Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ต่าง , then ตาง, ต่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ต่าง, 1008 found, display 1-50
  1. แปลก, แปลก ๆ : [แปฺลก] ว. แตกต่างไปจากที่เคยคิด เคยรู้ เคยเห็น เป็นต้น เช่น แปลกตา แปลกใจ; ต่าง, เพี้ยนไป, ผิดปรกติ เช่น เป็นคนแปลก.
  2. วิ : คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).
  3. การต่างประเทศ : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการต่างประเทศ.
  4. แก้ต่าง : (กฎ) ก. ว่าความแทนจําเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์.
  5. ว่าต่าง : (กฎ) ก. ว่าความแทนโจทก์, ใช้คู่กับ แก้ต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนจําเลย.
  6. เอาหัวเดินต่างตีน : (สำ) ก. ทำในสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งจนไม่น่าเชื่อว่า จะทำได้ ทำนองเดียวกับที่จะเอาหัวเดินต่างเท้า.
  7. กินน้ำตาต่างข้าว : (สำ) ก. ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน.
  8. เพื่อนต่างเพศ : น. เพื่อนที่ไม่ใช่เพศเดียวกัน.
  9. อาบเหงื่อต่างน้ำ : ก. ตรากตรําทํางานด้วยความเหนื่อยยาก.
  10. อเนกวิธ : [อะเหฺนกกะวิด] ว. หลายอย่าง, ต่าง ๆ.
  11. กระยาเลย : ว. ต่าง ๆ, ปะปนกัน, (ใช้แก่ต้นไม้มีแก่น แต่ไม่รวมไม้สัก).
  12. กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
  13. กลยุทธ์ : [กนละ-] น. การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม, วิธีการที่ต้องใช้กลอุบาย ต่าง ๆ, เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้.
  14. ข้าวต้ม ๑ : น. ข้าวที่ต้มให้สุก; ข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบตอง หรือใบมะพร้าวอ่อน แล้วต้มหรือนึ่งให้สุกอยู่ในจําพวกขนม มีชื่อ ต่าง ๆ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด.
  15. คาน : น. เครื่องเรือนที่ยึดเสาและรองตง ทําด้วยไม้เป็นต้น, ไม้ทําอย่างรอด สําหรับรองรับของหนัก เช่น คานเรือ; ไม้สําหรับหาบหรือหามสิ่งของ ต่าง ๆ เรียกว่า ไม้คาน. ก. รองรับหรือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองรับของหนัก ขึ้นไว้, ถ่วงนํ้าหนักกัน เช่น อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติกับอำนาจของฝ่าย บริหารคานกัน, โดยปริยายหมายความว่า ค้านกัน ยังตกลงกันไม่ได้.
  16. ค่ายอาสาพัฒนา : น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบําเพ็ญประโยชน์ ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน.
  17. จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
  18. ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑ : [ฉันทะ] น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคํา ครุ ลหุ เป็นแบบ ต่าง ๆ. (ป.).
  19. ทนายเรือน : (โบ) น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับสถานที่ ต่าง ๆ ในพระราชวัง.
  20. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  21. แทน : ก. สนอง เช่น แทนคุณ. ว. ต่าง เช่น เอาเกลือแทนนํ้าปลา, อาการที่ บุคคลหนึ่งทําหน้าที่ในฐานะของอีกบุคคลหนึ่ง เช่น รักษาการแทน ทําแทน ไปแทน.''
  22. นานา : ว. ต่าง ๆ. (ป.).
  23. นานาเนก : ว. ต่าง ๆ กันมากมาย, ใช้ย่อว่า นาเนก ก็มี. (ป. นานา + อเนก).
  24. นาเนก : ว. ต่าง ๆ กันมากมาย. (ย่อมาจาก นานาเนก).
  25. น้ำผึ้ง ๑ : น. นํ้าหวานมีลักษณะข้นที่แมลงผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ ต่าง ๆ.
  26. น้ำสต๊อก : น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือ เล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผัก ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น.
  27. บานกบ : น. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลาย แผ่นกระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดาน กรุกระหนาบข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง ต่าง ๆ, ข้างกบ ก็ว่า.
  28. ผ้าแฝง : น. ผ้าคาดเอว ปักด้วยดิ้นเงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลาย ต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สมรด หรือ สํารด ก็เรียก.
  29. ผู้รับเหมาก่อสร้าง : น. บุคคลที่รับจ้างก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ โดยวิธีเหมา.
  30. ฝี ๑ : น. โรคจําพวกหนึ่ง เป็นต่อมบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน เรียกชื่อ ต่าง ๆ กันหลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคําร้อย, ราชาศัพท์ว่า พระยอด.
  31. พรายกระซิบ : น. ผีพรายที่มากระซิบบอกให้ผู้ที่เลี้ยงตนรู้เหตุการณ์ ต่าง ๆ ได้แม้เกิดในที่ห่างไกล.
  32. พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ : น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือ กำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลาย ต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จ พระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
  33. พันลาย : ว. ต่าง ๆ, มาก, หลาย.
  34. พาหนะ : [หะนะ] น. เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือ ลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยาน ต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).
  35. พิจิตร : ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
  36. พิพิธ, พิพิธ : [พิพิด, พิพิดทะ] ว. ต่าง ๆ กัน. (ป., ส. วิวิธ).
  37. มดดำ : น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae สีดําเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร ทํารังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dolichoderus bituberculatus, Cataulacus granulatus.
  38. เรือดไม้ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑–๒ มิลลิเมตร ลําตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางและมักใส เวลาหุบปีก ปีกจะคลุมตัวคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือ ในบ้าน คือ ชนิด Psocatropos microps ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก.
  39. เรือรบ : น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถ ต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
  40. ลงถมยาสี : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลาย ในเครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสี ต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา.
  41. ละครพันทาง : น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติ ต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  42. ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
  43. ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
  44. ลายตา : ก. อาการที่มองเห็นของจำนวนมาก ๆ หรือของที่มีแสงสี ต่าง ๆ จนทำให้ตาลายหรือพร่าไป เช่น มองเห็นแสงสีมาก ๆ จน ลายตา การประดับไฟตามท้องถนนในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ดูลายตาไปหมด.
  45. ลูกปัด : น. เม็ดแก้วเป็นต้นมีรูตรงกลางสําหรับร้อยเป็นเครื่องประดับ ต่าง ๆ.
  46. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  47. วิวิธ : ว. ต่าง ๆ กัน. (ป., ส.).
  48. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  49. ศัสตรา, ศัสตราวุธ : [สัดตฺรา, สัดตฺราวุด] น. ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธ ต่าง ๆ. (ส.).
  50. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1008

(0.1022 sec)