ถ่อย : ว. ชั่ว, เลว, ทราม.
ถอย : ก. เคลื่อนหรือทําให้เคลื่อนไปข้างหลัง เช่น ถอยเรือ ถอยรถ, ขยับ ออกจากที่, เลื่อนที่, เช่น ถอยรถให้พ้นประตู ถอยหน้าถอยหลัง; ลดลง เช่น พิษถอย กําลังถอย; (ปาก) ซื้อ (มักใช้กับรถใหม่).
แพศยา : [แพดสะหฺยา] น. หญิงหาเงินในทางประเวณี, หญิงถ่อย, หญิง สําส่อน. (ส. เวศฺยา; ป. เวสิยา).
วสละ : [วะสะ] น. คนชั่ว, คนถ่อย, คนตํ่าช้า, คนชั้นตํ่า. (ป.; ส. วฺฤษล).
ถอยกรูด : ก. ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบ, ถอยอย่างตั้งตัวไม่ติด.
ถอยใจใหญ่ : (โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่ รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจ ใหญ่ไปมา. (ม. คําหลวง กุมาร).
ถอยหลัง : ก. เคลื่อนไปข้างหลัง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่เจริญ ก้าวหน้า.
ถอยหลังเข้าคลอง : (สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกล อักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์; บทแผ่นเสียง).
กระหยด : (โบ; แผลงมาจาก ขยด) ก. ถด, ถอย, เขยิบ, เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
ขยด : [ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
สร่าง : [ส่าง] ก. คลาย, ถอย, ทุเลา, (ใช้แก่ลักษณะความเป็นไปของร่างกาย หรืออารมณ์ที่ผิดปรกติจากธรรมดา), เช่น สร่างไข้ สร่างโศก ไข้ยัง ไม่สร่าง สร่างเมา เมาไม่สร่าง.
ด้นถอยหลัง : ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทง ข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่งเหมือนฝีจักร.
หย่อน : ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกําลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
กรูด ๒ : [กฺรูด] ว. เสียงอย่างเสียงที่ลากของหนักถูไปกับพื้น; อาการที่ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบหรืออย่างตั้งตัวไม่ติด ในคําว่า ถอยกรูด.
ขย้อน : [ขะย่อน] ก. ทําอาการจะอาเจียน; ถอยกลับ.
ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
ซา ๒ : ก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น ฝนซา ไฟซา.
ถดถอย, ทดถอย : ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถดถอย; กระเถิบถอย, ถอยถด หรือ ถอยทด ก็ใช้.
ถอนใจใหญ่ : ก. หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจ หรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น, โบราณใช้ว่า ถอยใจใหญ่ ก็มี.
ถอยฉะ : ก. สู้พลางถอยพลาง, ถอยอย่างมีชั้นเชิง.
ถอยฉาก : ก. ถอยหลังพร้อมกับเบี่ยงตัวหลบทันที, หลบอย่างมีชั้นเชิง.
ถอยถด, ถอยทด : ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถอยถด; กระเถิบ ถอย, ถดถอย หรือ ทดถอย ก็ใช้.
เถิก : ว. เถลิก, ลักษณะของหน้าผากที่ผมถอยร่นสูงขึ้นไปหรือขึ้นอยู่สูงกว่า ปรกติ.
ท้อถอย : ก. มีความพยายามลดน้อยถอยลง.
ทอย ๒ : ก. กิริยาที่ตอกลูกประสักหรือตะปูเป็นต้นให้ถอยออกมาจากที่เดิม. ว. ทยอยติด ๆ กันไปไม่ขาดระยะ เช่น เดินทอย ๆ กันเข้าไป. น. เรียก ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นระยะ ๆ เพื่อเหยียบขึ้นไปว่า ลูกทอย, เรียกกิริยาที่ตอกลูกทอยอย่างนั้นว่า ตอกทอย.
ปักหลัก ๑ : ก. ตั้งมั่นอยู่กับที่ไม่ยอมถอยหรือไม่ยอมโยกย้าย ในคำว่า ปักหลักสู้ ปักหลักอยู่.
ผงะ : [ผะหฺงะ] ก. แสดงอาการชะงักงันหรือถอยไปข้างหลังเมื่อประสบ เหตุการณ์ประจันหน้าโดยกะทันหันไม่ทันรู้ตัวหรือคาดหมายมาก่อน.
พลาง : [พฺลาง] ว. ในระยะเวลาเดียวกัน (มักใช้กับกริยาที่ควบคู่กัน) เช่น เขาเดินพลางกินพลางกองทัพสู้พลางถอยพลาง, ชั่วระหว่างเวลา (ที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกําหนดเป็นต้น) เช่น กินไปพลางก่อน ทําไปพลางก่อน อยู่ไปพลางก่อน.
พักร : [พัก] (โหร) ก. ย้อน, ถอยหลัง, เช่น ดาวนพเคราะห์เดินย้อนราศี เรียกว่า พักร. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส. วกฺร).
เพลีย : ก. อ่อนแรง, ถอยกําลัง, มีอาการเมื่อยล้า เช่น เดินจนเพลีย ทำงาน มาก ๆ รู้สึกเพลีย.
มน ๑ : ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).
มีดสปริง : น. มีดที่มีปุ่มสำหรับกดให้ใบมีดพุ่งออกมาหรือถอยกลับ เข้าที่เดิมได้.
ย้อนต้น : ก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือ ย้อนต้น.
ย้อนหลัง : ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง.
ย่อหย่อน : ว. ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน.
ย่างสามขุม : น. ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวย นักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่ง วางเท้าเป็น ๓ เส้า.
ยิ้มสู้ : ก. ยิ้มพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคอันตรายใด ๆ โดยไม่ยอมถอย.
ยืนหยัด : ก. สู้ไม่ยอมถอย เช่น เขายืนหยัดสู้ได้ตลอด ๕ ยก.
ร่น : ก. ขยับถอยให้ชิดเข้ามาหรือออกไป เช่น ร่นแถว, ร่นวันหรือเวลาให้ ใกล้เข้ามา เช่น ร่นวันประชุมเข้ามาอีก ๓ วัน.
รุก ๑ : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตของผู้อื่น เช่น รุกที่ดิน ทำไร่รุกเข้าไปในเขตหวง ห้าม, โดยปริยายหมายถึงคุกคามให้ถอยร่นหรือต้อนให้จนมุม เช่น เขา ถูกนายรุกเสียจนตั้งตัวไม่ติด; เดินตัวหมากรุกเข้าไปกระทบตาขุนของ อีกฝ่ายหนึ่ง.
รุกฆาต : ก. เดินหมากรุกเข้าไปจะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่ง พร้อมกันนั้น ก็เตรียมจะกินหมากอีกตัวหนึ่งด้วย ถ้าฝ่ายนั้นถอยขุนหนีก็จะกินหมาก ตัวที่เหลือ เช่น รุกฆาตขุนฆาตเรือ ถ้าถอยขุนหนีก็จะกินเรือ, (ใช้ในการ เล่นหมากรุก).
ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
หัวชนกำแพง, หัวชนฝา : (สํา) ว. มีลักษณะที่สู้ไม่ยอมถอย.
อ่อนเพลีย : ว. มีแรงลดน้อยถอยลง, หย่อนกําลัง.
เอ้แอ่น, เอ้ ๆ แอ่น ๆ : ก. ทําให้เสียเวลา, ทําชักช้า, ทําจริตกิริยาโอ้เอ้; อาการที่ยืนโอนไป โอนมา เอนไปเอนมา หรือ เดินถอยหน้าถอยหลัง.