Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ถั่ว , then ถว, ถั่ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ถั่ว, 109 found, display 1-50
  1. ถั่ว : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Leguminosae ใช้ฝักหรือ เมล็ดเป็นอาหาร เช่น ถั่วเขียว [Vigna radiata (L.) R. Wilezek] ถั่วเหลืองหรือถั่วแระ [Glycine max (L.) Merr.].
  2. ถั่ว : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนน ทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตู แทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธี แทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกํา ก็เรียก.
  3. ถั่วน้อย : ดู ถั่วลันเตา.
  4. ถั่วเน่า : (ถิ่น–พายัพ) น. ถั่วเหลือง, ถั่วเหลืองที่ทำเป็นเต้าเจี้ยวเป็น แผ่นตากแห้ง.
  5. ถั่วแปบ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Dolichos lablab L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงฝักแบน ๆ; ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเหนียวต้ม คลุกกับมะพร้าว มีไส้ถั่วเขียวเราะเปลือกนึ่ง มีลักษณะแบน ๆ คล้ายถั่วแปบ โรยงา นํ้าตาล.
  6. ถั่วฝักพร้า : ดู ถั่วพร้า.
  7. ถั่วพร้า : น. ชื่อถั่วชนิด Canavalia gladiata (Jacq.) DC. ในวงศ์ Leguminosae ฝักยาวแบนคล้ายมีด กินได้, ถั่วฝักพร้า ก็เรียก.
  8. ถั่วแม่ตาย : ดู ถั่วเหลือง.
  9. ถั่วยี่สง : ดู ถั่วลิสง.
  10. ถั่วแระ : ดู ถั่วเหลือง.
  11. ถั่วลันเตา : น. ชื่อถั่วชนิด Pisum sativum L. ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้เถา มีมือเกาะ ยอดและฝักอ่อนใช้กินเป็นผัก พันธุ์ฝักเล็ก ดอกสีขาว พันธุ์ฝักใหญ่ ดอกสีชมพูอมม่วงหรือสีอื่น ๆ, ถั่วน้อย ก็เรียก. (ลัน ย่อมาจาก ฮอลแลนด์ หรือ ฮอลันดา, เตา มาจาก เต้า ในภาษาจีน).
  12. ถั่วลิสง : น. ชื่อถั่วชนิด Arachis hypogaea L. ในวงศ์ Leguminosae มีฝักอยู่ใต้ดิน, ถั่วยี่สง ก็เรียก.
  13. ถั่วเหลือง : น. ชื่อถั่วชนิด Glycine max Merr. ในวงศ์ Leguminosae ฝักเป็นขน เมล็ดสีเหลืองให้นํ้ามัน, ถั่วแม่ตาย หรือ ถั่วแระ ก็เรียก.
  14. ถั่วขาว : ดู รุ่ย.
  15. ถั่วคร้า : ดู ไก่เตี้ย.
  16. ถั่วค้าง : ดู ถั่วฝักยาว.
  17. ถั่วแปบช้าง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia sericea Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย หลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน.
  18. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ : (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่าง หนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
  19. ฝักถั่ว : (ปาก) น. การแสดงความอ่อนน้อม อ้อนวอน หรือขอร้องโดย วิธียกมือไหว้ เช่น มืออ่อนเป็นฝักถั่ว, การพลอยยกมือแสดงความ เห็นชอบตามเขาไป มักใช้พูดตําหนิ นักการเมืองในเวลาลงคะแนนเสียง.
  20. กระถั่ว : น. นกอีเพา. (พจน. ๒๔๙๓).
  21. โปกำ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือเมล็ดละหุ่ง เป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, ถั่ว ก็เรียก.
  22. กระยาทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทําในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
  23. ข้าวกระยาทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
  24. ข้าวทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวนมักทําในพิธี สารท, ข้าวกระยาทิพย์ ก็เรียก.
  25. ค้าง ๒ : น. ชื่อหนึ่งของถั่วฝักยาว ซึ่งมีไม้ค้างปักเป็นหลักให้เถาเกาะ เรียกว่า ถั่วค้าง. (ดู ถั่วฝักยาว ที่ ถั่ว๑).
  26. ธัญเบญจก : [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร. (ป. ปญฺจก).
  27. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  28. แปบ ๑ : น. ถั่วแปบ. (ดู ถั่วแปบ ที่ ถั่ว๑).
  29. ฝักพร้า ๑ : น. ถั่วฝักพร้า. (ดู ถั่วพร้า ที่ ถั่ว๑).
  30. ฝักยาว : น. ถั่วฝักยาว. (ดู ถั่วฝักยาว ที่ ถั่ว๑).
  31. พู ๒ : น. ถั่วพู. (ดู ถั่วพู ที่ ถั่ว๑).
  32. เม็ด ๑ : น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็น ก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมี ยอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุก ที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.
  33. แม่ตาย : น. ถั่วแม่ตาย. (ดู ถั่วเหลือง ที่ ถั่ว๑).
  34. ยี่สง : น. ถั่วยี่สง. (ดู ถั่วลิสง ที่ ถั่ว๑).
  35. แระ ๑ : น. ถั่วแระ. (ดู ถั่วเหลือง ที่ ถั่ว๑).
  36. ล้มลุก : น. พืชที่มีอายุชั่วคราว เช่น พริก มะเขือ ถั่ว ข้าวโพด เรียกว่า พืชล้มลุก; เรียกตุ๊กตาชนิดหนึ่งเมื่อผลักล้มลงแล้วลุกขึ้นเองว่า ตุ๊กตาล้มลุก.
  37. ลิสง : น. ถั่วลิสง. (ดู ถั่วลิสง ที่ ถั่ว๑).
  38. สรตะ : [สะระ] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกต หรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียน เป็นสะระตะ ก็มี.
  39. อปรัณณชาติ : [อะปะรันนะชาด] น. ''อาหารอื่น'' คือ ถั่ว งา และผักต่าง ๆ (นอกจากข้าว). (ป. อปรณฺณ).
  40. กระด้าง ๑ : น. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับ น้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
  41. กระดานชัย : น. ชื่อการออกถั่วใหญ่ ๓ ครั้งแรก.
  42. กระทงลาย : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Celastrus paniculatus Willd. ในวงศ์ Celastraceae ใบรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักถี่ ดอกเล็กขาว ๆ เหลือง ๆ ออกเป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อแก่แตก เป็น ๓ กลีบ น้ามันจากเมล็ดใช้ทํายา ตามไฟ หรือเคลือบกระดาษ กันน้ำซึม, กระทุงลาย หรือ มะแตก ก็เรียก.
  43. กระพี้นางนวล : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia cana Grah. ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอก สีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก.
  44. กระยาสารท : [-สาด] น. ขนมทําด้วยถั่วงาและข้าวเม่า ข้าวตอกกวนกับน้ำตาล แต่เดิมนิยมทําเฉพาะในเทศกาลสารท.
  45. กราก : [กฺราก] ก. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. ว. รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก; เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก, แข็งอย่างผ้าลาย ที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้าที่ลงแป้งจนแข็ง; เสียงอย่างเสียงลากกิ่งไม้.
  46. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  47. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  48. กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
  49. กาสามปีก : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Vitex peduncularis Wall. ex Schauer ในวงศ์ Labiatae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทํายาได้, กาจับหลัก หรือ ตีนนก ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Flemingia sootepensis Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria striata Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเล็กมาก สีม่วง รูปดอกถั่ว ฝักมี ๘-๑๐ เมล็ด. (๔) ดู ตีนนก(๑).
  50. กำตัด : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง; การพนันชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนกําถั่ว ใช้กําเบี้ย ต่างคนต่างถือแต้ม ไม่มีเจ้ามือ กําแล้วจะเติมหรือชักออกก็ได้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-109

(0.0746 sec)