เข้าตู้ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า ``วิชาเข้าตู้'' ซึ่ง หมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน ตําราที่เก็บไว้ในตู้.
รถตู้ : น. ตู้รถไฟที่ใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้นภายในโล่ง มักปิดทึบทั้ง ๔ ด้าน; รถยนต์ขนาดกลาง รูปร่างคล้ายกล่อง มักมีประตูเปิดปิดด้านเดียว บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒๑๕ คน.
อั้นตู้, อั้นอ้น : ว. นิ่งอึ้ง, อํ้าอึ้ง, จนปัญญา, คิดไม่ออก.
ครุภัณฑ์ : [คะรุพัน] น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
ขยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
ขาสิงห์ : น. ขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้เป็นต้นที่ออกแบบให้คล้ายขาของสิงห์.
เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
เครื่องสังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัด ถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ.
เคลื่อน : [เคฺลื่อน] ก. ออกจากที่หรือทําให้ออกจากที่ เช่น เคลื่อนขบวน รถไฟค่อย ๆ เคลื่อนไป, เลื่อนหรือทําให้เลื่อนไปจากที่ เช่น กระดูกเคลื่อน เคลื่อนตู้ไป.
ชน ๑ : ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
ชั้น : น. ที่สําหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มี บานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลําดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
ชั้ว ๑ : น. ที่สําหรับวางตั้งของ รูปคล้ายตู้ แต่ใช้กระดานข้าง ตลอดเป็นเชิง.
ถ้ำมอง : น. ตู้หรือหีบที่มีแว่นขยายสําหรับดูภาพยนตร์สั้น ๆ หรือ รูปต่าง ๆ ทีละคน. (ปาก) ก. แอบดู.
ทับหลัง : น. ลวดลายที่ทําประดับไว้บนหลังตู้; ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน; เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับ ปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับ หลังประตู. (ปาก) ก. อยู่ข้างล่าง (ใช้แก่การพนันเช่นไพ่ตอง).
ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
เท้าคู้ : น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่ตอนปลายคู้หรืองอเข้า.
เท้าสิงห์ : น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่แกะเป็นรูปตีนสิงห์; ชื่อลายสลัก ทําเป็นรูปตีนสิงห์.
น่องสิงห์ : น. ชื่อลายชนิดหนึ่งมักประดับที่ส่วนหลังของขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้แบบขาสิงห์ หรือประดับริมหรือขอบ เช่นริมโต๊ะหรือกรอบรูป.
ปลาติดหลังแห : (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ.
มุม : น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาว กับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจาก เส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วม จุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม.
เม็ดมะยม : น. ปุ่มสําหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.
รถนอน : น. ตู้รถไฟที่มีที่นอนให้ผู้โดยสารนอนในเวลาค่ำคืน.
รถเสบียง : น. ตู้รถไฟที่ใช้ปรุงและจำหน่ายอาหารในขณะเดินทาง, ตู้เสบียง ก็ว่า.
รหัส : [หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้ข้อความ ที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษร ของข้อความนั้นหรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง กุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
รอง ๑ : ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุน ให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
ลงขัน : ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็น ไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
ลิ้นชัก : น. ส่วนที่สอดอยู่ในช่องด้านหน้าตู้และโต๊ะเป็นต้น รูปคล้ายหีบไม่มีฝา ชักออกและผลักเข้าได้.
ลูกเหม็น : น. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด.
สมบัติบ้า : น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
สังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์ หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.
หลบ : [หฺลบ] ก. หลีก, เลี่ยงไม่ให้พบ, เลี่ยงไม่ให้ถูก เช่น หลบลูกปืน; แอบ เช่น หลบเข้าหลังตู้; กลับเข้าใน เช่น ไข้หลบ; ปกคลุมหลุบลงมา (ใช้เฉพาะ การมุงหลังคาตรงอกไก่).
หล่อน้ำ : ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้น วางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนม ไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ใน พระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.
หีบพระมาลัย : น. หีบใส่คัมภีร์พระมาลัยซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคัมภีร์ใบลาน, ตู้พระมาลัย ก็เรียก.
อะไร : ส. คําใช้แทนนาม แสดงคําถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คําใช้แทนนาม ที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.
ม่าเหมี่ยว ๑ : น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Martinus dermestoides ยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร กว้างประมาณ ๓ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลเกือบดําตลอดทั้ง ลําตัว ขา และปีก กินเมล็ดบัวแห้ง ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ เชื่อกันว่าเป็นยากระตุ้นทางเพศ, กระดิ่งทอง ก็เรียก.