กระตุ่น : น. ตัวตุ่น เช่น กระต่ายเต้นกระตุ่นขุด. (บุณโณวาท).
โง่เง่าเต่าตุ่น : (สํา) ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จํานงหมาย. (นิ. ทวาราวดี).
ตน : น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
สะละปะตุ่น : (โบ) น. ไหมชนิดหนึ่ง.
ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
ประมาณตน, ประมาณตัว : ก. สํานึกในฐานะของตน. ว. เจียมตัว, ไม่ทําอะไรเกินฐานะของตน.
เป็นตัวเป็นตน : ว. จริงจัง, แน่นอน, ปรากฏชัด, เช่น มีผัว เป็นตัวเป็นตน, เป็นหลักฐาน.
ฝากตน, ฝากตัว, ฝากเนื้อฝากตัว : ก. มอบตัวให้อยู่ในความดูแลหรือ อุปการะของผู้อื่น, ฝากกาย ก็ว่า.
ยกตนข่มท่าน : (สํา) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดง ให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.
ขลวน : [ขฺลวน] น. ตัว. (ข. ขฺลวน ว่า ตัว, ตน).
ตนุ ๑ : [ตะนุ] (แบบ) น. ตัว, ตน. ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส.).
เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
นักสิทธิ์ : น. ผู้สําเร็จ, ฤษี, ลักษณนามว่า ตน.
สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
อัตตา : น. ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).
กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
กดขี่ : ก. ข่มให้อยู่ในอํานาจตน, ใช้บังคับเอา, ทําอํานาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
กบในกะลาครอบ : (สำ) น. ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่ สำคัญตนว่ามีความรู้มาก.
กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
กรอบ ๒ : ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดํารงตน ไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
กระตรกกระตรำ : (โบ; กลอน) ก. ตรากตรํา เช่น หาเลี้ยงและโดยสฤษฎิตน กระตรกกระตรำก็นําพา. (กล่อมพญาช้าง).
กระทำ ๒ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
กระวาย : (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย.
กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
กวาดต้อน : ก. รวบรวมคนหรือสัตว์พาหนะเป็นต้น เอามาเป็นของตน.
กะเทย : น. คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการ ตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลําไยกะเทย. (อะหม ว่า เทย).
ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
กามวิตถาร : [กามวิดถาน] น. การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ, การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ. ว. ผิดปรกติทางเพศเช่นนั้น.
กาหลงรัง : (สํา) น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้ว ไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง.
กำนล : [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ, ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
กินข้าวต้มกระโจมกลาง : (สำ) ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อน ไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน.
กินเศษกินเลย : (สำ) ก. กินกําไร, ยักเอาเพียงบางส่วนที่มีจํานวน เล็กน้อยไว้, ยักเอาส่วนที่เหลือไว้เป็นของตน,เอาเพียงบางส่วนไว้ เป็นของตน.
เกียกกาย ๒ : ก. ตะเกียกตะกาย, ขวนขวาย, เช่น ค่อยเกียกกายหาเลี้ยงตน. (สุบิน).
แก้ตัว : ก. พูดหรือทําเพื่อปลดเปลื้องความผิดหรือข้อผิดพลาดของตน.
แก้บน : ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า.
ใกล้ : [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง. ใกล้เกลือกินด่าง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดี ที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหา สิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
ไกร ๒ : [ไกฺร] ว. ยิ่ง เช่น เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา. (ยวนพ่าย), ใหญ่, มาก, เกิน; กล้า, เก่ง.
ข่มขืนกระทำชำเรา : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานขืนใจกระทําการ ร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือใช้กําลังประทุษร้ายหญิงซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือ ทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น.
ข่มขู่ : ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
ขโมย : [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่ง ที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขา ขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
ขอบใจ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคํา ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).
ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
ข้ออ้าง : น. สิ่งที่นํามาอ้างสนับสนุนความคิดเห็นหรือการกระทําของตน.
ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.