ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
ถึงคราว : ก. ถึงกําหนดจะเป็น เช่น ถึงคราวมีบุญ ถึงคราวตกอับ, ถ้าใช้ตามลําพัง มักหมายไปในทางไม่ดี เช่น เขาถึงคราวแล้ว.
ถึงเงิน : ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, เงินถึง ก็ว่า.
ถึงชีวิตันตราย : ก. ประสบอันตรายถึงตาย.
ถึงเป็นถึงตาย : ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้ กันอย่างถึงเป็นถึงตาย.
ถึงพริกถึงขิง : (สำ) ว. เผ็ดร้อนรุนแรง เช่น การโต้วาทีคราวนี้ถึงพริกถึงขิง.
ถึงลูกถึงคน : ว. รุนแรง (ใช้แก่การเล่นกีฬาประเภทลูกบอลเช่นฟุตบอล); ติดตามอย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น เขาทำงานอย่างถึงลูกถึงคน.
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง : (สำ) ก. ไม่เอามาใส่ใจว่าจะเป็นอย่างไร.
ถึงแก่น : ว. ไม่มีอะไรปิดบัง.
ถึงขนาด : ว. ได้ขนาด, เต็มที่, มากพอ.
ถึงชีพิตักษัย : ก. ตาย (ใช้เฉพาะหม่อมเจ้า).
ถึงมรณกรรม : ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
ถึงมรณภาพ : ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิ ศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ.
ถึงไหนถึงกัน : ว. จนถึงที่สุด.
เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
เคจฉะ : [เคดฉะ] (แบบ) ก. ไป, ถึง, เช่น ผู้ข้าคุงควรเคจฉเล็ดลอดลุเขาคด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. คจฺฉ).
เงินถึง : ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, ถึงเงิน ก็ว่า.
จด ๑ : ก. จ่อให้ถึงกัน, ถึง, จนถึง; แตะ.
จรด : [จะหฺรด] (โบ; แบบ) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง.
จำรด : [-หฺรด] (กลอน) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. (แผลงมาจาก จรด).
ตก :
ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
ตราบเท่า : บ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้. สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบเท่า ชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.
ทั่วถึง : ว. ถึงทุกคน, ครบทั่วทุกคน.
นึกไม่ถึง : ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้า มาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
บรรลุ : [บัน-] ก. ลุ, ถึง, สําเร็จ, เช่น บรรลุมรรคผล, ประลุ ก็ว่า.
มือไม่ถึง : ว. มีความสามารถยังไม่ถึงระดับ.
รู้ถึงหู : ก. รู้เพราะมีคนบอก เช่น เรื่องนี้อย่าให้รู้ถึงหูเขานะ.
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ : ก. เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝาก ของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.
รู้ไม่ถึง : ก. รู้ไม่ลึกซึ้งพอ เช่น หลักธรรมะขั้นสูงเช่นนี้ ฉันยังรู้ไม่ถึง.
อาบัน : ก. ต้อง เช่น อาบัติอาบัน ว่า ต้องอาบัติ; ถึง, ลุ, เช่น โสดาบัน ว่า ถึงโสตธรรม คือ กระแสพระนิพพาน. (ป., ส. อาปนฺน).
คาดไม่ถึง : ก. ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น.
ชักหน้าไม่ถึงหลัง : (สำ) ก. มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย.
ปากว่ามือถึง : (สํา) ก. พอพูดก็ทําเลย.
ผีถึงป่าช้า : (สํา) ต้องยอมทําด้วยความจําใจหรือไม่มีทางเลือก.
รู้เท่าไม่ถึงการ : ก. รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ.
ลิ้นตวัดถึงใบหู, ลิ้นตวัดถึงหู : (สํา) ว. ที่พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้.
ลิ้นยาวถึงตาตุ่ม : (สำ) ว. ประจบสอพลอ.
เท่า ๑ : ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจํานวนเดิม.
รอด ๒ : ก. พ้นไป, ปลอดจาก, เช่น รอดอันตราย, บางทีหมายความว่า ผ่านพ้น ภัยอันตรายหรือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนามาได้ เช่น เครื่องบินตกรอดมาได้ รอดจากถูกครูตี. ว. ถึงจุดหมายปลายทาง เช่น ไปรอด, ถึง เช่น ตลอด รอดฝั่ง.
ลุ : ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสําเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
ถั่ง : ก. ไหลอย่างเท, ไป, ถึง.
ก ข : [โบ อ่านว่า กอข้อ] น. พยัญชนะแต่ ก ถึง ฮ.
กิ้งกือ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
ไข่ขาว : น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดงเป็นสารโปรตีนทําหน้าที่ป้องกันส่วน ที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน ไข่ขาว จะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย; (เคมี) กลุ่มของโปรตีน ซึ่งมีนํ้าหนัก โมเลกุลประมาณ ๖๕,๐๐๐ ถึง ๗๐,๐๐๐.
คลื่นปานกลาง : น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ปานกลางตั้งแต่ ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓ เมกะเฮิรตซ์ (หรือ ๓,๐๐๐ กิโลเฮิรตซ์).
คลื่นยาว : น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตํ่าตั้งแต่ ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์.
คลื่นสั้น : น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ตั้งแต่ ๓ เมกะเฮิรตซ์ ถึง ๓๐ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารระยะไกล.
ความถี่วิทยุ : น. ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งวิทยุและ โทรทัศน์ ขนาดตํ่าสุดตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดสูงสุดตั้งแต่ ๓๐,๐๐๐ ถึง ๓๐๐,๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์.
โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
จรดล : [จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).