Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ถม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ถม, 37 found, display 1-37
  1. ถม : น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้า ประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่อง ประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน. ก. ลงคาถา, ลงเลขยันต์; ใช้สารเคมีใส่ ลงในพื้นที่เป็นช่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อน อบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถมดำ ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่าถมยาดำ.
  2. ถม : ก. เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็น แอ่งเพื่อให้เต็ม, กองสุม ๆ ไว้ไม่เป็นระเบียบ.
  3. ถมยา : ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน ''แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม
  4. ถมดำ : ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
  5. ถมดำ : หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
  6. ถมตะทอง : น. เครื่องถมที่ทําโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.
  7. ถมปรักมาศ : [–ปฺรักมาด] น. ถมเงินและทอง.
  8. ลงถม : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
  9. ถ่ม : ก. ทําให้นํ้าลายหรือสิ่งอื่น ๆ ออกจากปากโดยแรง.
  10. ลงถมยาสี : ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลาย ในเครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสี ต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา.
  11. เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
  12. จองถนน : (โบ) ก. ถมที่ลุ่มขึ้นเป็นถนน.
  13. ตะ : ก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.
  14. ถมเงิน : น. เครื่องถมที่ทําด้วยเงิน.
  15. ถมทอง : น. เครื่องถมที่ทําด้วยทองคํา.
  16. ถุย : ก. ถ่ม เช่น ถุยของในปากออกมา, ถ่มนํ้าลายมีเสียงดังเช่นนั้น; ออกเสียง ดังเช่นนั้นแสดงกิริยาดูถูกดูหมิ่น.
  17. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  18. ปฐมกรรม : [ปะถมมะกํา] น. กฎเบื้องต้นหรือข้อสําคัญ; ชื่อพิธี แบบหนึ่งที่กษัตริย์ในครั้งโบราณกระทําแก่ผู้เป็นปรปักษ์.
  19. ปฐมฌาน : [ปะถมมะ-] น. ฌานเบื้องต้น ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา. (ป.).
  20. ปฐมดุสิต : [ปะถมดุสิด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  21. ปฐมทัศน์ : [ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละคร หรือการฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.
  22. ปฐมเทศนา : [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถม เทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมาย สําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทํา ท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
  23. ปฐมนิเทศ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. การแนะนําชี้แนวเพื่อการศึกษา และการทํางานในเบื้องต้น.
  24. ปฐมบุรุษ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลี หมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
  25. ปฐม, ปฐม- : [ปะถม, ปะถมมะ-] ว. ประถม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลจุลจอมเกล้าว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ. (ป.).
  26. ปฐมพยาบาล : [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉิน ตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  27. ปฐมโพธิกาล : [ปะถมมะโพทิกาน] น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลา นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในแคว้นมคธ. (ป.).
  28. ปฐมยาม : [ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).
  29. ปฐมฤกษ์ : [ปะถมมะ-] น. ช่วงเวลาแรกของฤกษ์. ว. เริ่มแรก เช่น ฉบับปฐมฤกษ์.
  30. ปฐมวัย : [ปะถมมะไว] น. วัยต้น. (ป.).
  31. ปฐมสมโพธิ : [ปะถมมะสมโพด, ปะถมสมโพด] น. ชื่อคัมภีร์ว่าด้วย ประวัติของพระพุทธเจ้า. (ป.).
  32. ปฐมสุรทิน : [ปะถมมะสุระทิน] น. วันที่ ๑ แห่งเดือนทางสุริยคติ.
  33. ประถมจินดา : [ปฺระถมมะ-] น. ชื่อคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ.
  34. ราชยาน : [ราดชะยาน] น. ยานชนิดคานหามของหลวง, เรียกว่า พระยาน ก็มี เช่น พระยานมาศ, เรียกว่า พระราชยาน ก็มี เช่น พระราชยานกง พระราชยานถม, เรียกว่า พระที่นั่งราชยาน ก็มี เช่น พระที่นั่งราชยาน พุดตานทอง, หรือเรียกเป็นอย่างอื่นก็มีคือ พระที่นั่งราเชนทรยาน. (ส.).
  35. ลงยา : ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน เครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาติดและให้พื้นเป็นสีต่าง ๆ, เรียกเต็มว่า ลงถมยาสี.
  36. ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
  37. สมอ ๑ : [สะหฺมอ] น. หิน. (ข. ถฺม); ของหนักที่ล่ามโซ่หรือเชือกอยู่กับเรือ เวลาจอดเรือใช้ทอดลงไปในนํ้าให้เกาะพื้นเพื่อไม่ให้เรือเคลื่อนไปที่อื่น.
  38. [1-37]

(0.0147 sec)