล้วเอาผ้ายางเป็นต้นพันตรงที่ต่อไม่ให้นํ้าซึมเข้า.
  27. ตะโหงก ๒ : [-โหฺงก] น. โคนทางมะพร้าวแห้ง; สิ่งที่นูนโหนกขึ้นจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้ ; ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, หนอก ก็ว่า.
  28. ตัก ๒ : ก. เอาภาชนะช้อนสิ่งของขึ้นจากที่เดิม เช่น ตักนํ้า ตักแกง ตักดิน. ตักตวง ก. หาประโยชน์ใส่ตัว, กอบโกยมาเป็นของตนเมื่อมีโอกาส. ตักน้ำรดหัวตอ (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล, ตักนํ้ารดหัวสาก ก็ว่า. ตักน้ำรดหัวสาก (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็ก ปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า. ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา (สํา) ก. ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว. ตักบาตร ก. เอาของใส่บาตรพระ. (เทียบ ข. ฎาก่ ว่า วางลง). ตักบาตรอย่าถามพระ (สํา) ก. จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม.
  29. บาร์ ๑ : (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๑๐๖ ดายน์ ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๕ นิวตันต่อตารางเมตร; (ธรณี) หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖ เซนติเมตรต่อวินาที ต่อ วินาที. (อ. bar).
  30. ปักหลัก ๒ : น. (๑) ชื่อนกกระเต็นชนิด Ceryle rudis ในวงศ์ Alcedinidae ตัวสีขาวลายดํา ปากหนาแหลมตรงสีดํา มักเกาะตามหัวเสาหรือ ตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. (๒) ชื่อเหยี่ยวชนิด Elanus caeruleus ในวงศ์ Accipitridae อก สีขาว หลังสีเทา โคนปีกสีดํา อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ จึงเรียกว่า ปักหลัก.
  31. ปิ่นตอ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งในสกุล Commelina วงศ์ Commelinaceae ใช้ทํายาได้, หญ้าปีนตอ ก็เรียก.
  32. โป๊ะจ้าย : น. เรือลําเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่อ อย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสําเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  33. พะอง : น. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูก พาดขึ้นต้นไม้ต่างบันไดถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูก ต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  34. ร้อยละ : น. ต่อร้อย, จำนวนส่วนในร้อยส่วน, เช่น ร้อยละ ๑๐ คือ ๑๐ ต่อ ๑๐๐ หรือ ๑๐ ส่วนใน ๑๐๐ ส่วน.
  35. เรือฟริเกต : น. เรือรบที่มีความเร็วสูง มีระวางขับน้ำประมาณ ๑,๕๐๐– ๓,๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยานเรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกต ปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์.
  36. ล้มลุกคลุกคลาน : ก. หกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนีฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุก คลุกคลาน, โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุกคลุก คลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.
  37. ลูกข้าว : น. รวงข้าวที่เกิดออกจากตอต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว.
  38. เลี่ยม ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเลี่ยม ๑ ประตู และติด ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงเลี่ยม เจ้ามือใช้ ๒ ต่อ ถ้าออกประตูที่แทง ติดไว้ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกประตูอื่นนอกจากที่แทงไว้ เจ้ามือกิน.
  39. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  40. สะดุด ๑ : ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้ก้าว ผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้.
  41. สัดส่วน : น. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กําหนด เช่น ในการ ผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วน ของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อ ปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่า เป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม๒ กิโลกรัม = ๑๒ = ๑๐๐ บาท๒๐๐ บาท = ๑๒ ? ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท.). (อ. proportion)
  42. หัวตะโหงก : [-โหฺงก] น. สิ่งที่นูนโหนกขึ้นมาจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงก ตอไม้.
  43. เหม็ง : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเหม็งประตูใด โปออกประตูนั้น เจ้ามือ ใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกข้างเคียงซ้ายหรือขวา เป็นเจ๊า ถ้าออกประตูตรงข้าม เจ้ามือกิน เช่น เหม็ง ๒ ถ้าออก ๒ เป็นถูก ออกหน่วย ออก ๓ เป็นเจ๊า ออกครบ เจ้ามือกิน.
  44. อ๋อ ๑ : น. ชื่อวิธีแทงโปกำและโปปั่นวิธีหนึ่ง มีถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู คือ ถ้าลูกค้าแทงอ๋อประตูเดียว โปออกประตูที่แทงนั้น เจ้ามือต้องจ่าย ๓ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน, เรียกกิริยาที่แทงเช่นนั้นว่า แทงอ๋อ.
  45. อา ๓, อ๋า : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก ๓ ประตู โปออก ประตูใดใน ๓ ประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน หมดทั้ง ๓ ประตู.
  46. [1-45]

(0.0568 sec)